กรมควบคุมโรคเตือนเฝ้าระวังโรคสุกใสในช่วงฤดูหนาว เผยช่วง ม.ค.-ก.ย. 2557 พบผู้ป่วยแล้วกว่า 7 หมื่นราย เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุ 5-9 ปีป่วยมากสุด เน้นเฝ้าระวังในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก เรือนจำ และโรงงาน ชี้พบผู้ป่วยควรแยกออกจากผู้อื่นโดยเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
วันนี้ (19 ต.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคสุกใส เป็นโรคที่เกิดและมีการระบาดสูงในช่วงฤดูหนาว ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคได้รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคสุกใส ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน พ.ศ. 2557 พบผู้ป่วยโรคสุกใส จำนวน 74,299 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยพบว่าผู้ป่วยโรคสุกใสใน ปี พ.ศ. 2557 มีรายงานเป็น 1.87 เท่า เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2556 ในช่วงเวลาเดียวกัน ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ รองลงมา คือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ส่วนกลุ่มอายุที่พบสัดส่วนผู้ป่วยสูงสุด คือ 5-9 ปี พบผู้ป่วยร้อยละ 33.49 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี พบผู้ป่วยร้อยละ 30.49 และคาดว่าปลายปี พ.ศ. 2557 จะมีจำนวนผู้ป่วยในเดือนพฤศจิกายน ประมาณ 3,143 ราย และเดือนธันวาคม ประมาณ 3,944 ราย อาการของโรคสุกใส จะเริ่มด้วยด้วยไข้ต่ำๆ ต่อมามีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ หน้า ตามตัว โดยเริ่มเป็นผื่นแดง ตุ่มนูน แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2-3 นับตั้งแต่เริ่มมีไข้ หลังจากนั้นตุ่มจะเป็นหนอง แล้วเริ่มแห้งตกสะเก็ด และร่วงในเวลา 5-20 วัน ผื่นอาจขึ้นในคอ ตา และในปากด้วย โดยทั่วไปโรคนี้มักไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่ผู้ป่วย บางรายอาจมีอาการทางสมองและปอดบวมได้ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงในคนทั่วๆ ไป แต่ในคนบางกลุ่มถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ กลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด ผู้ที่กินยากดภูมิต้านทาน ทารกแรกเกิด สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
นพ.โสภณกล่าวต่อว่า การติดต่อของโรคสุกใสนั้น มีปัจจัยในการถ่ายทอดโรค ได้แก่ การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเข้าไปเช่นเดียวกับไข้หวัด การใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย การคลุกคลีใกล้ชิด สัมผัสน้ำเหลืองจากตุ่มพองใสที่ผิวหนังของผู้ป่วย มักเกิดในสถานที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก เรือนจำ และโรงงาน เป็นต้น ดังนั้นวิธีป้องกันโรค ทำได้โดยล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า ปิดปากปิดจมูกทุกครั้ง เวลา ไอ จาม หลีกเลี่ยงสถานที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ไม่คลุกคลีใกล้ชิด ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ควรแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ เช่น การหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าแผลจะตกสะเก็ดและแห้งไป ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร.0-2590-3185 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ติดตาม Instagram และ Facebook
Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (19 ต.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคสุกใส เป็นโรคที่เกิดและมีการระบาดสูงในช่วงฤดูหนาว ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคได้รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคสุกใส ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน พ.ศ. 2557 พบผู้ป่วยโรคสุกใส จำนวน 74,299 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยพบว่าผู้ป่วยโรคสุกใสใน ปี พ.ศ. 2557 มีรายงานเป็น 1.87 เท่า เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2556 ในช่วงเวลาเดียวกัน ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ รองลงมา คือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ส่วนกลุ่มอายุที่พบสัดส่วนผู้ป่วยสูงสุด คือ 5-9 ปี พบผู้ป่วยร้อยละ 33.49 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี พบผู้ป่วยร้อยละ 30.49 และคาดว่าปลายปี พ.ศ. 2557 จะมีจำนวนผู้ป่วยในเดือนพฤศจิกายน ประมาณ 3,143 ราย และเดือนธันวาคม ประมาณ 3,944 ราย อาการของโรคสุกใส จะเริ่มด้วยด้วยไข้ต่ำๆ ต่อมามีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ หน้า ตามตัว โดยเริ่มเป็นผื่นแดง ตุ่มนูน แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2-3 นับตั้งแต่เริ่มมีไข้ หลังจากนั้นตุ่มจะเป็นหนอง แล้วเริ่มแห้งตกสะเก็ด และร่วงในเวลา 5-20 วัน ผื่นอาจขึ้นในคอ ตา และในปากด้วย โดยทั่วไปโรคนี้มักไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่ผู้ป่วย บางรายอาจมีอาการทางสมองและปอดบวมได้ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงในคนทั่วๆ ไป แต่ในคนบางกลุ่มถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ กลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด ผู้ที่กินยากดภูมิต้านทาน ทารกแรกเกิด สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
นพ.โสภณกล่าวต่อว่า การติดต่อของโรคสุกใสนั้น มีปัจจัยในการถ่ายทอดโรค ได้แก่ การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเข้าไปเช่นเดียวกับไข้หวัด การใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย การคลุกคลีใกล้ชิด สัมผัสน้ำเหลืองจากตุ่มพองใสที่ผิวหนังของผู้ป่วย มักเกิดในสถานที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก เรือนจำ และโรงงาน เป็นต้น ดังนั้นวิธีป้องกันโรค ทำได้โดยล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า ปิดปากปิดจมูกทุกครั้ง เวลา ไอ จาม หลีกเลี่ยงสถานที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ไม่คลุกคลีใกล้ชิด ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ควรแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ เช่น การหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าแผลจะตกสะเก็ดและแห้งไป ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร.0-2590-3185 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ติดตาม Instagram และ Facebook
Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
style="padding:8px;">กำลัง
โหลดอย.ทลายแหล่งผลิต-ร้านขายเครื่องสำอางปลอม
href="https://instagram.com/p/uSI6zfKkCE/" style=" color:#c9c8cd; font-family:Arial,sans-serif; font-size:14px; font
-style:normal; font-weight:normal; text-decoration:none;" target="_top"> ดูบน Instagram
async defer src="//platform.instagram.com/en_US/embeds.js">