นักวิชาการระบบหลักประกันสุขภาพเบลเยี่ยม ชื่นชมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย บริหารจัดการภายใต้งบที่จำกัดได้ดีเยี่ยมดึงคนไทยเข้าถึงการรักษา ชูเป็นต้นแบบสร้างระบบหลักประกันสุขภาพให้กับนานาประเทศ พร้อมแนะรวมบริหาร 3 กองทุน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร แถมลดความแตกต่างสิทธิรักษาพยาบาล
นายโทมัส รุสโซ (Mr.Thomas Rousseau) สถาบันแห่งชาติเพื่อคนพิการและการประกันสุขภาพประเทศเบลเยียม (National Institute for Disability and Health Insurance, Belgium) กล่าวถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ซึ่งมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารจัดการเพื่อให้คนไทยเข้าถึงการรักษา ในระหว่างการเดินทางเยี่ยมดูงานการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยว่า ส่วนตัวคิดว่าระบบสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นระบบที่ดี เนื่องจากคนไทยทุกคนมีระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อดูแลด้านการรักษาพยาบาล นับเป็นแบบอย่างการดำเนินงานให้กับประเทศอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะการเรียนรู้การดำเนินงานภายใต้งบประมาณที่จำกัด
ทั้งนี้ ในประเทศเบลเยียมมีการจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพเช่นกัน แต่เป็นการดำเนินงานภายใต้กองทุนเดียว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่มีการแยกเป็น 3 กองุทน แม้ว่าประชาชนทุกคนจะมีสิทธิในการรักษาพยาบาล แต่ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำของสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหาร ซึ่งเป็นไปได้ควรที่จะรวมและบริหารภายใต้กองทุนเดียวกัน ซึ่งหลายประเทศต่างพยายามทำเรื่องนี้เช่นกัน
นายรุสโซกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการดูการดำเนินงานทั้ง 3 กองทุนรักษาพยาบาล ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ในส่วนของกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการพบว่ามีปัญหางบประมาณการเบิกจ่าย เนื่องจากเป็นระบบตามจ่ายตามราคาที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ (Fee for service) ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ขณะที่ระบบประกันสังคมมีจุดอ่อนคือข้อจำกัดของสถานพยาบาล ซึ่งให้เข้ารับบริการในเฉพาะสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับทางสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เท่านั้น ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษา
สำหรับในส่วนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แม้ว่าผู้มีสิทธิในระบบราว 48 ล้านคนจะได้รับการดูแลที่ดี และไม่มีค่าใช้จ่ายในการรับบริการ แต่ส่วนตัวเห็นว่ายังมีประเด็นที่สงสัยและน่าติดตาม คือ มีผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวนเท่าไหร่ที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน และอะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้คนกลุ่มนี้เลือกจ่ายเงินเพื่อรักษาในโรงพยาบาลเอกชน อย่างเช่นเรื่องคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล การรอคิว หรือมีเหตุผลอื่นๆ รวมไปถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ ซึ่งมีประชาชนทราบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากน้อยแค่ไหน
นายรุสโซกล่าวถึงข้อเสนอการร่วมจ่าย (Co-payment) เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพเกิดความยั่งยืนว่า การร่วมจ่ายควรจัดทำเมื่อมีปัญหาการใช้บริการที่มากเกินความจำเป็น แต่คิดว่าประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาในเรื่องนี้ แต่ถ้าหากต้องการลดจำนวนการใช้บริการก็สามารถให้มีการร่วมจ่ายได้ แต่ก็เป็นประเด็นอันตรายเพราะจะส่งผลต่อการเข้าถึงบริการของประชาชบางกลุ่มจากภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมจ่าย ดังนั้นการใช้การร่วมจ่ายจึงควรนำมาใช้กับสถานการณ์ที่มีการใช้บริการเกินความจำเป็นมากไปเท่านั้น นอกจากนี้ยังอาจกำหนดเป็นเฉพาะโรค แต่ในส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถจ่ายได้ก็ควรมีการยกเว้น
“จากผลการดูงานสรุปได้ว่า การดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยสามารถเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ได้ เพื่อให้การรักษาพยาบาลครอบคลุม ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการรักษาได้ โดยใช้งบประมาณจากภาษีประชาชน ซึ่งประเทศต่างๆ ควรดำเนินการให้เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ควรเป็นการบริหารจัดการภายใต้กองทุนเดียวเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์การรักษาเช่นเดียวกัน ไม่แตกต่าง ทั้งยังต้องดึงภาคเอกชนให้เข้ามีส่วนร่วมในระบบ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยบริการภาครัฐและเอกชน” นายรุสโซกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นายโทมัส รุสโซ (Mr.Thomas Rousseau) สถาบันแห่งชาติเพื่อคนพิการและการประกันสุขภาพประเทศเบลเยียม (National Institute for Disability and Health Insurance, Belgium) กล่าวถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ซึ่งมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารจัดการเพื่อให้คนไทยเข้าถึงการรักษา ในระหว่างการเดินทางเยี่ยมดูงานการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยว่า ส่วนตัวคิดว่าระบบสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นระบบที่ดี เนื่องจากคนไทยทุกคนมีระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อดูแลด้านการรักษาพยาบาล นับเป็นแบบอย่างการดำเนินงานให้กับประเทศอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะการเรียนรู้การดำเนินงานภายใต้งบประมาณที่จำกัด
ทั้งนี้ ในประเทศเบลเยียมมีการจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพเช่นกัน แต่เป็นการดำเนินงานภายใต้กองทุนเดียว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่มีการแยกเป็น 3 กองุทน แม้ว่าประชาชนทุกคนจะมีสิทธิในการรักษาพยาบาล แต่ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำของสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหาร ซึ่งเป็นไปได้ควรที่จะรวมและบริหารภายใต้กองทุนเดียวกัน ซึ่งหลายประเทศต่างพยายามทำเรื่องนี้เช่นกัน
นายรุสโซกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการดูการดำเนินงานทั้ง 3 กองทุนรักษาพยาบาล ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน ในส่วนของกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการพบว่ามีปัญหางบประมาณการเบิกจ่าย เนื่องจากเป็นระบบตามจ่ายตามราคาที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ (Fee for service) ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ขณะที่ระบบประกันสังคมมีจุดอ่อนคือข้อจำกัดของสถานพยาบาล ซึ่งให้เข้ารับบริการในเฉพาะสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับทางสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เท่านั้น ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษา
สำหรับในส่วนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แม้ว่าผู้มีสิทธิในระบบราว 48 ล้านคนจะได้รับการดูแลที่ดี และไม่มีค่าใช้จ่ายในการรับบริการ แต่ส่วนตัวเห็นว่ายังมีประเด็นที่สงสัยและน่าติดตาม คือ มีผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวนเท่าไหร่ที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน และอะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้คนกลุ่มนี้เลือกจ่ายเงินเพื่อรักษาในโรงพยาบาลเอกชน อย่างเช่นเรื่องคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล การรอคิว หรือมีเหตุผลอื่นๆ รวมไปถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ ซึ่งมีประชาชนทราบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากน้อยแค่ไหน
นายรุสโซกล่าวถึงข้อเสนอการร่วมจ่าย (Co-payment) เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพเกิดความยั่งยืนว่า การร่วมจ่ายควรจัดทำเมื่อมีปัญหาการใช้บริการที่มากเกินความจำเป็น แต่คิดว่าประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาในเรื่องนี้ แต่ถ้าหากต้องการลดจำนวนการใช้บริการก็สามารถให้มีการร่วมจ่ายได้ แต่ก็เป็นประเด็นอันตรายเพราะจะส่งผลต่อการเข้าถึงบริการของประชาชบางกลุ่มจากภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมจ่าย ดังนั้นการใช้การร่วมจ่ายจึงควรนำมาใช้กับสถานการณ์ที่มีการใช้บริการเกินความจำเป็นมากไปเท่านั้น นอกจากนี้ยังอาจกำหนดเป็นเฉพาะโรค แต่ในส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถจ่ายได้ก็ควรมีการยกเว้น
“จากผลการดูงานสรุปได้ว่า การดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยสามารถเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ได้ เพื่อให้การรักษาพยาบาลครอบคลุม ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการรักษาได้ โดยใช้งบประมาณจากภาษีประชาชน ซึ่งประเทศต่างๆ ควรดำเนินการให้เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ควรเป็นการบริหารจัดการภายใต้กองทุนเดียวเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์การรักษาเช่นเดียวกัน ไม่แตกต่าง ทั้งยังต้องดึงภาคเอกชนให้เข้ามีส่วนร่วมในระบบ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยบริการภาครัฐและเอกชน” นายรุสโซกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่