xs
xsm
sm
md
lg

แจงแรงงานพม่าก่ออาชญากรรมเกาะเต่า เป็นที่ตัวบุคคลไม่เอี่ยวกับจดทะเบียนแรงงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กกจ. คาด เริ่มพิสูจน์สัญชาติแรงงาน 13 ต.ค. ยันค่าใช้จ่ายการดำเนินการผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาล 3 ประเทศแล้ว ชี้ แรงงานก่ออาชญากรรมที่เกาะเต่า ไม่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียน เป็นที่ตัวบุคคล เผย 3 ตำบล ใน จ.สุราษฎร์ธานี มีแรงงานผิดกฎหมายกว่า 6,500 คน

วันนี้ (8 ต.ค.) นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 ตุลาคมนี้ จะสามารถเริ่มดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานได้ โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้ออกประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการตรวจสัญชาติ และอนุญาตทำงาน แรงงานพม่า ลาว และกัมพูชา โดยกำหนดค่าใช้จ่ายของฝ่ายไทยจำนวน 1,500 บาท แบ่งเป็น ค่าตรวจลงตราประทับวีซ่า 500 บาท ค่าขอใบอนุญาตทำงานจำนวน 100 บาท และค่าใบอนุญาตทำงาน ระยะ 1 ปี 900 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายแรงงานนั้นแบ่งตามข้อกำหนดของรัฐบาลแต่ละประเทศ คือ พม่า มีค่าจัดทำหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) และค่าทำบัตรแรงงาน 1,600 บาท ลาว มีค่าจัดทำพาสปอร์ต จำนวน 1,500 บาท และ กัมพูชา ค่าพาสปอร์ตและค่าบัตรแรงงาน จำนวน 1,400 บาท

ยืนยันว่า ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้ทำการตกลงร่วมกันระหว่างไทยและทั้ง 3 ประเทศแล้ว นอกจากนี้ ยังได้ออกประกาศไปยังสำนักงานจัดหางานทั่วประเทศในการตรวจสอบไม่ให้มีสาย หรือนายหน้าไปให้คำแนะนำจนเกิดความสับสน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องไม่แนะนำนายจ้างให้ใช้บริการบริษัทจัดหางานในการดำเนินการ ทั้งนี้ หากพบเจ้าหน้าที่ กกจ. ทำความผิดจะตั้งคณะกรรมการสอบวินัยทันที โดยหลังวันที่ 31 ตุลาคม นี้ จะมีการปราบปรามจับกุมอย่างจริงจัง” อธิบดี กกจ. กล่าว

นายสุเมธ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีแรงงานเพื่อนบ้าน ก่ออาชญากรรมกับนักท่องเที่ยวจนเสียชีวิต ในเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนแรงงาน เพราะเป็นเรื่องของตัวบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่ดี และ กกจ. ไม่ได้ละเลยในการดำเนินการ แต่ไม่มีข้อมูลประวัติอาชญากรรม หรือดีเอ็นเอของแรงงานเพื่อนบ้าน ส่วนกรณีที่ไม่มีการเปิดจุดบริการเคลื่อนที่ ในเกาะเต่านั้น เนื่องจากกำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และมีมรสุมที่ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องเอกซเรย์ได้ จึงต้องเปิดหน่วยเคลื่อนที่จดทะเบียน ที่ อ.เกาะพะงัน ซึ่งเป็นพื้นที่ครอบคลุมไปถึง ต.เกาะเต่า ระหว่างวันที่ 13-27 ต.ค. ส่วนการจดทะเบียนในจังหวัดต่างๆ เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการกำหนด ซึ่ง กกจ. มีหน้าที่ในการจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการเท่านั้น ทั้งนี้ พบว่า แรงงานที่ผิดกฎหมายในอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกว่า 6,500 คน แบ่งเป็น ตำบลเกาะพะงัน และตำบลบ้านใต้จำนวน 3,500 คน และตำบลเกาะเต่าจำนวนกว่า 3,000 คน
 
 
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

กำลังโหลด

รุ่นพี่เทคโนฯสวนนันขอขมาอธิการบดี กรณีหยดน้ำตาเทียนใส่รุ่นน้อง ขณะที่ผลสอบวินัยสั่งลงโทษไม่ร้ายแรง ตักเตือน 23 คน ภาคทัณฑ์ 10 คน ตัดคะแนนความประพฤติอีก 10 คน

ดูบน Instagram




กำลังโหลดความคิดเห็น