สภาเภสัชกรรมท้วง ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ ชี้เปิดช่องหลากวิชาชีพ “แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สัตวแพทย์ นักกายภาพบำบัด” สั่งจ่ายยาได้เอง ระบุก้าวล่วงวิชาชีพเภสัชกร หวั่นขยายวงปัญหาแพทย์ในคลินิกสั่งจ่ายยาเอง ทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ วอน สธ. ทบทวนใหม่
ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า สภาเภสัชกรรมได้ทำหนังสือยื่นต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเสนอความเห็นแย้งร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ซึ่งขณะนี้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว โดยไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับบทบัญญัติการแบ่งประเภทยา ซึ่งพบว่ามีการแบ่งเป็น 1. ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา 2. ยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด เป็นต้น และ 3. ยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งต่างจาก พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ที่แบ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ คือ ยาที่เภสัชกรจ่ายได้ต่อเมื่อมีใบสั่งแพทย์ ยาอันตราย คือ ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตราย คือ ยาที่แพทย์ พยาบาล สามารถสั่งจ่ายได้เอง และยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป
ภก.กิตติ กล่าวว่า การกำหนดให้แต่ละวิชาชีพสามารถสั่งจ่ายเองได้ โดยยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตขายยาจะทำให้เกิดปัญหา อย. จะติดตามกำกับดูแลได้ยากลำบาก ที่สำคัญยังเป็นการก้าวล่วงวิชาชีพของเภสัชกร ซึ่งการแก้ไขกฎหมายควรพัฒนาขึ้นให้เป็นระบบสากล คือ การขายยาเป็นหน้าที่ของเภสัชกร ส่วนการรักษาและวินิจฉัยว่าควรใช้ยาอะไรในการรักษาเป็นของแพทย์ ซึ่งเป็นที่มาของการแบ่ง 2 วิชาชีพนี้ออกจากกัน แต่มีการทำงานร่วมกัน โดยเภสัชกรจะช่วยดูในเรื่องของขนาดยา และการใช้ยาไม่พึงประสงค์ด้วย ที่สำคัญคือต้องรู้ขอบเขตอำนาจการทำงานของตัวเอง คือ ยาอะไรที่เภสัชกรสามารถสั่งจ่ายได้ด้วยตัวเอง หรือสั่งจ่ายได้ต่อเมื่อมีใบสั่งแพทย์ ส่วนแพทย์ก็ต้องทำตามระบบคือวินิจฉัยโรคแล้วเขียนใบสั่งให้แก่ผู้ป่วย
“ในโรงพยาบาลไม่มีปัญหาเพราะเป็นไปตามระบบอยู่แล้ว ที่เป็นปัญหาคือคลินิก เพราะ พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ยกเว้นให้แพทย์ ทันตแพทย สัตวแพทย์ ที่เปิดคลินิกสามารถขายยาได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตขายยา ซึ่งจริงๆ แล้วยาที่ขายได้ในคลินิกมีเพียงยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายเท่านั้น แต่ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการจ่ายยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษในคลินิกเอง โดยไม่ออกใบสั่งยาให้ผู้ป่วยไปซื้อจากเภสัชกรในร้านขายยา ทั้งที่เป็นยาที่เภสัชกรต้องเป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ปัญหาเหล่านี้เกิดจากในอดีตขาดแคลนเภสัชกร แพทย์จึงสั่งจ่ายยาเอง จนรู้สึกว่าตัวเองสามารถสั่งจ่ายยาได้เอง และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ทั้งที่จริงแล้ว การสั่งจ่ายยาถูกกำหนดชัดใน พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งหากร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ประกาศใช้ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเดิมทีก็ไม่มีการควบคุม ยิ่งขยายวงไปสู่วิชาชีพอื่นมากยิ่งขึ้น” นายกสภาเภสัชกรรม กล่าว
ภก.กิตติ กล่าวว่า หลังจากร่าง พ.ร.บ.ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วจะส่งกลับมาที่ สธ. ก็คงต้องขอให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่ เพราะเห็นว่าจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างวิชาชีพมากขึ้น จึงอยากให้ออกกฎหมายโดยยึดความเคารพใน พ.ร.บ.วิชาชีพของแต่ละวิชาชีพเป็นหลัก เพื่อแบ่งหน้าที่กันทำงานให้ชัดเจน และเป็นระบบตามหลักสากล
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า สภาเภสัชกรรมได้ทำหนังสือยื่นต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเสนอความเห็นแย้งร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ซึ่งขณะนี้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว โดยไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับบทบัญญัติการแบ่งประเภทยา ซึ่งพบว่ามีการแบ่งเป็น 1. ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา 2. ยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด เป็นต้น และ 3. ยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งต่างจาก พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ที่แบ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ คือ ยาที่เภสัชกรจ่ายได้ต่อเมื่อมีใบสั่งแพทย์ ยาอันตราย คือ ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตราย คือ ยาที่แพทย์ พยาบาล สามารถสั่งจ่ายได้เอง และยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป
ภก.กิตติ กล่าวว่า การกำหนดให้แต่ละวิชาชีพสามารถสั่งจ่ายเองได้ โดยยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตขายยาจะทำให้เกิดปัญหา อย. จะติดตามกำกับดูแลได้ยากลำบาก ที่สำคัญยังเป็นการก้าวล่วงวิชาชีพของเภสัชกร ซึ่งการแก้ไขกฎหมายควรพัฒนาขึ้นให้เป็นระบบสากล คือ การขายยาเป็นหน้าที่ของเภสัชกร ส่วนการรักษาและวินิจฉัยว่าควรใช้ยาอะไรในการรักษาเป็นของแพทย์ ซึ่งเป็นที่มาของการแบ่ง 2 วิชาชีพนี้ออกจากกัน แต่มีการทำงานร่วมกัน โดยเภสัชกรจะช่วยดูในเรื่องของขนาดยา และการใช้ยาไม่พึงประสงค์ด้วย ที่สำคัญคือต้องรู้ขอบเขตอำนาจการทำงานของตัวเอง คือ ยาอะไรที่เภสัชกรสามารถสั่งจ่ายได้ด้วยตัวเอง หรือสั่งจ่ายได้ต่อเมื่อมีใบสั่งแพทย์ ส่วนแพทย์ก็ต้องทำตามระบบคือวินิจฉัยโรคแล้วเขียนใบสั่งให้แก่ผู้ป่วย
“ในโรงพยาบาลไม่มีปัญหาเพราะเป็นไปตามระบบอยู่แล้ว ที่เป็นปัญหาคือคลินิก เพราะ พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ยกเว้นให้แพทย์ ทันตแพทย สัตวแพทย์ ที่เปิดคลินิกสามารถขายยาได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตขายยา ซึ่งจริงๆ แล้วยาที่ขายได้ในคลินิกมีเพียงยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายเท่านั้น แต่ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการจ่ายยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษในคลินิกเอง โดยไม่ออกใบสั่งยาให้ผู้ป่วยไปซื้อจากเภสัชกรในร้านขายยา ทั้งที่เป็นยาที่เภสัชกรต้องเป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ปัญหาเหล่านี้เกิดจากในอดีตขาดแคลนเภสัชกร แพทย์จึงสั่งจ่ายยาเอง จนรู้สึกว่าตัวเองสามารถสั่งจ่ายยาได้เอง และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ทั้งที่จริงแล้ว การสั่งจ่ายยาถูกกำหนดชัดใน พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งหากร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ประกาศใช้ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเดิมทีก็ไม่มีการควบคุม ยิ่งขยายวงไปสู่วิชาชีพอื่นมากยิ่งขึ้น” นายกสภาเภสัชกรรม กล่าว
ภก.กิตติ กล่าวว่า หลังจากร่าง พ.ร.บ.ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วจะส่งกลับมาที่ สธ. ก็คงต้องขอให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่ เพราะเห็นว่าจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างวิชาชีพมากขึ้น จึงอยากให้ออกกฎหมายโดยยึดความเคารพใน พ.ร.บ.วิชาชีพของแต่ละวิชาชีพเป็นหลัก เพื่อแบ่งหน้าที่กันทำงานให้ชัดเจน และเป็นระบบตามหลักสากล
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่