มหา’ลัยเห็นด้วยกับ รมว.ศึกษาฯ กำหนดสัดส่วนแอดมิชชัน - รับตรง ให้ชัด เผยที่ผ่านมา ทปอ. พยายามขอความร่วมมือให้อยู่ที่ 50:50 แต่ที่ผ่านมารับตรงมักจะเกินกว่า พร้อมให้ มศว ทำวิจัยเปรียบเทียบเด็กเข้าศึกษาในทั้ง 2 ระบบว่าระบบใดมีคุณภาพมากกว่ากัน รวมทั้งชี้แจง ทปอ. ไม่ได้บังคับให้ทั้ง 27 มหา’ลัยสอบรับตรงกลางทุกแห่ง แค่ขอความร่วมมือ และสมัครใจ
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยถึงกรณีที่ กมธ.ศึกษาฯ ได้หารือร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ถึงเรื่องการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาและมีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรกำหนดสัดส่วนการรับให้ชัดเจน เช่น ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือ แอดมิชชัน มีสัดส่วน 30% และที่เหลือเป็นระบบรับตรงและโควตาพิเศษนั้น ว่า ในการหารือเห็นสอดคล้องกันว่าระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ควรเป็นระบบที่มีความหลากหลาย เหมาะสม และสามารถคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนได้ตรงตามที่คณะ/สาขาต้องการ เป็นระบบที่มีความเป็นธรรม และไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ดังนั้น ระบบแอดมิชชัน และระบบรับตรง จึงจะตอบโจทย์ในข้างต้นได้ โดยระบบแอดมิชชัน จะตอบโจทย์ในเรื่องความเป็นธรรมและไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ส่วนระบบรับตรง ก็อาจจะคัดเลือกเด็กได้ตรงตามความต้องการมากกว่า แต่สร้างภาระ ซึ่งในส่วนนี้ที่ผ่านมาที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติขอความร่วมมือ มหาวิทยาลัยในสังกัด 27 แห่งขอให้ลดการสอบตรงลง มาใช้ข้อสอบกลางมากขึ้น
“ขณะเดียวกัน ยังมอบให้ มศว ทำวิจัยระบบการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยศึกษาเปรียบเทียบเด็กที่เข้าเรียนระบบรับตรง กับระบบแอดมิชชันว่าเด็กที่มา ผ่านระบบใดมีคุณภาพมากกว่ากัน ซึ่งหากผลวิจัยออกมาว่า เด็กที่เข้าศึกษาในระบบใด มีคุณภาพ ต่อไปมหาวิทยาลัยก็ควรเพิ่มสัดส่วนการรับเด็กเข้าเรียนในระบบดังกล่าวให้มากขึ้น ทั้งนี้ สาเหตุที่ ทปอ. สนับสนุนให้ทำวิจัยเรื่องดังกล่าว เพราะอยากให้มีงานวิชาการมาสนับสนุนแนวทางการทำงานในอนาคต จะได้ไม้เกิดข้อถกเถียงอย่างที่ผ่านมา” ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวและว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าควรจะจัดสัดส่วนการรับเด็กเข้าเรียนในระบบใดมากกว่ากัน และหากผลวิจัยมีความชัดเจนจะเสนอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป
ด้าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับ รมว.ศึกษาธิการ ที่จะต้องมีการกำหนดสัดส่วนระหว่างการแอดมิชชันและการรับตรงให้ชัดเจน โดยที่ผ่านมา ทปอ. ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้กำหนดสัดส่วนรับตรงและแอดมิชชันอยู่ที่ 50:50 แต่บางแห่งก็ยังมีการรับตรงเกินกว่า 50% ไปบ้าง ซึ่งตรงนี้ตนไม่ทราบตัวเลขที่ชัดเจนว่าจะถึง 70% หรือไม่ ทั้งนี้ คงไม่สามารถบอกได้ว่า สัดส่วนการรับตรงทุกมหาวิทยาลัยจะเพิ่มขึ้นเหมือนกันหมด เพราะธรรมชาติของแต่ละแห่ง หรือแต่ละคณะ/สาขา แตกต่างกัน แต่ก็ยอมรับว่าปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบ ยังเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งทปอ.พยายามหาทางแก้ไข โดยเมื่อเร็วๆ ทปอ. มีมติขอความร่วมมือ ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาใช้ข้อสอบกลาง ซึ่งจะมีทั้ง วิชาสามัญ 9 วิชา การทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ PAT โดยจะเริ่มในปีการศึกษา 2559 เพื่อไม่ให้นักเรียนต้องวิ่งสอบหลายที่
“มติดังกล่าวไม่ใช่การบังคับให้มหาวิทยาลัยทุกแห่ง ไปใช้ข้อสอบกลางทั้งหมด เพราะบางคณะ/สาขาก็ไม่สามารถใช้ข้อสอบกลางร่วมกันคณะ/สาขาอื่นๆ ได้ อาทิ คณะนิติศาสตร์ ของ มธ. ที่จะต้องดูการเขียนย่อความ เพราะในการเรียนการสอนต้องใช้ทักษะในเรื่องการเรียงความเป็นหลัก ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเน้นวิชาสามัญเหมือนคณะ/สาขาอื่นๆ ดังนั้น มติดังกล่าวจึงเป็นการขอความร่วมมือ ไม่ใช่ว่าต่อไปทุกคณะ/สาขา จะไปเปิดรับตรงเองไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย แต่ก็ให้เป็นความสมัครใจของแต่ละแห่ง” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยถึงกรณีที่ กมธ.ศึกษาฯ ได้หารือร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ถึงเรื่องการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาและมีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรกำหนดสัดส่วนการรับให้ชัดเจน เช่น ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง หรือ แอดมิชชัน มีสัดส่วน 30% และที่เหลือเป็นระบบรับตรงและโควตาพิเศษนั้น ว่า ในการหารือเห็นสอดคล้องกันว่าระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ควรเป็นระบบที่มีความหลากหลาย เหมาะสม และสามารถคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนได้ตรงตามที่คณะ/สาขาต้องการ เป็นระบบที่มีความเป็นธรรม และไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ดังนั้น ระบบแอดมิชชัน และระบบรับตรง จึงจะตอบโจทย์ในข้างต้นได้ โดยระบบแอดมิชชัน จะตอบโจทย์ในเรื่องความเป็นธรรมและไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ส่วนระบบรับตรง ก็อาจจะคัดเลือกเด็กได้ตรงตามความต้องการมากกว่า แต่สร้างภาระ ซึ่งในส่วนนี้ที่ผ่านมาที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติขอความร่วมมือ มหาวิทยาลัยในสังกัด 27 แห่งขอให้ลดการสอบตรงลง มาใช้ข้อสอบกลางมากขึ้น
“ขณะเดียวกัน ยังมอบให้ มศว ทำวิจัยระบบการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยศึกษาเปรียบเทียบเด็กที่เข้าเรียนระบบรับตรง กับระบบแอดมิชชันว่าเด็กที่มา ผ่านระบบใดมีคุณภาพมากกว่ากัน ซึ่งหากผลวิจัยออกมาว่า เด็กที่เข้าศึกษาในระบบใด มีคุณภาพ ต่อไปมหาวิทยาลัยก็ควรเพิ่มสัดส่วนการรับเด็กเข้าเรียนในระบบดังกล่าวให้มากขึ้น ทั้งนี้ สาเหตุที่ ทปอ. สนับสนุนให้ทำวิจัยเรื่องดังกล่าว เพราะอยากให้มีงานวิชาการมาสนับสนุนแนวทางการทำงานในอนาคต จะได้ไม้เกิดข้อถกเถียงอย่างที่ผ่านมา” ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวและว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าควรจะจัดสัดส่วนการรับเด็กเข้าเรียนในระบบใดมากกว่ากัน และหากผลวิจัยมีความชัดเจนจะเสนอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป
ด้าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับ รมว.ศึกษาธิการ ที่จะต้องมีการกำหนดสัดส่วนระหว่างการแอดมิชชันและการรับตรงให้ชัดเจน โดยที่ผ่านมา ทปอ. ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้กำหนดสัดส่วนรับตรงและแอดมิชชันอยู่ที่ 50:50 แต่บางแห่งก็ยังมีการรับตรงเกินกว่า 50% ไปบ้าง ซึ่งตรงนี้ตนไม่ทราบตัวเลขที่ชัดเจนว่าจะถึง 70% หรือไม่ ทั้งนี้ คงไม่สามารถบอกได้ว่า สัดส่วนการรับตรงทุกมหาวิทยาลัยจะเพิ่มขึ้นเหมือนกันหมด เพราะธรรมชาติของแต่ละแห่ง หรือแต่ละคณะ/สาขา แตกต่างกัน แต่ก็ยอมรับว่าปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบ ยังเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งทปอ.พยายามหาทางแก้ไข โดยเมื่อเร็วๆ ทปอ. มีมติขอความร่วมมือ ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาใช้ข้อสอบกลาง ซึ่งจะมีทั้ง วิชาสามัญ 9 วิชา การทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ PAT โดยจะเริ่มในปีการศึกษา 2559 เพื่อไม่ให้นักเรียนต้องวิ่งสอบหลายที่
“มติดังกล่าวไม่ใช่การบังคับให้มหาวิทยาลัยทุกแห่ง ไปใช้ข้อสอบกลางทั้งหมด เพราะบางคณะ/สาขาก็ไม่สามารถใช้ข้อสอบกลางร่วมกันคณะ/สาขาอื่นๆ ได้ อาทิ คณะนิติศาสตร์ ของ มธ. ที่จะต้องดูการเขียนย่อความ เพราะในการเรียนการสอนต้องใช้ทักษะในเรื่องการเรียงความเป็นหลัก ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเน้นวิชาสามัญเหมือนคณะ/สาขาอื่นๆ ดังนั้น มติดังกล่าวจึงเป็นการขอความร่วมมือ ไม่ใช่ว่าต่อไปทุกคณะ/สาขา จะไปเปิดรับตรงเองไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย แต่ก็ให้เป็นความสมัครใจของแต่ละแห่ง” ศ.ดร.สมคิด กล่าว