บอร์ด สปสช. เคาะงบรายหัวบัตรทองไตรมาสแรกปี 2558 จัดสรรตามเกณฑ์เดิม ให้เวลาหารือไตรมาส 2 ได้ข้อสรุปใน 2 เดือน ระบุเตรียมของบกลางปีเพิ่ม หากค่าบริการประชาชนไม่พอ หลังงบรายหัวได้เท่าเดิม ส่วนข้อขัดแย้ง สธ.- สปสช. พอเห็นทางออก หลังเห็นตรงกันเพิ่มกรอบวงเงินให้ อปสข. จัดสรรเป็น 83% จากเดิม 38% แต่ยังโอนเม็ดเงินให้หน่วยบริการโดยตรง
วันนี้ (22 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. โดยมีวาระในการพิจารณาเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558
ทั้งนี้ ศ.นพ.รัชตะ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบการจัดสรรงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2558 ในไตรมาสแรกให้ดำเนินการตามแนวทางเดิมเหมือนปีงบประมาณ 2557 ส่วนในไตรมาสสองให้คณะอนุกรรมการพัฒนาการระบบการเงินการคลัง ในบอร์ด สปสช. ซึ่งมีทั้งภาคส่วนของ สธ. สปสช. ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ไปหารือให้ได้ข้อสรุปใน 2 เดือน ว่าจะบริหารจัดการงบอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยข้อมูลที่เป็นจริง แล้วจึงเสนอบอร์ด สปสช. พิจารณา
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สำหรับงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2558 ซึ่งได้รับงบเท่าปี 2557 คือ 2,895.09 บาทต่อประชากร ไม่ได้เพิ่มขึ้นนั้น แต่ยังต้องให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและมาตรฐานตามเดิม คงต้องให้โรงพยาบาลปรับตัวบริหารจัดการงบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นดูก่อน เช่น ซื้อยาเป็นกลุ่มเพื่อต่อรองราคา เป็นต้น หากดำเนินการแล้วเห็นว่างบไม่เพียงพอต่อการบริการประชาชา ก็จะมีการของบกลางปีเพิ่มเติม แต่ต้องขอดูข้อมูลการให้บริการที่เกิดขึ้นจริงก่อนประมาณ 2 ไตรมาส แล้วจึงมาพิจารณา
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า แนวทางการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2558 จำนวน 140,718.74 ล้านบาท ทั้ง สธ. และ สปสช. เห็นร่วมกันว่าให้ส่งกรอบการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวไปที่คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) โดยเพิ่มกรอบวงเงินจาก 38% ของงบเหมาจ่ายรายหัว เป็น 83% ของงบเหมาจ่ายรายหัว เพื่อให้เขตรู้ภาพรวมของงบในการปรับเกลี่ยงบประมาณให้โรงพยาบาลในแต่ละพื้นที่ แล้วจึงให้ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางเพื่อโอนเงินไปยังหน่วยบริการโดยตรง เพราะ อปสข. ใกล้ชิดกับปัญหาในพื้นที่ และถือเป็นการกระจายอำนาจทั้งนี้ ใน อปสข. จะมีผู้ตรวจราชการ สธ. และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นตัวแทน สธ.เข้าร่วมด้วยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเข้าสู่เขตสุขภาพของ สธ. แต่ยังต้องหารืออีกครั้งภายใน 2 เดือนตามที่บอร์ด สปสช.กำหนด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช. มีผู้เสนอว่าต้องหาวิธีทำให้ระบบการเงินการคลังของกองทุนฯมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งการร่วมจ่ายเป็นอีกตัวอย่าง แต่เมื่อมีการพูดถึงก็เกิดการต่อต้านขึ้น ซึ่งคงต้องหาวิธีอื่น โดย ศ.นพ.รัชตะ เสนอในที่ประชุมให้คณะอนุกรรมการการเงินการคลังไปศึกษาหาแนวทาง เสนอบอร์ด สปสช. ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช. มีผู้เสนอว่าต้องหาวิธีทำให้ระบบการเงินการคลังของกองทุนฯมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งการร่วมจ่ายเป็นอีกตัวอย่าง แต่เมื่อมีการพูดถึงก็เกิดการต่อต้านขึ้น ซึ่งคงต้องหาวิธีอื่น โดย ศ.นพ.รัชตะ เสนอในที่ประชุมให้คณะอนุกรรมการการเงินการคลังไปศึกษาหาแนวทาง เสนอบอร์ด สปสช. ต่อไป
อนึ่ง การจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2558 ซึ่งในไตรมาสแรกให้ดำเนินการตามแนวทางเดิมในปี 2557 นั้น พบว่า การจัดสรรงบในปี 2557 แบ่งออกเป็น 6 หมวด ประกอบด้วย 1. งบเหมาจ่ายรายหัว แบ่งเป็นการ 9 รายการ คือ งบผู้ป่วยนอก งบผู้ป่วยใน งบกรณีเฉพาะ งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค งบฟื้นฟูสมรรถภาพ งบแพทย์แผนไทย งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 และเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการ 2. งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 3. งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4. งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) 5. ค่าบริการเพิ่มสำหรับสถานพยาบาลสังกัด สธ.ในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย 6. ค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขสังกัด สธ. เฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. โดยมีวาระในการพิจารณาเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558
ทั้งนี้ ศ.นพ.รัชตะ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบการจัดสรรงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2558 ในไตรมาสแรกให้ดำเนินการตามแนวทางเดิมเหมือนปีงบประมาณ 2557 ส่วนในไตรมาสสองให้คณะอนุกรรมการพัฒนาการระบบการเงินการคลัง ในบอร์ด สปสช. ซึ่งมีทั้งภาคส่วนของ สธ. สปสช. ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ไปหารือให้ได้ข้อสรุปใน 2 เดือน ว่าจะบริหารจัดการงบอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยข้อมูลที่เป็นจริง แล้วจึงเสนอบอร์ด สปสช. พิจารณา
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สำหรับงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2558 ซึ่งได้รับงบเท่าปี 2557 คือ 2,895.09 บาทต่อประชากร ไม่ได้เพิ่มขึ้นนั้น แต่ยังต้องให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและมาตรฐานตามเดิม คงต้องให้โรงพยาบาลปรับตัวบริหารจัดการงบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นดูก่อน เช่น ซื้อยาเป็นกลุ่มเพื่อต่อรองราคา เป็นต้น หากดำเนินการแล้วเห็นว่างบไม่เพียงพอต่อการบริการประชาชา ก็จะมีการของบกลางปีเพิ่มเติม แต่ต้องขอดูข้อมูลการให้บริการที่เกิดขึ้นจริงก่อนประมาณ 2 ไตรมาส แล้วจึงมาพิจารณา
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า แนวทางการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2558 จำนวน 140,718.74 ล้านบาท ทั้ง สธ. และ สปสช. เห็นร่วมกันว่าให้ส่งกรอบการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวไปที่คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) โดยเพิ่มกรอบวงเงินจาก 38% ของงบเหมาจ่ายรายหัว เป็น 83% ของงบเหมาจ่ายรายหัว เพื่อให้เขตรู้ภาพรวมของงบในการปรับเกลี่ยงบประมาณให้โรงพยาบาลในแต่ละพื้นที่ แล้วจึงให้ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางเพื่อโอนเงินไปยังหน่วยบริการโดยตรง เพราะ อปสข. ใกล้ชิดกับปัญหาในพื้นที่ และถือเป็นการกระจายอำนาจทั้งนี้ ใน อปสข. จะมีผู้ตรวจราชการ สธ. และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นตัวแทน สธ.เข้าร่วมด้วยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเข้าสู่เขตสุขภาพของ สธ. แต่ยังต้องหารืออีกครั้งภายใน 2 เดือนตามที่บอร์ด สปสช.กำหนด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช. มีผู้เสนอว่าต้องหาวิธีทำให้ระบบการเงินการคลังของกองทุนฯมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งการร่วมจ่ายเป็นอีกตัวอย่าง แต่เมื่อมีการพูดถึงก็เกิดการต่อต้านขึ้น ซึ่งคงต้องหาวิธีอื่น โดย ศ.นพ.รัชตะ เสนอในที่ประชุมให้คณะอนุกรรมการการเงินการคลังไปศึกษาหาแนวทาง เสนอบอร์ด สปสช. ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช. มีผู้เสนอว่าต้องหาวิธีทำให้ระบบการเงินการคลังของกองทุนฯมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งการร่วมจ่ายเป็นอีกตัวอย่าง แต่เมื่อมีการพูดถึงก็เกิดการต่อต้านขึ้น ซึ่งคงต้องหาวิธีอื่น โดย ศ.นพ.รัชตะ เสนอในที่ประชุมให้คณะอนุกรรมการการเงินการคลังไปศึกษาหาแนวทาง เสนอบอร์ด สปสช. ต่อไป
อนึ่ง การจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2558 ซึ่งในไตรมาสแรกให้ดำเนินการตามแนวทางเดิมในปี 2557 นั้น พบว่า การจัดสรรงบในปี 2557 แบ่งออกเป็น 6 หมวด ประกอบด้วย 1. งบเหมาจ่ายรายหัว แบ่งเป็นการ 9 รายการ คือ งบผู้ป่วยนอก งบผู้ป่วยใน งบกรณีเฉพาะ งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค งบฟื้นฟูสมรรถภาพ งบแพทย์แผนไทย งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 และเงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการ 2. งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 3. งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4. งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) 5. ค่าบริการเพิ่มสำหรับสถานพยาบาลสังกัด สธ.ในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย 6. ค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขสังกัด สธ. เฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่