ศึกษาชัดเจน “คลอโรฟิลล์” ของใบบัวบก ช่วยลดสารพิษอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง ในทางเดินอาหารได้ แนะกินผักใบเขียว ช่วยลดเสี่ยงจากอาหารปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน
น.ส.อตินุช นารถน้ำพอง เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง “ผลของใบบัวบกต่ออะฟลาทอกซินบีหนึ่งในแบบจำลองทางเดินอาหาร” ภายในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ว่า การศึกษานี้ต้องการศึกษาการเกิดอันตรกิริยา ระหว่างอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง และสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบกในหลอดทดลอง และศึกษาผลของสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบกสด ใบบัวบกลวก และน้ำใบบัวบกต่ออะฟลาทอกซินบีหนึ่ง เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าสารสกัดคลอโรฟิลล์สามารถลดความเสี่ยงจากการรับสัมผัสอะฟลาทอกซินบีหนึ่งได้ทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าการกินผักสีเขียวสามารถลดความเสี่ยงจากการรับสัมผัสอะฟลาทอกซินบีหนึ่งได้หรือไม่
น.ส.อตินุช กล่าวว่า จากการศึกษาการเกิดอันตรกิริยาระหว่างอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง และสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบกโดยวัดการเปลี่ยนแปลงค่าสเปกตรัมเปล่งแสงที่ 370-560 นาโนเมตร ด้วยสเปกโตรฟลูโอโรมิเตอร์ เมื่อความเข้มข้นของอะฟลาทอกซินบีหนึ่งคงที่แต่เปลี่ยนแปลงความเข้มข้นสารสกัด ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณอะฟลาทอกซินบีหนึ่งในแบบจำลองทางเดินอาหารเมื่อมีสารสกัดผัก ผักสด ผักลวก และน้ำผักร่วมด้วย โดยสกัดอะฟลาทอกซินบีหนึ่งจากน้ำย่อยด้วยเทคนิคการสกัดด้วยตัวทำละลายและการสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็ง แล้วหาปริมาณด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง เชื่อมต่อกับเครื่องตรวจวัดชนิดฟลูออเรสเซนต์
น.ส.อตินุช กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่า ค่าสเปกตรัมเปล่งแสงของอะฟลาทอกซินบีหนึ่งลดลงเมื่อความเข้มข้นของสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบกเพิ่มขึ้น และผลการศึกษาในแบบจำลองทางเดินอาหาร พบว่าสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบก ใบบัวบกสด ใบบัวบกลวก และน้ำใบบัวบกสามารถลดปริมาณอะฟลาทอกซินบีหนึ่งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับสภาวะที่ไม่มีใบบัวบก แสดงให้เห็นว่าผักสีเขียวที่มีคลอโรฟิลล์ มีผลทำให้อะฟลาทอกซินบีหนึ่งในแบบจำลองทางเดินอาหารลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับสภาวะที่ไม่มีผักสีเขียว
"การกินผักสีเขียวเพิ่มขึ้นอาจช่วยลดการดูดซึมและลดความเสี่ยงจากการรับสัมผัสอาหารที่มีการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง ทั้งนี้ อะฟลาทอกซินบีหนึ่งเป็นสารพิษที่ผลิตจากชื้อรากลุ่ม Aspergillus ที่เจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื้น พบปนเปื้อนมากในถั่วลิสงและข้าวโพด มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเซลล์ตับในมนุษย์” น.ส.อตินุช กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.อตินุช นารถน้ำพอง เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง “ผลของใบบัวบกต่ออะฟลาทอกซินบีหนึ่งในแบบจำลองทางเดินอาหาร” ภายในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ว่า การศึกษานี้ต้องการศึกษาการเกิดอันตรกิริยา ระหว่างอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง และสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบกในหลอดทดลอง และศึกษาผลของสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบกสด ใบบัวบกลวก และน้ำใบบัวบกต่ออะฟลาทอกซินบีหนึ่ง เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าสารสกัดคลอโรฟิลล์สามารถลดความเสี่ยงจากการรับสัมผัสอะฟลาทอกซินบีหนึ่งได้ทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าการกินผักสีเขียวสามารถลดความเสี่ยงจากการรับสัมผัสอะฟลาทอกซินบีหนึ่งได้หรือไม่
น.ส.อตินุช กล่าวว่า จากการศึกษาการเกิดอันตรกิริยาระหว่างอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง และสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบกโดยวัดการเปลี่ยนแปลงค่าสเปกตรัมเปล่งแสงที่ 370-560 นาโนเมตร ด้วยสเปกโตรฟลูโอโรมิเตอร์ เมื่อความเข้มข้นของอะฟลาทอกซินบีหนึ่งคงที่แต่เปลี่ยนแปลงความเข้มข้นสารสกัด ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณอะฟลาทอกซินบีหนึ่งในแบบจำลองทางเดินอาหารเมื่อมีสารสกัดผัก ผักสด ผักลวก และน้ำผักร่วมด้วย โดยสกัดอะฟลาทอกซินบีหนึ่งจากน้ำย่อยด้วยเทคนิคการสกัดด้วยตัวทำละลายและการสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็ง แล้วหาปริมาณด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง เชื่อมต่อกับเครื่องตรวจวัดชนิดฟลูออเรสเซนต์
น.ส.อตินุช กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่า ค่าสเปกตรัมเปล่งแสงของอะฟลาทอกซินบีหนึ่งลดลงเมื่อความเข้มข้นของสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบกเพิ่มขึ้น และผลการศึกษาในแบบจำลองทางเดินอาหาร พบว่าสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบบัวบก ใบบัวบกสด ใบบัวบกลวก และน้ำใบบัวบกสามารถลดปริมาณอะฟลาทอกซินบีหนึ่งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับสภาวะที่ไม่มีใบบัวบก แสดงให้เห็นว่าผักสีเขียวที่มีคลอโรฟิลล์ มีผลทำให้อะฟลาทอกซินบีหนึ่งในแบบจำลองทางเดินอาหารลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับสภาวะที่ไม่มีผักสีเขียว
"การกินผักสีเขียวเพิ่มขึ้นอาจช่วยลดการดูดซึมและลดความเสี่ยงจากการรับสัมผัสอาหารที่มีการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง ทั้งนี้ อะฟลาทอกซินบีหนึ่งเป็นสารพิษที่ผลิตจากชื้อรากลุ่ม Aspergillus ที่เจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื้น พบปนเปื้อนมากในถั่วลิสงและข้าวโพด มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเซลล์ตับในมนุษย์” น.ส.อตินุช กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่