กพร. ร่วมผู้เชี่ยวชาญ 20 ประเทศ ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาแรงงานใน 5 ด้าน สอดรับความต้องการตลาดแรงงาน แก้ปัญหาเด็กจบใหม่ตกงาน ธุรกิจ SME ปรับปรุงการศึกษาผลิตคนป้อนอุตสาหกรรม
วันนี้ ( 17 ก.ย.) ที่โรงแรมเซนจูรี่ปาร์ค กรุงเทพฯ นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการจ้างงานและพัฒนาฝีมือแรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 6 ว่า การประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญ จาก 20 ประเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน 5 ประเด็นสำคัญ คือ 1. นโยบายและแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน 2. การแก้ปัญหาการว่างงานในกลุ่มเยาวชนเช่นกลุ่มจบใหม่ 3. การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงแรงงานนอกระบบ 4. นโยบายด้านการพัฒนาตลาดแรงงานทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และ 5. ยุทธศาสตร์ในระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการจ้างงานอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งกลไกที่สามารถนำมาปรับปรุงการศึกษาและฝึกอบรมของหน่วยงานราชการให้สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและสถานประกอบการ อย่างไรก็ตาม OECD เชื่อว่า ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนากำลังแรงงาน ในภูมิภาคเอเชีย เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย
ด้าน นายซิลเวียน กีแอร์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและแรงงาน องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา พัฒนา (The Organization for Economic Co-operation and Development -OECD ) กล่าวว่า แต่ละประเทศมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร มียุทธศาสตร์ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยนโยบายไม่สามารถแยกออกจากการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานได้ การโยกย้ายถิ่นฐานมีมากขึ้น ทำให้เกิดความขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ดังนั้น จึงต้องเน้นการพัฒนาควบคู่กับอุตสาหกรรมในท้องถิ่น และเน้นความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เศรษฐกิจดีขึ้น โดย OECD ต้องการร่วมมือกับอาเซียนเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกันเพื่อให้แต่ละประเทศนำไปพัฒนาในแบบที่สอดคล้องกับนโยบายของตัวเอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ ( 17 ก.ย.) ที่โรงแรมเซนจูรี่ปาร์ค กรุงเทพฯ นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการจ้างงานและพัฒนาฝีมือแรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 6 ว่า การประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญ จาก 20 ประเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน 5 ประเด็นสำคัญ คือ 1. นโยบายและแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน 2. การแก้ปัญหาการว่างงานในกลุ่มเยาวชนเช่นกลุ่มจบใหม่ 3. การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงแรงงานนอกระบบ 4. นโยบายด้านการพัฒนาตลาดแรงงานทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และ 5. ยุทธศาสตร์ในระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการจ้างงานอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งกลไกที่สามารถนำมาปรับปรุงการศึกษาและฝึกอบรมของหน่วยงานราชการให้สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและสถานประกอบการ อย่างไรก็ตาม OECD เชื่อว่า ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนากำลังแรงงาน ในภูมิภาคเอเชีย เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย
ด้าน นายซิลเวียน กีแอร์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและแรงงาน องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา พัฒนา (The Organization for Economic Co-operation and Development -OECD ) กล่าวว่า แต่ละประเทศมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร มียุทธศาสตร์ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยนโยบายไม่สามารถแยกออกจากการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานได้ การโยกย้ายถิ่นฐานมีมากขึ้น ทำให้เกิดความขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ดังนั้น จึงต้องเน้นการพัฒนาควบคู่กับอุตสาหกรรมในท้องถิ่น และเน้นความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เศรษฐกิจดีขึ้น โดย OECD ต้องการร่วมมือกับอาเซียนเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกันเพื่อให้แต่ละประเทศนำไปพัฒนาในแบบที่สอดคล้องกับนโยบายของตัวเอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่