สบส. ตรวจคลินิกพัวพันเฟรชเซลล์ เบื้องต้นไม่พบการฉีดเฟรชเซลล์ แต่มีการรับคนไข้จากเอเยนซีช่วยเตรียมความพร้อมร่างกาย ก่อนส่งไปเยอรมนี ทั้งการทำดีท็อกซ์ ฉีดวิตามิน แต่อ้างไม่ทราบเกี่ยวข้องเฟรชเซลล์ จ่อตรวจเวชระเบียนคนไข้ เผยเอาผิดโฆษณาชื่อไม่ตรงจดแจ้ง-ลดแลกแจกแถม ปรับรวม 4 หมื่นบาท
วันนี้ (1 ต.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ได้นำเจ้าหน้าที่ สบส. และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงพื้นที่ตรวจสอบคลินิกเวชกรรมแห่งหนึ่ง ย่านถนนรัชดาภิเษก หลังได้รับเรื่องร้องเรียนผ่าน อย. ว่ามีการให้บริการเกี่ยวข้องกับเฟรชเซลล์ ซึ่งการฉีดเฟรชเซลล์หรือการใช้เซลล์สดของสัตว์ในการรักษาสำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจาก อย.ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาที่ใช้ในประเทศ และประกาศแพทยสภาก็ไม่อนุญาตให้ดำเนินการ เพราะยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการรักษา
นพ.ธเรศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจสอบว่า คลินิกดังกล่าวเป็นคลินิกเวชกรรมทั่วไป มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ส่วนแพทย์ก็ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้อง โดยให้บริการรักษาหลายด้าน ทั้งโรคทั่วไป ความงาม ผิวหนัง และการจัดกระดูก แต่ไม่มีการฉีดเฟรชเซลล์โดยตรง ทั้งนี้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่เบื้องต้นพบว่า มีการรับคนไข้ที่ส่งต่อมาจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าเป็นเอเยนซี เพื่อเตรียมความพร้อมร่างกายคนไข้ โดยได้ให้บริการฉีดดีท็อกซ์ล้างสารพิษ และการฉีดวิตามินจำนวนมาก ก่อนส่งต่อไปรักษาที่ประเทศเยอรมนี แต่ยังไม่ชัดเจนว่าใช่ส่งไปเพื่อรับบริการเฟรชเซลล์หรือไม่ จึงมอบหมายให้สำนักกฎหมาย สบส. ตรวจสอบเวชระเบียนคนไข้ที่บริษัทจัดส่งมา หากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉีดเฟรชเซลล์ ตัวของแพทย์ผู้ดำเนินการนั้นสามารถเอาผิดตามจริยธรรมของแพทยสภาได้
“อย่างไรก็ตาม พบว่าคลินิกแห่งนี้มีความผิดในแง่การโฆษณา ตามมาตรา 38 พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 โดยพบว่ามีการใช้ชื่อคลินิกไม่ตรงกับชื่อที่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และมีการโฆษณาลดแลกแจกแถม มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทเช่นกัน รวมทั้งหมดเป็น 4 หมื่นบาท” รองอธิบดี สบส. กล่าว
ด้าน นายชาตรี พินใย นิติกรชำนาญการพิเศษ สบส. กล่าวว่า จากการตรวจสอบเวชระเบียนเบื้องต้นพบว่า บริษัทเอเยนซีได้ส่งต่อคนไข้มาคลินิกแห่งนี้ 4 ราย เพื่อเตรียมความพร้อมร่างกาย จากนั้นจึงส่งข้อมูลกลับไปยังบริษัท และส่งไปยังเยอรมนีเพื่อไปรักษาตัวต่อ แต่ทางคลินิกระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกับการส่งตัวไปรักษาต่อที่เยอรมนี สบส. จึงต้องตรวจสอบอีกครั้ง ทำให้เอาผิดได้เฉพาะการโฆษณาที่ผิดตามมาตรา 38 เท่านั้น และส่งรายชื่อแพทย์ผู้ขอใบอนุญาตให้แก่แพทยสภาพิจารณาว่าผิดจริยธรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหรือไม่ภายในสัปดาห์หน้า ส่วนบริษัทเอเยนซีจะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตรวจสอบเรื่องการโฆษณาเพราะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค
เมื่อถามถึงความคืบหน้ากรณีคลินิกแห่งหนึ่งย่านปทุมวันที่ให้บริการเฟรชเซลล์แก่เศรษฐีไฮโซ ที่รับบริการเพื่อรักษาเส้นเลือดในสมองตีบ แต่สุดท้ายอาการไม่ดีขึ้น ร่างกายส่วนขวาชาและไม่มีแรง จนต้องออกมาฟ้องร้องนั้น นพ.ธเรศ กล่าวว่า เบื้องต้นผู้เสียหายได้ไกล่เกลี่ยกับคลินิกแล้ว แต่ส่วนของแพทย์ถือว่ากระทำผิดตามจริยธรรม ซึ่ง สบส.ได้ส่งเรื่องให้แพทยสภาพิจารณาแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบเว็บไซต์ของคลินิกดังกล่าว พบว่า มีการลงโปรโมชันลดแลกแจกแถมจริง และมีการระบุด้วยว่า Fresh cell ที่เดียวในไทย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ต.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ได้นำเจ้าหน้าที่ สบส. และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงพื้นที่ตรวจสอบคลินิกเวชกรรมแห่งหนึ่ง ย่านถนนรัชดาภิเษก หลังได้รับเรื่องร้องเรียนผ่าน อย. ว่ามีการให้บริการเกี่ยวข้องกับเฟรชเซลล์ ซึ่งการฉีดเฟรชเซลล์หรือการใช้เซลล์สดของสัตว์ในการรักษาสำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจาก อย.ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาที่ใช้ในประเทศ และประกาศแพทยสภาก็ไม่อนุญาตให้ดำเนินการ เพราะยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการรักษา
นพ.ธเรศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจสอบว่า คลินิกดังกล่าวเป็นคลินิกเวชกรรมทั่วไป มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ส่วนแพทย์ก็ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้อง โดยให้บริการรักษาหลายด้าน ทั้งโรคทั่วไป ความงาม ผิวหนัง และการจัดกระดูก แต่ไม่มีการฉีดเฟรชเซลล์โดยตรง ทั้งนี้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่เบื้องต้นพบว่า มีการรับคนไข้ที่ส่งต่อมาจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าเป็นเอเยนซี เพื่อเตรียมความพร้อมร่างกายคนไข้ โดยได้ให้บริการฉีดดีท็อกซ์ล้างสารพิษ และการฉีดวิตามินจำนวนมาก ก่อนส่งต่อไปรักษาที่ประเทศเยอรมนี แต่ยังไม่ชัดเจนว่าใช่ส่งไปเพื่อรับบริการเฟรชเซลล์หรือไม่ จึงมอบหมายให้สำนักกฎหมาย สบส. ตรวจสอบเวชระเบียนคนไข้ที่บริษัทจัดส่งมา หากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉีดเฟรชเซลล์ ตัวของแพทย์ผู้ดำเนินการนั้นสามารถเอาผิดตามจริยธรรมของแพทยสภาได้
“อย่างไรก็ตาม พบว่าคลินิกแห่งนี้มีความผิดในแง่การโฆษณา ตามมาตรา 38 พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 โดยพบว่ามีการใช้ชื่อคลินิกไม่ตรงกับชื่อที่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และมีการโฆษณาลดแลกแจกแถม มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทเช่นกัน รวมทั้งหมดเป็น 4 หมื่นบาท” รองอธิบดี สบส. กล่าว
ด้าน นายชาตรี พินใย นิติกรชำนาญการพิเศษ สบส. กล่าวว่า จากการตรวจสอบเวชระเบียนเบื้องต้นพบว่า บริษัทเอเยนซีได้ส่งต่อคนไข้มาคลินิกแห่งนี้ 4 ราย เพื่อเตรียมความพร้อมร่างกาย จากนั้นจึงส่งข้อมูลกลับไปยังบริษัท และส่งไปยังเยอรมนีเพื่อไปรักษาตัวต่อ แต่ทางคลินิกระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกับการส่งตัวไปรักษาต่อที่เยอรมนี สบส. จึงต้องตรวจสอบอีกครั้ง ทำให้เอาผิดได้เฉพาะการโฆษณาที่ผิดตามมาตรา 38 เท่านั้น และส่งรายชื่อแพทย์ผู้ขอใบอนุญาตให้แก่แพทยสภาพิจารณาว่าผิดจริยธรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหรือไม่ภายในสัปดาห์หน้า ส่วนบริษัทเอเยนซีจะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตรวจสอบเรื่องการโฆษณาเพราะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค
เมื่อถามถึงความคืบหน้ากรณีคลินิกแห่งหนึ่งย่านปทุมวันที่ให้บริการเฟรชเซลล์แก่เศรษฐีไฮโซ ที่รับบริการเพื่อรักษาเส้นเลือดในสมองตีบ แต่สุดท้ายอาการไม่ดีขึ้น ร่างกายส่วนขวาชาและไม่มีแรง จนต้องออกมาฟ้องร้องนั้น นพ.ธเรศ กล่าวว่า เบื้องต้นผู้เสียหายได้ไกล่เกลี่ยกับคลินิกแล้ว แต่ส่วนของแพทย์ถือว่ากระทำผิดตามจริยธรรม ซึ่ง สบส.ได้ส่งเรื่องให้แพทยสภาพิจารณาแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบเว็บไซต์ของคลินิกดังกล่าว พบว่า มีการลงโปรโมชันลดแลกแจกแถมจริง และมีการระบุด้วยว่า Fresh cell ที่เดียวในไทย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่