พบล้างผัก เครื่องเคียงด้วยน้ำใบบัวบก ลดเชื้อโรคได้ดีกว่าน้ำสะอาดเท่าตัว มีสารกลุ่มไตรเทอปินอยด์ กลัยโคไซด์ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ช่วยป้องกันการเกิดอุจจาระร่วง
นายสามารถ สุวรรณภักดี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านหัวคู อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเสนอผลการวิจัย เรื่อง “ประสิทธิภาพผลการลดเชื้อ อีโคไล (Escherichia coli) ในผักเครื่องเคียงพร้อมบริโภค โดยการล้างด้วยน้ำบัวบก ซึ่งได้ทำการเก็บตัวอย่างผักสดเครื่องเคียงในร้านอาหาร เช่น แตงกวา ใบมันปู กะหล่ำปลี มาทดสอบด้วยชุดทดสอบน้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) ตามมาตรฐานของกรมอนามัย ผลปรากฏว่า ตรวจพบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย มากสุดในแตงกวา ร้อยละ 94 กะหล่ำปลี ร้อยละ 89 ใบมันปูและถั่วงอก พบร้อยละ 83 ซึ่งหากผู้ที่รับประทานผักที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนจำนวนมาก หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อโรคเหล่านี้ จะไปเกาะติดกับผนังลำไส้จะสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
นายสามารถ กล่าวอีกว่า การ ใช้น้ำใบบัวบกนำมาล้างผักเครื่องเคียง สามารถลดเชื้อที่ปนเปื้อนได้ดีกว่าน้ำสะอาดถึง 1.5 เท่า เนื่องจากในบัวบกมีสารกลุ่มไตรเทอปินอยด์ กลัยโคไซด์ (Triterphnoid glycosides) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ดี สำหรับขั้นตอนการล้างผักเครื่องเคียงนั้น ทำได้ง่ายมาก โดยให้นำใบบัวบกที่หาได้ตามท้องถิ่น มาต้มน้ำสุกจากนั้นใช้กระชอนกรองใบบัวบกออก แล้วนำน้ำบัวบกที่กรองแล้ว ไปล้างผักเครื่องเคียงอย่างน้อย 15 นาที แล้วกวนหลายๆ ครั้ง ก่อนบริโภค
“ผลการวิจัยนี้ จะนำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นที่นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เป็นการส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้เหมาะกับวิถีชีวิตเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้ออีโคไล ควบคู่กับการสร้างพฤติกรรมสุขลักษณะ ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร ทุกครั้ง รับประทานอาหารที่ทำให้สุกใหม่ และควรล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน เป็นต้น” นายสามารถ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายสามารถ สุวรรณภักดี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านหัวคู อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเสนอผลการวิจัย เรื่อง “ประสิทธิภาพผลการลดเชื้อ อีโคไล (Escherichia coli) ในผักเครื่องเคียงพร้อมบริโภค โดยการล้างด้วยน้ำบัวบก ซึ่งได้ทำการเก็บตัวอย่างผักสดเครื่องเคียงในร้านอาหาร เช่น แตงกวา ใบมันปู กะหล่ำปลี มาทดสอบด้วยชุดทดสอบน้ำยาตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) ตามมาตรฐานของกรมอนามัย ผลปรากฏว่า ตรวจพบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย มากสุดในแตงกวา ร้อยละ 94 กะหล่ำปลี ร้อยละ 89 ใบมันปูและถั่วงอก พบร้อยละ 83 ซึ่งหากผู้ที่รับประทานผักที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนจำนวนมาก หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อโรคเหล่านี้ จะไปเกาะติดกับผนังลำไส้จะสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
นายสามารถ กล่าวอีกว่า การ ใช้น้ำใบบัวบกนำมาล้างผักเครื่องเคียง สามารถลดเชื้อที่ปนเปื้อนได้ดีกว่าน้ำสะอาดถึง 1.5 เท่า เนื่องจากในบัวบกมีสารกลุ่มไตรเทอปินอยด์ กลัยโคไซด์ (Triterphnoid glycosides) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ดี สำหรับขั้นตอนการล้างผักเครื่องเคียงนั้น ทำได้ง่ายมาก โดยให้นำใบบัวบกที่หาได้ตามท้องถิ่น มาต้มน้ำสุกจากนั้นใช้กระชอนกรองใบบัวบกออก แล้วนำน้ำบัวบกที่กรองแล้ว ไปล้างผักเครื่องเคียงอย่างน้อย 15 นาที แล้วกวนหลายๆ ครั้ง ก่อนบริโภค
“ผลการวิจัยนี้ จะนำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นที่นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เป็นการส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้เหมาะกับวิถีชีวิตเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้ออีโคไล ควบคู่กับการสร้างพฤติกรรมสุขลักษณะ ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร ทุกครั้ง รับประทานอาหารที่ทำให้สุกใหม่ และควรล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน เป็นต้น” นายสามารถ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่