ภาคประชาชนรวมตัวค้านข้อเสนอ สธ. เปลี่ยนวิธีจ่ายเงินบัตรทอง จากโรงพยาบาลไปยังเขตสุขภาพ ซ้ำร้ายปรับค่าเหมาจ่ายรายหัวเหลือเพียง 4 หมวด และยุบกองทุนโรคเรื้อรัง-ค่าใช้จ่ายสูง ชี้กระทบผู้ป่วย ประชาชนโดยตรง รพ.เลี่ยงปฏิเสธการรักษา
วันนี้ (28 ส.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธาน ได้มีวาระพิจารณาข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558 โดยเสนอให้ปรับวิธีจ่ายเงินงบประมาณเป็นแบบรวมศูนย์ไปที่เขตบริการสุขภาพ และปรับงบเหมาจ่ายรายหัวใหม่ แต่ต้องยกเลิกวาระนี้ไป เนื่องจากตัวแทนฝั่ง สธ.ไม่ได้เข้าร่วมการประชุม
ทั้งนี้ ระหว่างการประชุมได้มีตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกัน พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เครือข่ายผู้ป่วย และชมรมแพทย์ชนบท เดินทางมาที่ สปสช. โดยมี นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เป็นตัวแทนยื่นหนังสือคัดค้านข้อเสนอดังกล่าวต่อประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง โดย นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า จากข้อเสนอของ สธ. ให้เปลี่ยนวิธีการจ่ายงบประมาณไปยังเขตบริการสุขภาพ ซึ่งจากเดิมต้องจ่ายไปยังหน่วยบริการโดยตรง และเสนอให้ปรับงบเหมาจ่ายรายหัวให้เหลือเพียง 4 หมวด คือ งบผู้ป่วยนอก งบผู้ป่วยใน งบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และงบกองทุนตามมาตรา 41 จากเดิมที่มีอยู่ 9 หมวด โดยยุบกองทุนโรคเรื้อรังและกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต มะเร็ง และเอดส์ ไปรวมอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัวด้วยนั้น มองว่าไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยและประชาชนโดยตรง
“ หากไม่มีกองทุนไต มะเร็ง และเอชไอวี จะเกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย ซึ่งข้อเสนอเช่นนี้ถือว่าเป็นการเอาประชาชนเป็นตัวประกัน อีกทั้งยังทำให้โรงพยาบาลที่ต้องบริหารงบประมาณอย่างคุ้มค่าและคุ้มทุนที่สุดนั้น เมื่อไม่มีงบค่ารักษาเฉพาะตรงนี้ก็จะลังเลในการให้บริการผู้ป่วย และอาจเกิดการปฏิเสธการรักษาขึ้น จึงอยากให้มีการยกเลิกข้อเสนอดังกล่าว ทั้งนี้ หากไม่ยกเลิกข้อเสนอดังกล่าวจะยกระดับโดยการรวมตัวผู้ป่วยมาคัดค้านที่กระทรวงสาธารณสุข ” นายอภิวัฒน์ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ข้อเสนอของ สธ. ที่ต้องการโอนเงินไปยังเขตสุขภาพ โดยให้เขตเป็นผู้บริหารจัดการ และจัดสรรงบประมาณไปยังโรงพยาบาลต่างๆ จากเดิมที่งบส่งตรงไปยังหน่วยบริการ ทำให้การจัดสรรงบมีลักษณะเป็นคอขวด งบส่งลงไปไม่ถึงพื้นที่ และเป็นการเปิดช่องให้เกิดการคอร์รัปชัน เนื่องจากมีการตรวจสอบยาก ที่สำคัญไม่มีความชัดเจนในระบบบริหารว่ายังคงกระจายงบประมาณโดยคิดตามรายหัวประชากรหรือไม่ หากไม่ได้คิดตามหัวประชากรจะใช้หลักเกณฑ์ใดในการกระจายงบประมาณ รวมถึงหน่วยบริการที่มีขนาดแตกต่างกันจะได้รับการกระจายงบประมาณอย่างไร
“ ปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนมาจากความคิดการบริหารของกระทรวง ซึ่งมีปลัด สธ. เป็นผู้กำหนด เห็นได้ชัดว่า ปลัด สธ. คนนี้ไม่เคยหยุดท่าทีในการใช้ชาวบ้านเป็นตัวประกัน ทำให้ประชาชนเสียผลประโยชน์ ขนาดเป็นปลัด ยังเป็นขนาดนี้ หากเป็นรัฐมนตรี สธ. จะเป็นขนาดไหน คงต้องแต่งชุดดำประท้วงทั่วประเทศ ” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
ด้าน ดร.คณิศ กล่าวว่า การปรับวิธีการจัดสรรเงินเป็นข้อเสนอของกระทรวง แต่เนื่องจากการประชุมครั้งนี้ไม่มีผู้แทนจาก สธ. เข้ามาร่วมประชุม จึงยังไม่มีการหารือในประเด็นนี้ต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญจะต้องพิจารณาจากข้อมูลที่ครบถ้วน เมื่อผู้เสนอไม่ได้มาชี้แจงรายละเอียดทำให้ที่ประชุมไม่รับทราบข้อมูล จึงยังไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (28 ส.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธาน ได้มีวาระพิจารณาข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558 โดยเสนอให้ปรับวิธีจ่ายเงินงบประมาณเป็นแบบรวมศูนย์ไปที่เขตบริการสุขภาพ และปรับงบเหมาจ่ายรายหัวใหม่ แต่ต้องยกเลิกวาระนี้ไป เนื่องจากตัวแทนฝั่ง สธ.ไม่ได้เข้าร่วมการประชุม
ทั้งนี้ ระหว่างการประชุมได้มีตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกัน พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เครือข่ายผู้ป่วย และชมรมแพทย์ชนบท เดินทางมาที่ สปสช. โดยมี นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เป็นตัวแทนยื่นหนังสือคัดค้านข้อเสนอดังกล่าวต่อประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง โดย นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า จากข้อเสนอของ สธ. ให้เปลี่ยนวิธีการจ่ายงบประมาณไปยังเขตบริการสุขภาพ ซึ่งจากเดิมต้องจ่ายไปยังหน่วยบริการโดยตรง และเสนอให้ปรับงบเหมาจ่ายรายหัวให้เหลือเพียง 4 หมวด คือ งบผู้ป่วยนอก งบผู้ป่วยใน งบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และงบกองทุนตามมาตรา 41 จากเดิมที่มีอยู่ 9 หมวด โดยยุบกองทุนโรคเรื้อรังและกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต มะเร็ง และเอดส์ ไปรวมอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัวด้วยนั้น มองว่าไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยและประชาชนโดยตรง
“ หากไม่มีกองทุนไต มะเร็ง และเอชไอวี จะเกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย ซึ่งข้อเสนอเช่นนี้ถือว่าเป็นการเอาประชาชนเป็นตัวประกัน อีกทั้งยังทำให้โรงพยาบาลที่ต้องบริหารงบประมาณอย่างคุ้มค่าและคุ้มทุนที่สุดนั้น เมื่อไม่มีงบค่ารักษาเฉพาะตรงนี้ก็จะลังเลในการให้บริการผู้ป่วย และอาจเกิดการปฏิเสธการรักษาขึ้น จึงอยากให้มีการยกเลิกข้อเสนอดังกล่าว ทั้งนี้ หากไม่ยกเลิกข้อเสนอดังกล่าวจะยกระดับโดยการรวมตัวผู้ป่วยมาคัดค้านที่กระทรวงสาธารณสุข ” นายอภิวัฒน์ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ข้อเสนอของ สธ. ที่ต้องการโอนเงินไปยังเขตสุขภาพ โดยให้เขตเป็นผู้บริหารจัดการ และจัดสรรงบประมาณไปยังโรงพยาบาลต่างๆ จากเดิมที่งบส่งตรงไปยังหน่วยบริการ ทำให้การจัดสรรงบมีลักษณะเป็นคอขวด งบส่งลงไปไม่ถึงพื้นที่ และเป็นการเปิดช่องให้เกิดการคอร์รัปชัน เนื่องจากมีการตรวจสอบยาก ที่สำคัญไม่มีความชัดเจนในระบบบริหารว่ายังคงกระจายงบประมาณโดยคิดตามรายหัวประชากรหรือไม่ หากไม่ได้คิดตามหัวประชากรจะใช้หลักเกณฑ์ใดในการกระจายงบประมาณ รวมถึงหน่วยบริการที่มีขนาดแตกต่างกันจะได้รับการกระจายงบประมาณอย่างไร
“ ปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนมาจากความคิดการบริหารของกระทรวง ซึ่งมีปลัด สธ. เป็นผู้กำหนด เห็นได้ชัดว่า ปลัด สธ. คนนี้ไม่เคยหยุดท่าทีในการใช้ชาวบ้านเป็นตัวประกัน ทำให้ประชาชนเสียผลประโยชน์ ขนาดเป็นปลัด ยังเป็นขนาดนี้ หากเป็นรัฐมนตรี สธ. จะเป็นขนาดไหน คงต้องแต่งชุดดำประท้วงทั่วประเทศ ” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
ด้าน ดร.คณิศ กล่าวว่า การปรับวิธีการจัดสรรเงินเป็นข้อเสนอของกระทรวง แต่เนื่องจากการประชุมครั้งนี้ไม่มีผู้แทนจาก สธ. เข้ามาร่วมประชุม จึงยังไม่มีการหารือในประเด็นนี้ต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญจะต้องพิจารณาจากข้อมูลที่ครบถ้วน เมื่อผู้เสนอไม่ได้มาชี้แจงรายละเอียดทำให้ที่ประชุมไม่รับทราบข้อมูล จึงยังไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่