กกจ. แนะนายจ้างที่พาแรงงานสัญชาติพม่าที่ขึ้นขึ้นทะเบียนแล้ว เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ภายใน 31 มี.ค. 2558 เผยยอดขึ้นทะเบียน 3 สัญชาติล่าสุดกว่า 1.3 ล้านคน แนะนายจ้างเร่งขึ้นทะเบียนภายใน ต.ค. นี้
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า การพิสูจน์สัญชาติแรงงานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ขณะนี้ในส่วนของสัญชาติพม่า สามารถดำเนินการได้ทันที โดยนายจ้างต้องเตรียมเอกสาร หลักฐานของแรงงาน ได้แก่ บัญชีรายชื่อแรงงานเพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ ตามแบบที่กำหนด บัญชีรายชื่อผู้ติดตาม สำเนาบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือ ใบอนุญาตทำงาน แบบฟอร์มประวัติส่วนบุคคล เป็นภาษาพม่า สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ สำเนาบัตรประชาชน (ถ้ามี) รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 4 ใบ สัญญาจ้างงาน กรอกเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล พร้อมด้วยสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมอากรแสตมป์ 10 (กรณีที่นายจ้างมอบอำนาจให้ยื่นแทน) สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีบุคคลทั่วไป) และสำเนาใบอนุญาตจัดหางานให้คนทำงานในประเทศ (กรณีเป็นบริษัทจัดหางานไปดำเนินการ) โดยเอกสารทั้งหมดต้องเตรียมจำนวน 4 ชุด เพื่อไปยื่นที่สำนักงานจัดหางานทั่วประเทศ ในการส่งเอกสารของแรงงาน ไปยังสถานเอกอัครราชทูต ประจำประเทศไทย
นายสุเมธ กล่าวอีกว่า เมื่อได้รับการยืนยันนายจ้างต้องพาแรงงานไปพิสูจน์สัญชาติที่สถานเอกอัครราชทูต ประจำประเทศไทย หรือ สถานที่ออกหนังสือเดินทาง ทั้ง 3 จุดที่กำหนดในฝั่งพม่า เมื่อเรียบร้อยแล้วนายจ้างต้องพาแรงงานไปขอรับการตรวจลงตราวีซาและขอใบอนุญาตทำงานที่สำนักงานจัดหางานทั่วประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทั้งฝั่งไทยและพม่า รวม 3,100 บาท ส่วนของกัมพูชาและลาว อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558
นายสุเมธ กล่าวด้วยว่า สำหรับยอดจดทะเบียนแรงงานล่าสุด (14 ตุลาคม 2557) มีนายจ้าง 257,118 ราย พาแรงงานและผู้ติดตาม มาจดทะเบียนจำนวน 1,333,803 คน แบ่งเป็นแรงงาน 1,254,939 คน ผู้ติดตาม 78,864 คน เมื่อแบ่งตามสัญชาติ เป็นแรงงานพม่า 498,166 คน ผู้ติดตาม 36,317 คน แรงงานลาว 189,672 คน ผู้ติดตาม 8,394 คน และแรงงานกัมพูชา 567,101 คน ผู้ติดตาม 34,153 คน ทั้งนี้เหลือเวลาเพียง 16 วัน (31 ต.ค.57) เท่านั้น ที่ครบกำหนดผ่อนผันให้นายจ้าง นำแรงงานผิดกฎหมายไปขึ้นทะเบียน หากนายจ้างฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท ต่อการจ้างแรงงาน 1 คน ขณะที่แรงงานเพื่อนบ้านที่ฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2 พันบาท ถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า การพิสูจน์สัญชาติแรงงานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ขณะนี้ในส่วนของสัญชาติพม่า สามารถดำเนินการได้ทันที โดยนายจ้างต้องเตรียมเอกสาร หลักฐานของแรงงาน ได้แก่ บัญชีรายชื่อแรงงานเพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ ตามแบบที่กำหนด บัญชีรายชื่อผู้ติดตาม สำเนาบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือ ใบอนุญาตทำงาน แบบฟอร์มประวัติส่วนบุคคล เป็นภาษาพม่า สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ สำเนาบัตรประชาชน (ถ้ามี) รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 4 ใบ สัญญาจ้างงาน กรอกเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล พร้อมด้วยสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมอากรแสตมป์ 10 (กรณีที่นายจ้างมอบอำนาจให้ยื่นแทน) สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีบุคคลทั่วไป) และสำเนาใบอนุญาตจัดหางานให้คนทำงานในประเทศ (กรณีเป็นบริษัทจัดหางานไปดำเนินการ) โดยเอกสารทั้งหมดต้องเตรียมจำนวน 4 ชุด เพื่อไปยื่นที่สำนักงานจัดหางานทั่วประเทศ ในการส่งเอกสารของแรงงาน ไปยังสถานเอกอัครราชทูต ประจำประเทศไทย
นายสุเมธ กล่าวอีกว่า เมื่อได้รับการยืนยันนายจ้างต้องพาแรงงานไปพิสูจน์สัญชาติที่สถานเอกอัครราชทูต ประจำประเทศไทย หรือ สถานที่ออกหนังสือเดินทาง ทั้ง 3 จุดที่กำหนดในฝั่งพม่า เมื่อเรียบร้อยแล้วนายจ้างต้องพาแรงงานไปขอรับการตรวจลงตราวีซาและขอใบอนุญาตทำงานที่สำนักงานจัดหางานทั่วประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทั้งฝั่งไทยและพม่า รวม 3,100 บาท ส่วนของกัมพูชาและลาว อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558
นายสุเมธ กล่าวด้วยว่า สำหรับยอดจดทะเบียนแรงงานล่าสุด (14 ตุลาคม 2557) มีนายจ้าง 257,118 ราย พาแรงงานและผู้ติดตาม มาจดทะเบียนจำนวน 1,333,803 คน แบ่งเป็นแรงงาน 1,254,939 คน ผู้ติดตาม 78,864 คน เมื่อแบ่งตามสัญชาติ เป็นแรงงานพม่า 498,166 คน ผู้ติดตาม 36,317 คน แรงงานลาว 189,672 คน ผู้ติดตาม 8,394 คน และแรงงานกัมพูชา 567,101 คน ผู้ติดตาม 34,153 คน ทั้งนี้เหลือเวลาเพียง 16 วัน (31 ต.ค.57) เท่านั้น ที่ครบกำหนดผ่อนผันให้นายจ้าง นำแรงงานผิดกฎหมายไปขึ้นทะเบียน หากนายจ้างฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท ต่อการจ้างแรงงาน 1 คน ขณะที่แรงงานเพื่อนบ้านที่ฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2 พันบาท ถึง 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น