แรงงานถูกหลอกผ่านเฟซบุ๊กร้องเรียนเพิ่ม กกจ. เผย 11 เดือน มียอดร้องเรียน 472 คน ถูกบริษัทจัดหางาน-นายหน้าหลอกจ่ายเงินแล้วไม่ได้เดินทางไปทำงานต่างประเทศงานไม่ตรงตำแหน่ง ไม่มีงานทำจริง ถูกลอยแพ เตือนระวังการหางานโดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์
วันนี้ (15 ต.ค.) นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีแรงงานที่ถูกหลอกโดยนายหน้าเถื่อนว่าสามารถช่วยให้ไปทำงานต่างประเทศผ่านเฟซบุ๊กว่า ล่าสุดมีแรงงานที่ถูกหลอกร้องเรียนต่อกรมการจัดหางานแล้ว 27 คนแยกเป็นแรงงานจาก จ.บุรีรัมย์ 6 คน ลำพูน 3 คน มหาสารคาม 3 คน ร้อยเอ็ด 2 คน ขอนแก่น 2 คน สกลนคร 2 คน นครพนม 2 คน พะเยา 2 คน เชียงใหม่ 1 คน แพร่ 1 คน หนองคาย 1 คน ฉะเชิงเทรา 1 คน บึงกาฬ 1 คน ซึ่งได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับนายหน้าเถื่อนแล้วที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) หัวหมาก กรุงเทพฯ และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) โดยเอาผิดโทษฐานหลอกลวงคนไปทำงานต่างประเทศ ตามมาตรา 91 ของพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มีโทษปรับ 60,000 - 200,000 บาท จำคุก 3 - 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับต่อการหลอกลวงหนึ่งครั้ง
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ช่วงตั้งแต่เดือน ต.ค. 2556 - ก.ย. 2557 มีแรงงานที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศร้องทุกข์กับกรมการจัดหางานรวม 472 คนแยกเป็นร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน 142 คน สาย/นายหน้าเถื่อน 330 คน ขณะที่ในปี 2556 มีแรงงานร้องทุกข์ 955 คนแยกเป็นร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน 427 คน และกรณีสาย/นายหน้าเถื่อน 528 คน โดยช่วง 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือแรงงานที่มาร้องทุกข์ได้ 1,473 คน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงงานที่เคยมาร้องทุกข์ไว้แต่ตกค้างยังไม่ได้รับความช่วยเหลือภายในปีงบประมาณที่มาร้องทุกข์
ทั้งนี้ สาเหตุที่แรงงานร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน เนื่องจากเก็บเงินค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่สามารถจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศได้ เดินทางแล้วประสบปัญหาไม่สามารถทำงานได้ เมื่อกลับมาจึงต้องร้องทุกข์ขอค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืน รวมทั้งเดินทางไปทำงานต่างประเทศแล้วนายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา เช่น ให้ทำงานไม่ตรงกับตำแหน่ง ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าในสัญญาจ้าง ไม่มีสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ตรงกับสัญญาจ้าง
ส่วนการร้องทุกข์กรณีสาย/นายหน้าเถื่อนนั้น เนื่องจากถูกหลอกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่สามารถจัดส่งแรงงานไปทำงานได้ จัดส่งแรงงานไปทำงานแบบผิดกฎหมายหรือไม่มีงานทำ รวมทั้งกรณีเก็บค่าใช้จ่ายไปแล้วมีการจัดส่งไปทำงาน ปล่อยทิ้งให้แรงงานหาทางกลับประเทศไทยเอง ทั้งนี้ จึงขอเตือนผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศให้ระมัดระวังในการหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศโดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ โดยขอให้ติดต่อสอบถามข้อมูลกับกรมการจัดหางานได้ที่สายด่วน 1694 หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ต.ค.) นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีแรงงานที่ถูกหลอกโดยนายหน้าเถื่อนว่าสามารถช่วยให้ไปทำงานต่างประเทศผ่านเฟซบุ๊กว่า ล่าสุดมีแรงงานที่ถูกหลอกร้องเรียนต่อกรมการจัดหางานแล้ว 27 คนแยกเป็นแรงงานจาก จ.บุรีรัมย์ 6 คน ลำพูน 3 คน มหาสารคาม 3 คน ร้อยเอ็ด 2 คน ขอนแก่น 2 คน สกลนคร 2 คน นครพนม 2 คน พะเยา 2 คน เชียงใหม่ 1 คน แพร่ 1 คน หนองคาย 1 คน ฉะเชิงเทรา 1 คน บึงกาฬ 1 คน ซึ่งได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับนายหน้าเถื่อนแล้วที่สถานีตำรวจนครบาล (สน.) หัวหมาก กรุงเทพฯ และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) โดยเอาผิดโทษฐานหลอกลวงคนไปทำงานต่างประเทศ ตามมาตรา 91 ของพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มีโทษปรับ 60,000 - 200,000 บาท จำคุก 3 - 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับต่อการหลอกลวงหนึ่งครั้ง
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ช่วงตั้งแต่เดือน ต.ค. 2556 - ก.ย. 2557 มีแรงงานที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศร้องทุกข์กับกรมการจัดหางานรวม 472 คนแยกเป็นร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน 142 คน สาย/นายหน้าเถื่อน 330 คน ขณะที่ในปี 2556 มีแรงงานร้องทุกข์ 955 คนแยกเป็นร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน 427 คน และกรณีสาย/นายหน้าเถื่อน 528 คน โดยช่วง 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือแรงงานที่มาร้องทุกข์ได้ 1,473 คน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงงานที่เคยมาร้องทุกข์ไว้แต่ตกค้างยังไม่ได้รับความช่วยเหลือภายในปีงบประมาณที่มาร้องทุกข์
ทั้งนี้ สาเหตุที่แรงงานร้องทุกข์กรณีบริษัทจัดหางาน เนื่องจากเก็บเงินค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่สามารถจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศได้ เดินทางแล้วประสบปัญหาไม่สามารถทำงานได้ เมื่อกลับมาจึงต้องร้องทุกข์ขอค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืน รวมทั้งเดินทางไปทำงานต่างประเทศแล้วนายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา เช่น ให้ทำงานไม่ตรงกับตำแหน่ง ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าในสัญญาจ้าง ไม่มีสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ตรงกับสัญญาจ้าง
ส่วนการร้องทุกข์กรณีสาย/นายหน้าเถื่อนนั้น เนื่องจากถูกหลอกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่สามารถจัดส่งแรงงานไปทำงานได้ จัดส่งแรงงานไปทำงานแบบผิดกฎหมายหรือไม่มีงานทำ รวมทั้งกรณีเก็บค่าใช้จ่ายไปแล้วมีการจัดส่งไปทำงาน ปล่อยทิ้งให้แรงงานหาทางกลับประเทศไทยเอง ทั้งนี้ จึงขอเตือนผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศให้ระมัดระวังในการหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศโดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ โดยขอให้ติดต่อสอบถามข้อมูลกับกรมการจัดหางานได้ที่สายด่วน 1694 หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น