การจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2558 นั้น ล่าสุด คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีมติเมื่อวันที่ 22 ก.ย. ซึ่งมี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานบอร์ด สปสช. ว่า ในไตรมาสแรกนั้นให้ยึดตามหลักเกณฑ์การจัดสรรเดิมในปี 2557 ส่วนในไตรมาสสองนั้นให้คณะอนุการรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในบอร์ด สปสช. หารือให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน
สำหรับงบปี 2558 นั้นมีทั้งสิ้น 154,151.66 ล้านบาท เมื่อหักเงินเดือนภาครัฐขั้นปกติ 38,188.02 ล้านบาท จะเหลืองบกองทุน 114,963.64 ล้านบาท โดยจัดสรรตามเกณฑ์ปี 2557 คือ จัดสรรงบเป็น 6 หมวด ดังนี้
1. งบเหมาจ่ายรายหัวได้รับ 2,895.09 บาทต่อประชากร ซึ่งเท่ากับที่ได้รับในปี 2557 เมื่อคำนวณจากประชากรผู้มีสิทธิ์ 48,606,000 คน รวมเป็นงบเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมด 140,718.74 ล้านบาท โดยมีการแบ่งเป็น 9 รายการ ดังนี้
1.1 งบผู้ป่วยนอก 1,056.96 บาทต่อประชากร
1.2 งบผู้ป่วยใน 998.26 บาทต่อประชากร
1.3 งบกรณีเฉพาะ 301.01 บาทต่อประชากร
1.4 งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 383.61 บาทต่อประชากร
1.5 งบฟื้นฟูสมรรถภาพ 14.95 บาทต่อประชากร
1.6 งบแพทย์แผนไทย 8.19 บาทต่อประชากร
1.7 งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน 128.69 บาทต่อประชากร
1.8 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 3.32 บาทต่อประชากร
1.9 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการ 0.10 บาทต่อประชากร
2. งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 2,811.90 ล้านบาท ลดลง 135.10 ล้านบาท จากปี 2557 ที่ได้รับ 2,947 ล้านบาท
3. งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 5,247.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 68.42 ล้านบาท จากปี 2557 ที่ได้รับ 5,178.80 ล้านบาท
4. งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) 908.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 107.75 ล้านบาท จากปี 2557 ที่ได้รับ 801.24 ล้านบาท
5. ค่าบริการเพิ่มสำหรับสถานพยาบาลสังกัดสธ. ในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย 464.80 ล้านบาท ลดลง 435.20 บาท จากปี 2557 ที่ได้รับ 900 ล้านบาท เนื่องจากตัดพื้นที่ประชากรเบาบางออก
และ 6. ค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขสังกัดสธ.เฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม คงต้องมาจับตาดูกันว่าในไตรมาสสองนั้น การจัดสรรงบประมาณจะเป็นเช่นไร หลังจากมีการหารือในคณะอนุฯการเงินการคลัง บอร์ด สปสช. โดยเฉพาะในส่วนของงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งที่ผ่านมามีข้อโต้แย้งกันระหว่าง 2 หน่วยงานมาโดยตลอดทั้ง สธ. และ สปสช. แต่ล่าสุด นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า สธ.และ สปสช.ได้เห็นตรงกันแล้วว่าให้ส่งกรอบการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวไปที่คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) โดยเพิ่มกรอบวงเงินจาก 38% ของงบเหมาจ่ายรายหัว เป็น 83% ของงบเหมาจ่ายรายหัว เพื่อให้เขตรู้ภาพรวมของงบในการปรับเกลี่ยงบประมาณให้โรงพยาบาลในแต่ละพื้นที่ แล้วจึงให้ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางเพื่อโอนเงินไปยังหน่วยบริการโดยตรง เพราะ อปสข.ใกล้ชิดกับปัญหาในพื้นที่ และถือเป็นการกระจายอำนาจทั้งนี้ ใน อปสข. จะมีผู้ตรวจราชการ สธ. และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นตัวแทน สธ. เข้าร่วมด้วยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเข้าสู่เขตสุขภาพของ สธ. แต่ยังต้องหารืออีกครั้งภายใน 2 เดือนตามที่บอร์ด สปสช. กำหนด
หลังจากนี้ คงต้องมาดูกันว่าการจัดสรรงบรายหัว ข้อขัดแย้งประเด็นนี้ระหว่าง สธ. และ สปสช. จะยุติหรือไม่ รวมถึงสุดท้ายเม็ดเงินมหาศาลในการดูแลสุขภาพประชาชน สุดท้ายผลประโยชน์จะตกมาอยู่ที่ประชาชนจริงๆ หรือไม่?
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
สำหรับงบปี 2558 นั้นมีทั้งสิ้น 154,151.66 ล้านบาท เมื่อหักเงินเดือนภาครัฐขั้นปกติ 38,188.02 ล้านบาท จะเหลืองบกองทุน 114,963.64 ล้านบาท โดยจัดสรรตามเกณฑ์ปี 2557 คือ จัดสรรงบเป็น 6 หมวด ดังนี้
1. งบเหมาจ่ายรายหัวได้รับ 2,895.09 บาทต่อประชากร ซึ่งเท่ากับที่ได้รับในปี 2557 เมื่อคำนวณจากประชากรผู้มีสิทธิ์ 48,606,000 คน รวมเป็นงบเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมด 140,718.74 ล้านบาท โดยมีการแบ่งเป็น 9 รายการ ดังนี้
1.1 งบผู้ป่วยนอก 1,056.96 บาทต่อประชากร
1.2 งบผู้ป่วยใน 998.26 บาทต่อประชากร
1.3 งบกรณีเฉพาะ 301.01 บาทต่อประชากร
1.4 งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 383.61 บาทต่อประชากร
1.5 งบฟื้นฟูสมรรถภาพ 14.95 บาทต่อประชากร
1.6 งบแพทย์แผนไทย 8.19 บาทต่อประชากร
1.7 งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน 128.69 บาทต่อประชากร
1.8 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 3.32 บาทต่อประชากร
1.9 เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการ 0.10 บาทต่อประชากร
2. งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 2,811.90 ล้านบาท ลดลง 135.10 ล้านบาท จากปี 2557 ที่ได้รับ 2,947 ล้านบาท
3. งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 5,247.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 68.42 ล้านบาท จากปี 2557 ที่ได้รับ 5,178.80 ล้านบาท
4. งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) 908.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 107.75 ล้านบาท จากปี 2557 ที่ได้รับ 801.24 ล้านบาท
5. ค่าบริการเพิ่มสำหรับสถานพยาบาลสังกัดสธ. ในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย 464.80 ล้านบาท ลดลง 435.20 บาท จากปี 2557 ที่ได้รับ 900 ล้านบาท เนื่องจากตัดพื้นที่ประชากรเบาบางออก
และ 6. ค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขสังกัดสธ.เฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม คงต้องมาจับตาดูกันว่าในไตรมาสสองนั้น การจัดสรรงบประมาณจะเป็นเช่นไร หลังจากมีการหารือในคณะอนุฯการเงินการคลัง บอร์ด สปสช. โดยเฉพาะในส่วนของงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งที่ผ่านมามีข้อโต้แย้งกันระหว่าง 2 หน่วยงานมาโดยตลอดทั้ง สธ. และ สปสช. แต่ล่าสุด นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า สธ.และ สปสช.ได้เห็นตรงกันแล้วว่าให้ส่งกรอบการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวไปที่คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) โดยเพิ่มกรอบวงเงินจาก 38% ของงบเหมาจ่ายรายหัว เป็น 83% ของงบเหมาจ่ายรายหัว เพื่อให้เขตรู้ภาพรวมของงบในการปรับเกลี่ยงบประมาณให้โรงพยาบาลในแต่ละพื้นที่ แล้วจึงให้ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางเพื่อโอนเงินไปยังหน่วยบริการโดยตรง เพราะ อปสข.ใกล้ชิดกับปัญหาในพื้นที่ และถือเป็นการกระจายอำนาจทั้งนี้ ใน อปสข. จะมีผู้ตรวจราชการ สธ. และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นตัวแทน สธ. เข้าร่วมด้วยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเข้าสู่เขตสุขภาพของ สธ. แต่ยังต้องหารืออีกครั้งภายใน 2 เดือนตามที่บอร์ด สปสช. กำหนด
หลังจากนี้ คงต้องมาดูกันว่าการจัดสรรงบรายหัว ข้อขัดแย้งประเด็นนี้ระหว่าง สธ. และ สปสช. จะยุติหรือไม่ รวมถึงสุดท้ายเม็ดเงินมหาศาลในการดูแลสุขภาพประชาชน สุดท้ายผลประโยชน์จะตกมาอยู่ที่ประชาชนจริงๆ หรือไม่?
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่