ศิริราชเห็นด้วยร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลระบบหลักประกันฯ ชี้ชัดทำโรงพยาบาลขาดทุนปีละ 400 ล้านบาท แต่โรงพยาบาลอยู่ได้เพราะเงินบริจาค ชี้รัฐบาลงบค่ารักษาพยาบาลจำกัด แต่โรงพยาบาลต้องดูแลคนไข้ดีที่สุด ขณะที่คนอายุยืนขึ้น โรคแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ทำให้งบประมาณไม่พอ เผย 48 ล้านคนสิทธิบัตรทอง ครึ่งหนึ่งมีความสามารถร่วมจ่ายเงินได้ แต่มองเป็นเรื่องประชานิยม ได้ฟรีจน 30 บาท ก็จ่ายไม่ได้
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถือเป็นโครงการที่ดีและทำมานาน แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการเงินการคลังของโรงพยาบาลไม่น้อยเช่นกัน เพราะรัฐบาลมีงบประมาณจำกัดในส่วนของค่ารักษาพยาบาล แต่โรงพยาบาลกลับต้องให้การรักษาอย่างเต็มที่ และดีที่สุดกับผู้ป่วย ขณะที่โครงสร้างประชากรขณะนี้เปลี่ยนแปลงเหมือนกันทั่วโลก อย่างคนไทยอายุเฉลี่ยของผู้สูงอายุจากอายุ 60 ปี เพิ่มเป็น 73 ปี หมายถึงโรคแทรกซ้อนที่จะเพิ่มขึ้น การใช้ยาเพิ่มขึ้น ขณะที่งบประมาณจำกัดและถูกควบคุม ซึ่งไม่สอดคล้องกันตามหลักธรรมชาติ หลักประกันสุขภาพฯ มุ่งเน้นการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและยากไร้ ให้เข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม แต่ใน 48 ล้านคน ความจริงแล้วครึ่งหนึ่งเป็นคนที่มีความสามารถจ่ายเงินได้ ดังนั้น การร่วมจ่ายจึงเป็นการช่วยรัฐบาลและโรงพยาบาลให้อยู่ได้
“การให้บริการในส่วนหลักประกันสุขภาพฯ ทำให้ รพ.ศิริราช ขาดทุนปีละ 400 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่าอยู่ได้ด้วยเงินบริจาค และได้เงินบำรุงโรงพยาบาลมาเติมทำให้สามารถอยู่ได้ แต่โรงพยาบาลอื่น หากไม่มีเงินบำรุงจะทำอย่างไร ทั้งนี้ แนวทางการร่วมจ่าย ที่ไม่สามารถทำได้ทุกวันนี้ เพราะเป็นเรื่องประชานิยม ทุกคนได้ฟรีจนมองว่า แค่ 30 บาท ก็จ่ายไม่ได้ แต่จำเป็นต้องเข้าใจว่า ถ้ายากไร้อย่างไรรัฐก็ต้องดูแล แต่เรากำลังพูดถึงคนที่มีศักยภาพสามารถจ่ายได้ ก็ต้องช่วยเหลือ โดยต้องกลับมาดูหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ เพราะมีแนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องนี้อยู่แล้ว” ศ.นพ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถือเป็นโครงการที่ดีและทำมานาน แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการเงินการคลังของโรงพยาบาลไม่น้อยเช่นกัน เพราะรัฐบาลมีงบประมาณจำกัดในส่วนของค่ารักษาพยาบาล แต่โรงพยาบาลกลับต้องให้การรักษาอย่างเต็มที่ และดีที่สุดกับผู้ป่วย ขณะที่โครงสร้างประชากรขณะนี้เปลี่ยนแปลงเหมือนกันทั่วโลก อย่างคนไทยอายุเฉลี่ยของผู้สูงอายุจากอายุ 60 ปี เพิ่มเป็น 73 ปี หมายถึงโรคแทรกซ้อนที่จะเพิ่มขึ้น การใช้ยาเพิ่มขึ้น ขณะที่งบประมาณจำกัดและถูกควบคุม ซึ่งไม่สอดคล้องกันตามหลักธรรมชาติ หลักประกันสุขภาพฯ มุ่งเน้นการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและยากไร้ ให้เข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม แต่ใน 48 ล้านคน ความจริงแล้วครึ่งหนึ่งเป็นคนที่มีความสามารถจ่ายเงินได้ ดังนั้น การร่วมจ่ายจึงเป็นการช่วยรัฐบาลและโรงพยาบาลให้อยู่ได้
“การให้บริการในส่วนหลักประกันสุขภาพฯ ทำให้ รพ.ศิริราช ขาดทุนปีละ 400 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่าอยู่ได้ด้วยเงินบริจาค และได้เงินบำรุงโรงพยาบาลมาเติมทำให้สามารถอยู่ได้ แต่โรงพยาบาลอื่น หากไม่มีเงินบำรุงจะทำอย่างไร ทั้งนี้ แนวทางการร่วมจ่าย ที่ไม่สามารถทำได้ทุกวันนี้ เพราะเป็นเรื่องประชานิยม ทุกคนได้ฟรีจนมองว่า แค่ 30 บาท ก็จ่ายไม่ได้ แต่จำเป็นต้องเข้าใจว่า ถ้ายากไร้อย่างไรรัฐก็ต้องดูแล แต่เรากำลังพูดถึงคนที่มีศักยภาพสามารถจ่ายได้ ก็ต้องช่วยเหลือ โดยต้องกลับมาดูหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ เพราะมีแนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องนี้อยู่แล้ว” ศ.นพ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่