รมช.สธ.ยก สสส.ต้นแบบอาเซียน ส่งเสริมป้องกันโรค-กลไกคุมยาสูบ ระบุโรคจากบุหรี่ทำอาเซียน แบกรับค่ารักษาเพิ่ม 13.7 ขณะที่ 8 ประเทศเร่งพัฒนากลไกด้านงบประมาณที่ยั่งยืน รองรับขับเคลื่อนข้อตกลงควบคุมยาสูบในภูมิภาค
วันนี้ (25 ก.ย.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการภูมิภาคอาเซียน เรื่องระบบงบประมาณที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการควบคุมยาสูบ (ASEAN Regional Workshop on Sustainable Funding for Tobacco Control) จัดโดยมูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่(Southeast Asia Tobacco Control Alliance-SEATCA) ร่วมกับ สสส. มีผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง องค์การปกครองระดับท้องถิ่น นักวิชาการ จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้8 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และ สิงคโปร์ ตลอดจนผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรนานาชาติ อาทิ องค์การอนามัยโลก ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก (WHO-WPRO) และ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เข้าร่วมกว่า 80 คน มาจาก
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การส่งเสริมสุขภาพและการส่งเสริมป้องกันโรคเป็นสิ่งที่ทุกประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะหากมุ่งเน้นแต่เฉพาะเรื่องการรักษาโรคจะส่งผลต่อระบบการเงิน ซึ่งประเทศไทยนับว่าโชคดีที่มีการตั้งสสส.มากว่า10ปี โดยได้รับงบประมาณจากภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เป็นเงินประมาณปีละราว3,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานค่อนข้างมีความโดดเด่น ได้แก่ 1.ใช้งบประมาณไม่มาแต่สามารถทำให้คนในสังคมตื่นตัวและสนใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น และไม่ได้ดำเนินแต่เฉพาะเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในเรื่องอื่นๆด้วย รวมถึง มีนวัตกรรมเชิงวิธีการที่เชิญชวนคนมาทำงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน2.ไม่ดำเนินการผ่านระบบราชการ แต่เป็นการร่วมมือกันกับภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจและภาคส่วนต่างๆของสังคม และ 3.มีการจัดการ ดูแลและตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างรัดกุม ด้วยจุดเด่นทั้งหมดนี้ทำให้สสส.ไทยเป็นตัวอย่างในการดำเนินการเรื่องส่งเสริมป้องกันโรคให้ประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งจะนำมาสู่การทำงานร่วมกัน
“ในปี2558ที่จะเข้าสู่สังคมอาเซียน ในส่วนของสังคมและวัฒนธรรมนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีข้อตกลงร่วมกันในการที่จะควบคุมการบริโภคยาสูบ ซึ่งจะมีทั้งมาตรการด้านภาษียาสูบ การจัดตั้งกองทุนสสส.ในประเทศต่างๆ ปัจจุบันประเทศลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนามมีการจัดตั้งกองทุนสสส.แล้ว โดยกลไก รูปแบบการดำเนินงานในแต่ละประเทศอาจจะมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ และมาตรการอื่นๆ อาทิ คำเตือนบนซองบุหรี่ เป็นต้น โดยจะมีการประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อน”นพ.สมศักดิ์กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า บุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิต และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญเชื่อมโยงกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากยาสูบมากถึง6 ล้านคนทั่วโลก และคาดการณ์ว่าในปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตจากยาสูบเพิ่มขึ้นถึง8 ล้านคนต่อปี หากไม่มีการดำเนินการเร่งด่วนระงับการระบาดของยาสูบ ซึ่งกลุ่มประเทศที่รายได้น้อยและปานกลาง ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากยาสูบที่สูงมาก เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากยาสูบสูงขึ้น 1.2-13.7เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากภาษียาสูบที่รัฐบาลได้รับ
น.ส.บังอร ฤทธิภักดี ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่ กล่าวว่า สสส. มีงบประมาณบริหารกองทุนมาจากภาษีสรรพสามิตจากสุราและยาสูบ2%ซึ่งถือเป็นกลไกการเงินการคลังที่ยั่งยืนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ มีผลการดำเนินงาน มีแนวปฏิบัติที่โดด ที่เป็นต้นแบบของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ทั้งนี้ การสร้างเสริมสุขภาพ และการควบคุมการบริโภคยาสูบถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกประเทศ จากประสบการณ์ของประเทศไทย ที่มีการเก็บภาษีเพิ่มเติมจากอุตสาหกรรมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แสดงกลไกที่ดีที่สุดบนพื้นฐานของหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพราะถือเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายด้านสุขภาพและรายรับทางการคลัง โดยไม่รบกวนงบประมาณปกติของรัฐบาลเพื่อการบริหารและพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ก.ย.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการภูมิภาคอาเซียน เรื่องระบบงบประมาณที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการควบคุมยาสูบ (ASEAN Regional Workshop on Sustainable Funding for Tobacco Control) จัดโดยมูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่(Southeast Asia Tobacco Control Alliance-SEATCA) ร่วมกับ สสส. มีผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง องค์การปกครองระดับท้องถิ่น นักวิชาการ จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้8 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และ สิงคโปร์ ตลอดจนผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรนานาชาติ อาทิ องค์การอนามัยโลก ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก (WHO-WPRO) และ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เข้าร่วมกว่า 80 คน มาจาก
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การส่งเสริมสุขภาพและการส่งเสริมป้องกันโรคเป็นสิ่งที่ทุกประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะหากมุ่งเน้นแต่เฉพาะเรื่องการรักษาโรคจะส่งผลต่อระบบการเงิน ซึ่งประเทศไทยนับว่าโชคดีที่มีการตั้งสสส.มากว่า10ปี โดยได้รับงบประมาณจากภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เป็นเงินประมาณปีละราว3,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานค่อนข้างมีความโดดเด่น ได้แก่ 1.ใช้งบประมาณไม่มาแต่สามารถทำให้คนในสังคมตื่นตัวและสนใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น และไม่ได้ดำเนินแต่เฉพาะเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในเรื่องอื่นๆด้วย รวมถึง มีนวัตกรรมเชิงวิธีการที่เชิญชวนคนมาทำงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน2.ไม่ดำเนินการผ่านระบบราชการ แต่เป็นการร่วมมือกันกับภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจและภาคส่วนต่างๆของสังคม และ 3.มีการจัดการ ดูแลและตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างรัดกุม ด้วยจุดเด่นทั้งหมดนี้ทำให้สสส.ไทยเป็นตัวอย่างในการดำเนินการเรื่องส่งเสริมป้องกันโรคให้ประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งจะนำมาสู่การทำงานร่วมกัน
“ในปี2558ที่จะเข้าสู่สังคมอาเซียน ในส่วนของสังคมและวัฒนธรรมนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีข้อตกลงร่วมกันในการที่จะควบคุมการบริโภคยาสูบ ซึ่งจะมีทั้งมาตรการด้านภาษียาสูบ การจัดตั้งกองทุนสสส.ในประเทศต่างๆ ปัจจุบันประเทศลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนามมีการจัดตั้งกองทุนสสส.แล้ว โดยกลไก รูปแบบการดำเนินงานในแต่ละประเทศอาจจะมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ และมาตรการอื่นๆ อาทิ คำเตือนบนซองบุหรี่ เป็นต้น โดยจะมีการประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อน”นพ.สมศักดิ์กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า บุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิต และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญเชื่อมโยงกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากยาสูบมากถึง6 ล้านคนทั่วโลก และคาดการณ์ว่าในปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตจากยาสูบเพิ่มขึ้นถึง8 ล้านคนต่อปี หากไม่มีการดำเนินการเร่งด่วนระงับการระบาดของยาสูบ ซึ่งกลุ่มประเทศที่รายได้น้อยและปานกลาง ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากยาสูบที่สูงมาก เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากยาสูบสูงขึ้น 1.2-13.7เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากภาษียาสูบที่รัฐบาลได้รับ
น.ส.บังอร ฤทธิภักดี ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่ กล่าวว่า สสส. มีงบประมาณบริหารกองทุนมาจากภาษีสรรพสามิตจากสุราและยาสูบ2%ซึ่งถือเป็นกลไกการเงินการคลังที่ยั่งยืนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ มีผลการดำเนินงาน มีแนวปฏิบัติที่โดด ที่เป็นต้นแบบของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ทั้งนี้ การสร้างเสริมสุขภาพ และการควบคุมการบริโภคยาสูบถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกประเทศ จากประสบการณ์ของประเทศไทย ที่มีการเก็บภาษีเพิ่มเติมจากอุตสาหกรรมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แสดงกลไกที่ดีที่สุดบนพื้นฐานของหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพราะถือเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายด้านสุขภาพและรายรับทางการคลัง โดยไม่รบกวนงบประมาณปกติของรัฐบาลเพื่อการบริหารและพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่