อย.ยันห้ามฉีดเฟรชเซลล์ในไทย เหตุไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยา คนฉีดผิดกฎหมายหลายกระทง ระบุอนาคตอาจมีการร่างกฎหมายเฉพาะสำหรับการควบคุมเซลล์ เตือนคนจะเหินฟ้าไปฉีดเฟรชเซลล์ศึกษาข้อมูลให้ดี ฉีดแล้วอาจเกิดอาการแพ้เพราะถือเป็นสิ่งแปลกปลอม บางรายแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนรายไม่ได้แพ้ระวังเจอหลอกลวง ไม่มีการใช้เซลล์จริงตามโฆษณา
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีนายสุรศักดิ์ พงษ์ศักดิ์ภักดี อายุ 72 ปี อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพรตพิทยพยัต เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับคลินิกแห่งหนึ่งย่านปทุมวัน หลังเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดเฟรชเซลล์ หรือเซลล์สด โดยการส่งไปฉีดที่ประเทศเยอรมนี เพื่อหวังรักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบแล้วอาการทรุดลง ร่างกายส่วนขวาเกิดอาการชาและไม่มีแรง ว่า การฉีดเฟรชเซลล์ในประเทศไทยถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะไทยไม่มีการขึ้นทะเบียนตำรับยา "เฟรชเซลล์" รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สารสกัดจากรกแกะ โดยผิดในข้อหาใช้ยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
นพ.ปฐม กล่าวว่า สำหรับผู้ทำการฉีดที่ไม่ใช่แพทย์ ถือมีความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็จะผิด พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการผลิตเฟรชเซลล์ตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับคนไข้ของตนเอง ก็ต้องฟ้องไปยังแพทยสภา เพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป ในอนาคตอาจมีการยกร่างกฎหมายเฉพาะสำหรับการควบคุมเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อมิให้ประชาชนได้รับอันตรายจากการใช้บริการทางการแพทย์ในลักษณะดังกล่าว
เมื่อถามถึงข้อควรระวังในการฉีดเฟรชเซลล์ เนื่องจากบางประเทศไม่ได้มีกฎหมายห้าม นพ.ปฐม กล่าวว่า หากประชาชนต้องการฉีดเฟรชเซลล์เพื่อใช้รักษาโรคใดๆ ก็ตาม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าหลงเชื่อการโฆษณาสรรพคุณยาฉีด ซึ่งอ้างมาจากเซลล์สัตว์ เช่น แกะ เนื่องจากร่างกายมนุษย์จะเกิดปฏิกิริยาจากการได้รับสารแปลกปลอม และเกิดการต่อต้าน ทำลายสารแปลกปลอมนั้น ทำให้อาการแพ้ต่างๆ ขึ้น ความรุนแรงจะแตกต่างเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนรายที่ฉีดแล้วไม่เกิดอาการแพ้ อาจมาจากยาที่ฉีดไม่มีเซลล์ตามที่โฆษณากล่าวอ้าง อาจเป็นเพียงแค่สารที่ผ่านกระบวนการแล้ว และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้ เพราะไม่ทราบแน่ชัดว่าสารที่ได้รับคือสารอะไร ซึ่งอาจจะเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายกับโกรว์ธฮอร์โมนก็ได้
"ขอให้ประชาชนระมัดระวังอย่างมากเกี่ยวกับการฉีดสารแปลกปลอมใดๆ เข้าสู่ร่างกาย ควรป้องกันรักษาสุขภาพ ด้วยการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่เครียด มีสุขภาพกายและใจที่ดี" รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีนายสุรศักดิ์ พงษ์ศักดิ์ภักดี อายุ 72 ปี อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพรตพิทยพยัต เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับคลินิกแห่งหนึ่งย่านปทุมวัน หลังเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดเฟรชเซลล์ หรือเซลล์สด โดยการส่งไปฉีดที่ประเทศเยอรมนี เพื่อหวังรักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบแล้วอาการทรุดลง ร่างกายส่วนขวาเกิดอาการชาและไม่มีแรง ว่า การฉีดเฟรชเซลล์ในประเทศไทยถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะไทยไม่มีการขึ้นทะเบียนตำรับยา "เฟรชเซลล์" รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สารสกัดจากรกแกะ โดยผิดในข้อหาใช้ยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
นพ.ปฐม กล่าวว่า สำหรับผู้ทำการฉีดที่ไม่ใช่แพทย์ ถือมีความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็จะผิด พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการผลิตเฟรชเซลล์ตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับคนไข้ของตนเอง ก็ต้องฟ้องไปยังแพทยสภา เพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป ในอนาคตอาจมีการยกร่างกฎหมายเฉพาะสำหรับการควบคุมเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อมิให้ประชาชนได้รับอันตรายจากการใช้บริการทางการแพทย์ในลักษณะดังกล่าว
เมื่อถามถึงข้อควรระวังในการฉีดเฟรชเซลล์ เนื่องจากบางประเทศไม่ได้มีกฎหมายห้าม นพ.ปฐม กล่าวว่า หากประชาชนต้องการฉีดเฟรชเซลล์เพื่อใช้รักษาโรคใดๆ ก็ตาม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าหลงเชื่อการโฆษณาสรรพคุณยาฉีด ซึ่งอ้างมาจากเซลล์สัตว์ เช่น แกะ เนื่องจากร่างกายมนุษย์จะเกิดปฏิกิริยาจากการได้รับสารแปลกปลอม และเกิดการต่อต้าน ทำลายสารแปลกปลอมนั้น ทำให้อาการแพ้ต่างๆ ขึ้น ความรุนแรงจะแตกต่างเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนรายที่ฉีดแล้วไม่เกิดอาการแพ้ อาจมาจากยาที่ฉีดไม่มีเซลล์ตามที่โฆษณากล่าวอ้าง อาจเป็นเพียงแค่สารที่ผ่านกระบวนการแล้ว และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้ เพราะไม่ทราบแน่ชัดว่าสารที่ได้รับคือสารอะไร ซึ่งอาจจะเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายกับโกรว์ธฮอร์โมนก็ได้
"ขอให้ประชาชนระมัดระวังอย่างมากเกี่ยวกับการฉีดสารแปลกปลอมใดๆ เข้าสู่ร่างกาย ควรป้องกันรักษาสุขภาพ ด้วยการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่เครียด มีสุขภาพกายและใจที่ดี" รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่