เครือข่ายเภสัชฯ ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อกว่า 1 หมื่นรายชื่อต่อ “หมอรัชตะ” ทักท้วงร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ วอนชะลอการนำเข้าสู่การพิจารณา สนช. ชี้ชัดรายละเอียดอันตรายต่อประชาชน ทั้งแบ่งประเภทยาผิดหลักสากล เปิดช่องผสมยามั่ว บรรจุยาเสี่ยงไม่มีคุณภาพ ควรกลั่นกรองก่อน เสนอเข้าสู่การพิจารณาในรัฐบาลใหม่
วันนี้ (29 ก.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น. เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม ประกอบด้วย สภาเภสัชกรรม ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย กลุ่มเภสัชกรภาคใต้ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย และเภสัชกรจากหลายภาคส่วน และ 19 เครือข่ายวิชาชีพ นำโดย รศ.ภก.วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล ประธานศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) เดินทางมายื่นหนังสือพร้อมรายชื่อผู้ที่เห็นแย้งประมาณ 1 หมื่นรายชื่อ ต่อร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ต่อ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
รศ.ภก.วงศ์วิวัฒน์ แถลงก่อนยื่นหนังสือว่า เครือข่ายฯ เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... บางประเด็นไม่เป็นไปตามหลักสากล ประชาชนมีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยา และไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ จึงมีความเห็นแย้งในส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1. การแบ่งประเภทยา ซึ่งฉบับใหม่กำหนดเป็น 3 ประเภท คือ ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา ยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพหมายถึงทุกวิชาชีพด้านการแพทย์ และยาสามัญประจำบ้าน จึงขอให้แบ่งยาตามหลักสากลคือ ยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่เภสัชกรเป็นผู้สั่งจ่าย และยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง
รศ.ภก.วงศ์วิวัฒน์ กล่าวว่า 2. มีการเปิดช่องให้นำยาที่ขึ้นทะเบียนแล้วมาผสมตามหลักวิชา โดยผู้ประกอบวิชาชีพทุกวิชาชีพในสายการแพทย์ มีความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยของผู้ใช้ยา ทั้งนี้ ปกติแล้วการผสมยาที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะดำเนินการตอนที่มีการรักษาโรคในโรงพยาบาล เช่น การผสมยาฉีด 2 ตัวรวมกันเพื่อฉีดให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเป็นคนสั่งใช้ยา โดยมีพยาบาลเป็นคนผสมยาฉีดให้แก่ผู้ป่วย ตรงนี้สามารถทำได้ แต่หากเป็นยาอันตรายอย่างการรักษามะเร็งที่ต้องมีการผสมยา ก็จะให้เภสัชกรเป็นผู้ผสมยา แต่ร่างกฎหมายใหม่นี้จะเปิดโอกาสให้ผสมยากันได้ทั้งหมด และ 3. การแบ่งบรรจุยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับไว้แล้ว ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นการผลิตยา ผู้ผลิตต้องมีความรู้ทั้งคุณสมบัติของภาชนะที่บรรจุ ความร้อน ความชื้น แสง อากาศ ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพของยา
“การผสมยาใหม่เท่ากับเป็นการผลิตยาใหม่ แต่ผู้บริโภคกลับไม่สามารถรู้ชื่อยาและสรรพคุณยา ตรงนี้จะทำให้ผู้บริโภคเสียสิทธิ สุดท้ายหากแพ้ยาขึ้นมาก็จะไม่ทราบว่าเกิดจากยาอะไร และแพทย์ที่จะรักษาก็จะไม่ทราบ ทำให้การรักษาลำบากยิ่งขึ้น ซึ่งการยื่นหนังสือในครั้งนี้ก็เพื่อขอให้ สธ. ชะลอการนำร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ (สนช.) ซึ่งหากนำเข้าในช่วงนี้จะเกิดปัญหามากกว่าประโยชน์ และการแก้ไขกฎหมายในภายหลังเป็นเรื่องยาก จึงควรนำมากลั่นกรอง พิจารณาให้ละเอียดรอบคอบและถี่ถ้วนก่อน โดยอาจนำเข้าสู่การพิจารณาในช่วงที่มีรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะมีทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คือมี 2 สภาร่วมกันในการพิจารณาให้เกิดความรอบคอบและรัดกุมในการออกกฎหมาย” รศ.ภก.วงศ์วิวัฒน์ กล่าว
รศ.ภญ.จุไรรัตน์ นันทานิช อุปนายกเภสัชกรรมและคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ที่มีการแบ่งประเภทยาใหม่ ทำให้ร่างกฎหมายไม่ครอบคลุมการควบคุมการโฆษณายา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาควบคุมพิเศษและยาอันตราย ขณะที่ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มีการควบคุมการโฆษณาค่อนข้างครอบคลุม
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า จะรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มเภสัชกรก่อนที่จะนำมาพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (29 ก.ย.) เมื่อเวลา 15.00 น. เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม ประกอบด้วย สภาเภสัชกรรม ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย กลุ่มเภสัชกรภาคใต้ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย และเภสัชกรจากหลายภาคส่วน และ 19 เครือข่ายวิชาชีพ นำโดย รศ.ภก.วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล ประธานศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) เดินทางมายื่นหนังสือพร้อมรายชื่อผู้ที่เห็นแย้งประมาณ 1 หมื่นรายชื่อ ต่อร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ต่อ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
รศ.ภก.วงศ์วิวัฒน์ แถลงก่อนยื่นหนังสือว่า เครือข่ายฯ เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... บางประเด็นไม่เป็นไปตามหลักสากล ประชาชนมีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยา และไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ จึงมีความเห็นแย้งในส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1. การแบ่งประเภทยา ซึ่งฉบับใหม่กำหนดเป็น 3 ประเภท คือ ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา ยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพหมายถึงทุกวิชาชีพด้านการแพทย์ และยาสามัญประจำบ้าน จึงขอให้แบ่งยาตามหลักสากลคือ ยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่เภสัชกรเป็นผู้สั่งจ่าย และยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง
รศ.ภก.วงศ์วิวัฒน์ กล่าวว่า 2. มีการเปิดช่องให้นำยาที่ขึ้นทะเบียนแล้วมาผสมตามหลักวิชา โดยผู้ประกอบวิชาชีพทุกวิชาชีพในสายการแพทย์ มีความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยของผู้ใช้ยา ทั้งนี้ ปกติแล้วการผสมยาที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะดำเนินการตอนที่มีการรักษาโรคในโรงพยาบาล เช่น การผสมยาฉีด 2 ตัวรวมกันเพื่อฉีดให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเป็นคนสั่งใช้ยา โดยมีพยาบาลเป็นคนผสมยาฉีดให้แก่ผู้ป่วย ตรงนี้สามารถทำได้ แต่หากเป็นยาอันตรายอย่างการรักษามะเร็งที่ต้องมีการผสมยา ก็จะให้เภสัชกรเป็นผู้ผสมยา แต่ร่างกฎหมายใหม่นี้จะเปิดโอกาสให้ผสมยากันได้ทั้งหมด และ 3. การแบ่งบรรจุยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับไว้แล้ว ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นการผลิตยา ผู้ผลิตต้องมีความรู้ทั้งคุณสมบัติของภาชนะที่บรรจุ ความร้อน ความชื้น แสง อากาศ ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพของยา
“การผสมยาใหม่เท่ากับเป็นการผลิตยาใหม่ แต่ผู้บริโภคกลับไม่สามารถรู้ชื่อยาและสรรพคุณยา ตรงนี้จะทำให้ผู้บริโภคเสียสิทธิ สุดท้ายหากแพ้ยาขึ้นมาก็จะไม่ทราบว่าเกิดจากยาอะไร และแพทย์ที่จะรักษาก็จะไม่ทราบ ทำให้การรักษาลำบากยิ่งขึ้น ซึ่งการยื่นหนังสือในครั้งนี้ก็เพื่อขอให้ สธ. ชะลอการนำร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ (สนช.) ซึ่งหากนำเข้าในช่วงนี้จะเกิดปัญหามากกว่าประโยชน์ และการแก้ไขกฎหมายในภายหลังเป็นเรื่องยาก จึงควรนำมากลั่นกรอง พิจารณาให้ละเอียดรอบคอบและถี่ถ้วนก่อน โดยอาจนำเข้าสู่การพิจารณาในช่วงที่มีรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะมีทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คือมี 2 สภาร่วมกันในการพิจารณาให้เกิดความรอบคอบและรัดกุมในการออกกฎหมาย” รศ.ภก.วงศ์วิวัฒน์ กล่าว
รศ.ภญ.จุไรรัตน์ นันทานิช อุปนายกเภสัชกรรมและคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ที่มีการแบ่งประเภทยาใหม่ ทำให้ร่างกฎหมายไม่ครอบคลุมการควบคุมการโฆษณายา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาควบคุมพิเศษและยาอันตราย ขณะที่ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มีการควบคุมการโฆษณาค่อนข้างครอบคลุม
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า จะรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มเภสัชกรก่อนที่จะนำมาพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่