“หมอสุวัช” ลาพักร้อน 30 วัน หลบเลียแผลหลังถูกเลิกจ้าง ผอ.อภ. ด้านเอ็นจีโอกัดไม่ปล่อย ยื่น ป.ป.ช. ตรวจสอบซ้ำพฤติกรรมส่อทุจริต มีผลประโยชน์ทับซ้อน รพ. เอกชน ตั้งศูนย์บริการล้างไต ขณะที่ “หมอประชุมพร” ชี้การเลิกจ้าง ผอ.อภ. คลุมเครือ เหตุผลประเมินการทำงานยังไม่เสร็จ ระบุพร้อมให้สอบข้อเท็จจริงข้อกล่าวหาเบิกค่าเวรมิชอบ
วันนี้ (29 ต.ค.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) หนึ่งในประชาคมสาธารณสุข กล่าวถึงกรณี นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ยื่นหนังสือ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ตรวจสอบการเบิกจ่ายค่าเวรซ้ำซ้อนและมิชอบตนเอง ว่า เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา ตนได้ทำหนังสือถึง ผอ.รพ.สุรินทร์ ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยยินดีให้ตรวจสอบทุกกรณี เนื่องจากมั่นใจว่าตนเองบริสุทธิ์ เพราะข้อกล่าวอ้างที่ว่าเบิกค่าเวรซ้ำซ้อน โดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาล ต้องมาดูรายละเอียด ซึ่งแพทย์ที่ทำงานด้านพยาธิวิทยามี 3 คน การทำเวรล่วงเวลาจะสลับกันทำ หากตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานต่างๆ แล้วพบว่า ไม่เป็นอย่างที่เครือข่ายผู้เสียหายฯ กล่าวอ้าง ก็จำเป็นต้องมีมาตรการโต้ตอบ
“อยากให้ รมว.สาธารณสุข และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ดำเนินการตรวจสอบโรงพยาบาลทุกระดับ เพราะข้อเท็จจริงมีแพทย์ ที่ทำงานไม่ถึง 15 วันทำการ แต่ก็ยังเบิกค่าเวร ค่าอื่นๆอีกเยอะ เพียงแต่ไม่มีหลักฐานที่ใครกล้าเปิดเผย จึงอยากให้ รมว.สาธารณสุข เข้ามาตรวจสอบให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นกระทรวงสีขาว” พญ.ประชุมพร กล่าว
พญ.ประชุมพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ อยากให้ตรวจสอบไปถึงองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ด้วย อย่างกรณีเลิกจ้าง นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา จากตำแหน่ง ผอ.อภ. ก็เป็นเหตุผลที่คลุมเครือ เนื่องจากในสังคมทราบเพียง นพ.สุวัช บริหารงานไม่ตรงตามเป้าประสงค์ บริหารความขัดแย้งไม่ได้ แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องการประเมินผลการทำงานก็ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ควรต้องรอผลการประเมินก่อนหรือไม่ จะได้มีรายละเอียดชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดคำถามไม่จบสิ้นเช่นนี้ และ นพ.สุวัช ก็สามารถร้องกลับหรือฟ้องร้องเพื่อทวงถามเหตุผลได้ แม้จะเซ็นชื่อรับทราบเลิกจ้างก็ตาม
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงาน 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบ นพ.สุวัช เพราะเข้าข่ายมีพฤติกรรมส่อทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับ รพ.มหาสารคามอินเตอร์ คือ การเช่าพื้นที่ รพ.มหาสารคามอินเตอร์ เพื่อจัดตั้งศูนย์สนับสนุนงานล้างไตและฟอกเลือดเพื่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง (CAPD) โดยมีการจ้าง นพ.ดำรัส โรจนเสถียร ซึ่งเป็นผู้บริหาร รพ.มหาสารคามอินเตอร์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการ และเครื่องมืออุปกรณ์การล้างไตที่จัดซื้อเข้ามา ก็มีบริษัทของลูก นพ. ดำรัส เป็นผู้แทนจำหน่าย โดยมีข้อสังเกตว่า เหตุใด รพ.มหาสารคามอินเตอร์ จึงส่งใบเสนอราคาได้ทันทีที่ประชุมเสร็จเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ก่อนวันอนุมัติโครงการ 29 ก.ค. ทั้งนี้ ใบเสนอราคาค่าเช่าพื้นที่ 924 ตารางเมตรรายเดือน ในอัตราตารางเมตรละ 500 บาท เป็นเงิน 462,000 บาท โดยโครงการดังกล่าว นพ.สุวัช อนุมัติเมื่อวันที่ 29 ก.ค. มีมูลค่าโครงการ 25 ล้านบาท เป็นค่าจัดหาสถานที่ 9 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษา 3 ล้านบาท พัฒนาระบบไอที 13 ล้านบาท
“นอกจากนี้ ยังมีการจ้าง นพ.ดำรัส เป็นที่ปรึกษาโครงการ 6 เดือน ในค่าจ้าง 1 ล้านบาทโดยวิธีตกลงราคา ทั้งที่ในโครงการได้กำหนดค่าจ้างที่ปรึกษา 18 เดือน จำนวนเงิน 3 ล้านบาท ส่อให้เห็นถึงเจตนาไม่สุจริตของ นพ.สุวัช ที่จะหลีกเลี่ยงอำนาจในการอนุมัติหรือไม่ เนื่องจากในการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงราคา ไม่เกิน 1 ล้านบาท อยู่ในอำนาจอนุมัติของผู้อำนวยการหากเกินกว่านั้นเป็นอำนาจการตัดสินใจของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม” น.ส.กรรณิการ์ กล่าวและว่า ข้อกำหนดการเช่าพื้นที่สำหรับโครงการที่แนบสัญญา มีเพียง 1 หน้า ซึ่งกำหนดรายละเอียดน้อยมาก และไม่ระบุถึงการบริการที่ อภ.ประสงค์จะได้จากการเช่าสถานที่ เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สุวัช ภายหลังถูกเลิกจ้าง ได้ใช้สิทธิลาพักร้อนตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. - 27 พ.ย. 2557 เฉพาะวันทำการ ซึ่งจะครบ 30 วัน ก่อนจะสรรหาเลือก ผอ.อภ. คนใหม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (29 ต.ค.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) หนึ่งในประชาคมสาธารณสุข กล่าวถึงกรณี นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ยื่นหนังสือ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ตรวจสอบการเบิกจ่ายค่าเวรซ้ำซ้อนและมิชอบตนเอง ว่า เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา ตนได้ทำหนังสือถึง ผอ.รพ.สุรินทร์ ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยยินดีให้ตรวจสอบทุกกรณี เนื่องจากมั่นใจว่าตนเองบริสุทธิ์ เพราะข้อกล่าวอ้างที่ว่าเบิกค่าเวรซ้ำซ้อน โดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาล ต้องมาดูรายละเอียด ซึ่งแพทย์ที่ทำงานด้านพยาธิวิทยามี 3 คน การทำเวรล่วงเวลาจะสลับกันทำ หากตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานต่างๆ แล้วพบว่า ไม่เป็นอย่างที่เครือข่ายผู้เสียหายฯ กล่าวอ้าง ก็จำเป็นต้องมีมาตรการโต้ตอบ
“อยากให้ รมว.สาธารณสุข และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ดำเนินการตรวจสอบโรงพยาบาลทุกระดับ เพราะข้อเท็จจริงมีแพทย์ ที่ทำงานไม่ถึง 15 วันทำการ แต่ก็ยังเบิกค่าเวร ค่าอื่นๆอีกเยอะ เพียงแต่ไม่มีหลักฐานที่ใครกล้าเปิดเผย จึงอยากให้ รมว.สาธารณสุข เข้ามาตรวจสอบให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นกระทรวงสีขาว” พญ.ประชุมพร กล่าว
พญ.ประชุมพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ อยากให้ตรวจสอบไปถึงองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ด้วย อย่างกรณีเลิกจ้าง นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา จากตำแหน่ง ผอ.อภ. ก็เป็นเหตุผลที่คลุมเครือ เนื่องจากในสังคมทราบเพียง นพ.สุวัช บริหารงานไม่ตรงตามเป้าประสงค์ บริหารความขัดแย้งไม่ได้ แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องการประเมินผลการทำงานก็ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ควรต้องรอผลการประเมินก่อนหรือไม่ จะได้มีรายละเอียดชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดคำถามไม่จบสิ้นเช่นนี้ และ นพ.สุวัช ก็สามารถร้องกลับหรือฟ้องร้องเพื่อทวงถามเหตุผลได้ แม้จะเซ็นชื่อรับทราบเลิกจ้างก็ตาม
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงาน 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบ นพ.สุวัช เพราะเข้าข่ายมีพฤติกรรมส่อทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับ รพ.มหาสารคามอินเตอร์ คือ การเช่าพื้นที่ รพ.มหาสารคามอินเตอร์ เพื่อจัดตั้งศูนย์สนับสนุนงานล้างไตและฟอกเลือดเพื่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง (CAPD) โดยมีการจ้าง นพ.ดำรัส โรจนเสถียร ซึ่งเป็นผู้บริหาร รพ.มหาสารคามอินเตอร์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการ และเครื่องมืออุปกรณ์การล้างไตที่จัดซื้อเข้ามา ก็มีบริษัทของลูก นพ. ดำรัส เป็นผู้แทนจำหน่าย โดยมีข้อสังเกตว่า เหตุใด รพ.มหาสารคามอินเตอร์ จึงส่งใบเสนอราคาได้ทันทีที่ประชุมเสร็จเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ก่อนวันอนุมัติโครงการ 29 ก.ค. ทั้งนี้ ใบเสนอราคาค่าเช่าพื้นที่ 924 ตารางเมตรรายเดือน ในอัตราตารางเมตรละ 500 บาท เป็นเงิน 462,000 บาท โดยโครงการดังกล่าว นพ.สุวัช อนุมัติเมื่อวันที่ 29 ก.ค. มีมูลค่าโครงการ 25 ล้านบาท เป็นค่าจัดหาสถานที่ 9 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษา 3 ล้านบาท พัฒนาระบบไอที 13 ล้านบาท
“นอกจากนี้ ยังมีการจ้าง นพ.ดำรัส เป็นที่ปรึกษาโครงการ 6 เดือน ในค่าจ้าง 1 ล้านบาทโดยวิธีตกลงราคา ทั้งที่ในโครงการได้กำหนดค่าจ้างที่ปรึกษา 18 เดือน จำนวนเงิน 3 ล้านบาท ส่อให้เห็นถึงเจตนาไม่สุจริตของ นพ.สุวัช ที่จะหลีกเลี่ยงอำนาจในการอนุมัติหรือไม่ เนื่องจากในการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงราคา ไม่เกิน 1 ล้านบาท อยู่ในอำนาจอนุมัติของผู้อำนวยการหากเกินกว่านั้นเป็นอำนาจการตัดสินใจของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม” น.ส.กรรณิการ์ กล่าวและว่า ข้อกำหนดการเช่าพื้นที่สำหรับโครงการที่แนบสัญญา มีเพียง 1 หน้า ซึ่งกำหนดรายละเอียดน้อยมาก และไม่ระบุถึงการบริการที่ อภ.ประสงค์จะได้จากการเช่าสถานที่ เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สุวัช ภายหลังถูกเลิกจ้าง ได้ใช้สิทธิลาพักร้อนตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. - 27 พ.ย. 2557 เฉพาะวันทำการ ซึ่งจะครบ 30 วัน ก่อนจะสรรหาเลือก ผอ.อภ. คนใหม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น