สปสช. ตั้งเป้าปี 2558 เพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยสิทธิบัตรทองอีก 10% ขยาย รพ.สต. สั่งจ่ายยาสมุนไพรเพิ่มจาก 5 รายการ เป็น 10 รายการ พร้อมพัฒนาหน่วยบริการแพทย์แผนไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 500 แห่ง
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช. มีนโยบายสนับสนุนการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทย จึงได้เริ่มจัดตั้ง “กองทุนแพทย์แผนไทย” ขึ้น ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วย และยังสนับสนุนการแพทย์แผนไทยให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์บริการแพทย์แผนไทย ได้แก่ บริการนวดไทย ทั้งการรับบริการในหน่วยบริการ และการบริการเชิงรุกในชุมชน บริการฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย อย่างเช่น การนวด อบ ประคบ ทับหม้อเกลือ แนะนำการดูแลหลังคลอด และยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ในปี 2558 นี้ สปสช. ยังคงเดินหน้าสนับสนุนการแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์แผนงานแพทย์แผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การเพิ่มศักยภาพบริการแพทย์แผนไทยควบคู่กับการบริการสาธารณสุข โดยกระจายไปยังหน่วยบริการทุกระดับ ที่เป็นการสร้างความมั่นคงด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ ปี 2558 นี้ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้อนุมัติงบบริการแพทย์แผนไทย 8.19 บาท/ต่อประชากร หรือ 398,083,140 บาทต่อปี
“ปี 2558 นี้ สปสช. ได้ตั้งเป้าหมายดำเนินงานที่เป็นการส่งเสริมงานด้านการแพทย์แผนไทย อาทิ ผู้มีสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้ารับบริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10, หน่วยบริการปฐมภูมิ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีแพทย์แผนไทยประจำและมีการสั่งจ่ายยาสมุนไพรอย่างน้อย 10 รายการ จากปี 2557 ที่กำหนดไว้เพียง 5 รายการ และการตั้งเป้าหน่วยบริการด้านการแพทย์แผนไทยที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 500 แห่ง เป็นต้น” ประธานบอร์ด สปสช. กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ผลการดำเนินงานกองทุนแพทย์แผนไทย กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่ามีผู้เข้ารับบริการเพิ่มและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2557 มีผู้เข้ารับบริการนวดไทยจำนวน 1,475,095 คน เข้ารับบริการ 3,343,703 ล้านครั้ง แม่หลังคลอดที่ได้รับการฟื้นฟูสุขภาพ 27,662 คน เข้ารับบริการ 97,375 ครั้ง และการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 90 รายการ ที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยปี 2557 ช่วง 3 ไตมาสแรก มีการสั่งจ่ายทั้งหมด 2,921,427 ครั้ง ทั้งนี้ยาสมุนไพรที่มีการสั่งใช้มากที่สุดได้แก่ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร พญายอ ประสะมะแว้ง มะขามแขก และรางจืด เป็นต้น
“เมื่อดูข้อมูลการเข้ารับบริการแพทย์แผนไทยของผู้มีสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าย้อนหลัง พบว่ามีจำนวนผู้เข้ารับบริการเพิ่มขึ้น จาก 510,751 คน หรือ 1,209,522 ครั้ง ในปี 2553 เพิ่มเป็น 6,747,843 ครั้ง หรือ 10,192,388 ครั้ง ในปี 2556 จะเห็นได้ว่า ในช่วง 3 ปีมีผู้รับบริการแพทย์แผนไทยขยายเพิ่มขึ้นถึงกว่า 6 ล้านคน หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 8 ล้านครั้ง สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนต่างเชื่อมั่นต่อการแพทย์แผนไทยที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทย ซึ่งช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันซึ่งส่วนหนึ่งเป็นยานำเข้า ช่วยลดค่าใช้จ่าย ซึ่ง สปสช. มีนโยบายสนับสนุนที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช. มีนโยบายสนับสนุนการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทย จึงได้เริ่มจัดตั้ง “กองทุนแพทย์แผนไทย” ขึ้น ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วย และยังสนับสนุนการแพทย์แผนไทยให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์บริการแพทย์แผนไทย ได้แก่ บริการนวดไทย ทั้งการรับบริการในหน่วยบริการ และการบริการเชิงรุกในชุมชน บริการฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย อย่างเช่น การนวด อบ ประคบ ทับหม้อเกลือ แนะนำการดูแลหลังคลอด และยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า ในปี 2558 นี้ สปสช. ยังคงเดินหน้าสนับสนุนการแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์แผนงานแพทย์แผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การเพิ่มศักยภาพบริการแพทย์แผนไทยควบคู่กับการบริการสาธารณสุข โดยกระจายไปยังหน่วยบริการทุกระดับ ที่เป็นการสร้างความมั่นคงด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ ปี 2558 นี้ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้อนุมัติงบบริการแพทย์แผนไทย 8.19 บาท/ต่อประชากร หรือ 398,083,140 บาทต่อปี
“ปี 2558 นี้ สปสช. ได้ตั้งเป้าหมายดำเนินงานที่เป็นการส่งเสริมงานด้านการแพทย์แผนไทย อาทิ ผู้มีสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้ารับบริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10, หน่วยบริการปฐมภูมิ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีแพทย์แผนไทยประจำและมีการสั่งจ่ายยาสมุนไพรอย่างน้อย 10 รายการ จากปี 2557 ที่กำหนดไว้เพียง 5 รายการ และการตั้งเป้าหน่วยบริการด้านการแพทย์แผนไทยที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 500 แห่ง เป็นต้น” ประธานบอร์ด สปสช. กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ผลการดำเนินงานกองทุนแพทย์แผนไทย กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่ามีผู้เข้ารับบริการเพิ่มและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2557 มีผู้เข้ารับบริการนวดไทยจำนวน 1,475,095 คน เข้ารับบริการ 3,343,703 ล้านครั้ง แม่หลังคลอดที่ได้รับการฟื้นฟูสุขภาพ 27,662 คน เข้ารับบริการ 97,375 ครั้ง และการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 90 รายการ ที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยปี 2557 ช่วง 3 ไตมาสแรก มีการสั่งจ่ายทั้งหมด 2,921,427 ครั้ง ทั้งนี้ยาสมุนไพรที่มีการสั่งใช้มากที่สุดได้แก่ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร พญายอ ประสะมะแว้ง มะขามแขก และรางจืด เป็นต้น
“เมื่อดูข้อมูลการเข้ารับบริการแพทย์แผนไทยของผู้มีสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าย้อนหลัง พบว่ามีจำนวนผู้เข้ารับบริการเพิ่มขึ้น จาก 510,751 คน หรือ 1,209,522 ครั้ง ในปี 2553 เพิ่มเป็น 6,747,843 ครั้ง หรือ 10,192,388 ครั้ง ในปี 2556 จะเห็นได้ว่า ในช่วง 3 ปีมีผู้รับบริการแพทย์แผนไทยขยายเพิ่มขึ้นถึงกว่า 6 ล้านคน หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 8 ล้านครั้ง สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนต่างเชื่อมั่นต่อการแพทย์แผนไทยที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทย ซึ่งช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันซึ่งส่วนหนึ่งเป็นยานำเข้า ช่วยลดค่าใช้จ่าย ซึ่ง สปสช. มีนโยบายสนับสนุนที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่