คาดเริ่มพิสูจน์แรงงานต่างด้าวได้ 10 ต.ค. นี้ ชง ครม. ลดค่าธรรมเนียมคำขอ-ใบอนุญาตทำงานจาก 2 พัน เหลือคนละ 1 พันบาท
นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลังเปิดให้จดทะเบียนว่า ล่าสุด มีแรงงานต่างด้าวจดทะเบียนแล้วกว่า 1.2 ล้านคน คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ประมาณวันที่ 10 ตุลาคมนี้ ซึ่งทางประเทศต้นทางทั้ง 3 ประเทศ คือ พม่า ลาว และ กัมพูชา มีความพร้อมในการส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการที่ประเทศไทยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาสถานที่ในการเปิดดำเนินการในพื้นที่ กทม. รวมถึงกำลังพิจารณาจัดเจ้าหน้าที่ไปตามหน่วยเคลื่อนที่เพื่อเข้าไปให้บริการในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวหนาแน่น ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของประเทศต้นทาง เจ้าหน้าที่ กกจ. และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ร่วมให้บริการ
ทั้งนี้ สำหรับค่าบริการของประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย ค่าหนังสือเดินทางของ สปป.ลาว จำนวนคนละ 1,500 บาท กัมพูชาคนละ 1,400 บาทและพม่าคนละ 1,600 บาท ส่วนค่าบริการของไทยแบ่งเป็นค่าตรวจลงตราประทับวีซ่า จำนวนคนละ 500 บาท จากปกติอยู่ที่คนละ 2,000 บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา ค่ายื่นคำขอและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานรวมแล้วปีละ 1,000 บาท ซึ่งทุกประเภทกิจการทั่วประเทศจะเก็บเท่ากันในอัตรานี้
นายอนุรักษ์ กล่าวอีกว่า นายสุเมธ มโหสถ อธิบดี กกจ. ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนดำเนินการอย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส รวมทั้งดูแลไม่ให้มีการเรียกรับผลประโยชน์จากแรงงานต่างด้าว หากพบเห็นให้แจ้งมายัง กกจ.ได้ทันที อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่นายจ้างใช้บริการนายหน้าในการนำแรงงานต่างด้าวไปพิสูจน์สัญชาติ นายหน้าดังกล่าวจะต้องมีการขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดหางานกับกกจ.ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200 แห่ง โดยบริษัทสามารถเรียกรับค่าบริการได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของรายได้แรงงานต่างด้าว 1 เดือน ซึ่ง กกจ.ไม่ได้กำหนดค่าบริการไว้ชัดเจนเพราะต้องการให้เป็นไปตามการแข่งขันและกลไกตลาด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลังเปิดให้จดทะเบียนว่า ล่าสุด มีแรงงานต่างด้าวจดทะเบียนแล้วกว่า 1.2 ล้านคน คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ประมาณวันที่ 10 ตุลาคมนี้ ซึ่งทางประเทศต้นทางทั้ง 3 ประเทศ คือ พม่า ลาว และ กัมพูชา มีความพร้อมในการส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการที่ประเทศไทยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาสถานที่ในการเปิดดำเนินการในพื้นที่ กทม. รวมถึงกำลังพิจารณาจัดเจ้าหน้าที่ไปตามหน่วยเคลื่อนที่เพื่อเข้าไปให้บริการในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวหนาแน่น ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของประเทศต้นทาง เจ้าหน้าที่ กกจ. และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ร่วมให้บริการ
ทั้งนี้ สำหรับค่าบริการของประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย ค่าหนังสือเดินทางของ สปป.ลาว จำนวนคนละ 1,500 บาท กัมพูชาคนละ 1,400 บาทและพม่าคนละ 1,600 บาท ส่วนค่าบริการของไทยแบ่งเป็นค่าตรวจลงตราประทับวีซ่า จำนวนคนละ 500 บาท จากปกติอยู่ที่คนละ 2,000 บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา ค่ายื่นคำขอและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานรวมแล้วปีละ 1,000 บาท ซึ่งทุกประเภทกิจการทั่วประเทศจะเก็บเท่ากันในอัตรานี้
นายอนุรักษ์ กล่าวอีกว่า นายสุเมธ มโหสถ อธิบดี กกจ. ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนดำเนินการอย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส รวมทั้งดูแลไม่ให้มีการเรียกรับผลประโยชน์จากแรงงานต่างด้าว หากพบเห็นให้แจ้งมายัง กกจ.ได้ทันที อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่นายจ้างใช้บริการนายหน้าในการนำแรงงานต่างด้าวไปพิสูจน์สัญชาติ นายหน้าดังกล่าวจะต้องมีการขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทจัดหางานกับกกจ.ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200 แห่ง โดยบริษัทสามารถเรียกรับค่าบริการได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของรายได้แรงงานต่างด้าว 1 เดือน ซึ่ง กกจ.ไม่ได้กำหนดค่าบริการไว้ชัดเจนเพราะต้องการให้เป็นไปตามการแข่งขันและกลไกตลาด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่