ประชาคม สธ.ต้อนรับ รมว.สธ.-รมช.สธ. พร้อมเตรียมเข้าพบวอนสะสางปัญหางบเหมาจ่ายรายหัวสิทธิบัตรทอง หลังการจัดสรรลงสู่ ปชช.ไม่เต็มที่ รพ.แบกรับภาระ ลั่นพร้อมร่วมทำงานโดยเฉพาะการจัดการสุขภาพระดับเขต
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะประธานประชาคมสาธารณสุข กล่าวถึงกรณี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ว่า ประชาคมฯยินดีที่ทั้ง 2 ท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพของพวกเราทุกคนมาเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งทั้ง 2ท่านอยู่ในแวดวงวิชาการ เชื่อว่าจะเข้ามาช่วยทำให้การดำเนินงานของ สธ. โดยเฉพาะการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ ซึ่ง สธ.ได้ดำเนินการจนเป็นรูปเป็นร่างมากว่า 2 ปี มีความเข้ม แข็งและมั่นคงยิ่งขึ้น
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ รองประธานประชาคมฯ กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้ให้นโยบายเพื่อเป็นทิศทางสำหรับการดำเนินงานของกระทรวงฯ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสร้างกลไกการจัดการสุขภาพในระดับเขต แทนการกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ซึ่งตรงกับทิศทางเรื่องเขตสุขภาพที่กระทรวงฯกำลังดำเนินการอยู่ ทั้งเรื่องกระจายงาน มอบอำนาจให้เขตสุขภาพใน การบริหารจัดการร่วม ใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จภายในเขต ประชาคมสาธารณสุขซึ่งประกอบ ด้วยชมรมวิชาชีพต่างๆในกระทรวงฯกว่า50ชมรม พร้อมที่จะเดินหน้าสนับสนุนนโยบายเขตสุขภาพอย่างเต็มที่
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาล (สพศท.) กล่าวว่า ขอสนับสนุนนโยบายที่นายกรัฐมนตรีแถลง ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปกระทรวงฯ ที่เน้นการกระจายอำนาจเป็นเขตสุขภาพ ชาวประชาคมสาธารณสุขเห็นตรงกันว่า จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและเดินหน้าเขตสุขภาพอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งในเรื่องการรักษาพยาบาล และการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ทรัพยากรทั้งคน เงิน ของภายในเขตร่วมกันให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า อย่างไรก็ตามยังมีข้อวิตกกังวลอยู่บ้างในเรื่องกลไกการเงินโดยเฉพาะการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังต่อหน่วยบริการทุกระดับมาตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งที่งบประมาณต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เม็ดเงินกลับลงสู่ประชาชนไม่เต็มที่ เนื่องจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มุ่งเน้นการเอากลไกการเงินเป็นตัวตั้ง ไม่ได้ใช้เป้าหมายในการแก้ปัญหาสาธารณสุขเป็นตัวตั้ง จึงเกิดการตั้งกองทุนต่างๆมากมายเพื่อ ให้หน่วยบริการทำผลงานมาแลกเงิน มีหลักเกณฑ์เฉพาะและเปลี่ยนแปลงเกือบทุกปี การใช้เงินเป็นตัวตั้งแลกซื้อผลงาน ทำให้เกิดการเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เช่นโครงการต้อกระจก เน้นให้ทำมากๆ มาหลายปี แต่ปัญหาตาบอดจากต้อกระจกยังมีอยู่มากมายในประเทศ
"เห็นได้จากข้อมูลในปี 2556 มีการทำผ่าตัดต้อกระจกไปแล้วประมาณ 100,000 ดวงตา แต่พบว่าเป็นผู้ป่วยภาวะต้อกระจกรุนแรงเพียงแค่ 13% ยิ่งการกระตุ้นผลงานโดยใช้เงินจ่าย โดยตรงให้กับบุคลากร ยิ่งแล้วใหญ่ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องค่าตอบแทน ส่งผลให้มีการละเลยผลงานในเรื่องอื่นๆ ซึ่งบาง เรื่องเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ แต่ไม่มีค่าตอบแทน นี่คือปัญหาเพราะเงินในระบบเป็นก้อนเดียวกัน ถ้าใช้ในเรื่องหนึ่งๆ มากไป ก็จะส่งผลให้เรื่องอื่น ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่สำคัญกว่าของพื้นที่ ได้รับการจัดสรรน้อยลง ในขณะที่บางกองทุนเกิดเงินค้างท่อ จึงขอนำเรียนท่านรัฐมนตรีช่วยแก้ปัญหานี้ผ่านการพิจารณางบขาลงปี 2558 ของ สปสช.ให้ถูกทางและเหมาะสม หวังอย่างยิ่งว่าท่านรมต.จะรับฟังเสียงของ คนทำงานตัวจริงและแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดตามที่รัฐบาลมุ่งหวัง" พญ.ประชุมพร กล่าว
ทั้งนี้ จากการประชุมสมัชชาประชาคมสาธารณสุขครั้งที่ 2 ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขระหว่างวันที่ 10-12 ก.ย. 2557 ที่จ.เชียงใหม่ ได้มีข้อสรุปร่วมกันที่จะส่งตัวแทนเข้าพบรมว.สาธารณสุข และรมช.สาธารณสุข เพื่อหารือเรื่องการปฏิรูปกระทรวงฯตลอดจนปัญหาและ อุปสรรคต่างๆที่ดำรงอยู่ เพื่อให้การดำเนินงานของกระทรวงฯเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้มากที่สุด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะประธานประชาคมสาธารณสุข กล่าวถึงกรณี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ว่า ประชาคมฯยินดีที่ทั้ง 2 ท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพของพวกเราทุกคนมาเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งทั้ง 2ท่านอยู่ในแวดวงวิชาการ เชื่อว่าจะเข้ามาช่วยทำให้การดำเนินงานของ สธ. โดยเฉพาะการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ ซึ่ง สธ.ได้ดำเนินการจนเป็นรูปเป็นร่างมากว่า 2 ปี มีความเข้ม แข็งและมั่นคงยิ่งขึ้น
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ รองประธานประชาคมฯ กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้ให้นโยบายเพื่อเป็นทิศทางสำหรับการดำเนินงานของกระทรวงฯ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสร้างกลไกการจัดการสุขภาพในระดับเขต แทนการกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ซึ่งตรงกับทิศทางเรื่องเขตสุขภาพที่กระทรวงฯกำลังดำเนินการอยู่ ทั้งเรื่องกระจายงาน มอบอำนาจให้เขตสุขภาพใน การบริหารจัดการร่วม ใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จภายในเขต ประชาคมสาธารณสุขซึ่งประกอบ ด้วยชมรมวิชาชีพต่างๆในกระทรวงฯกว่า50ชมรม พร้อมที่จะเดินหน้าสนับสนุนนโยบายเขตสุขภาพอย่างเต็มที่
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาล (สพศท.) กล่าวว่า ขอสนับสนุนนโยบายที่นายกรัฐมนตรีแถลง ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปกระทรวงฯ ที่เน้นการกระจายอำนาจเป็นเขตสุขภาพ ชาวประชาคมสาธารณสุขเห็นตรงกันว่า จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและเดินหน้าเขตสุขภาพอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งในเรื่องการรักษาพยาบาล และการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ทรัพยากรทั้งคน เงิน ของภายในเขตร่วมกันให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า อย่างไรก็ตามยังมีข้อวิตกกังวลอยู่บ้างในเรื่องกลไกการเงินโดยเฉพาะการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังต่อหน่วยบริการทุกระดับมาตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งที่งบประมาณต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เม็ดเงินกลับลงสู่ประชาชนไม่เต็มที่ เนื่องจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มุ่งเน้นการเอากลไกการเงินเป็นตัวตั้ง ไม่ได้ใช้เป้าหมายในการแก้ปัญหาสาธารณสุขเป็นตัวตั้ง จึงเกิดการตั้งกองทุนต่างๆมากมายเพื่อ ให้หน่วยบริการทำผลงานมาแลกเงิน มีหลักเกณฑ์เฉพาะและเปลี่ยนแปลงเกือบทุกปี การใช้เงินเป็นตัวตั้งแลกซื้อผลงาน ทำให้เกิดการเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เช่นโครงการต้อกระจก เน้นให้ทำมากๆ มาหลายปี แต่ปัญหาตาบอดจากต้อกระจกยังมีอยู่มากมายในประเทศ
"เห็นได้จากข้อมูลในปี 2556 มีการทำผ่าตัดต้อกระจกไปแล้วประมาณ 100,000 ดวงตา แต่พบว่าเป็นผู้ป่วยภาวะต้อกระจกรุนแรงเพียงแค่ 13% ยิ่งการกระตุ้นผลงานโดยใช้เงินจ่าย โดยตรงให้กับบุคลากร ยิ่งแล้วใหญ่ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องค่าตอบแทน ส่งผลให้มีการละเลยผลงานในเรื่องอื่นๆ ซึ่งบาง เรื่องเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ แต่ไม่มีค่าตอบแทน นี่คือปัญหาเพราะเงินในระบบเป็นก้อนเดียวกัน ถ้าใช้ในเรื่องหนึ่งๆ มากไป ก็จะส่งผลให้เรื่องอื่น ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่สำคัญกว่าของพื้นที่ ได้รับการจัดสรรน้อยลง ในขณะที่บางกองทุนเกิดเงินค้างท่อ จึงขอนำเรียนท่านรัฐมนตรีช่วยแก้ปัญหานี้ผ่านการพิจารณางบขาลงปี 2558 ของ สปสช.ให้ถูกทางและเหมาะสม หวังอย่างยิ่งว่าท่านรมต.จะรับฟังเสียงของ คนทำงานตัวจริงและแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดตามที่รัฐบาลมุ่งหวัง" พญ.ประชุมพร กล่าว
ทั้งนี้ จากการประชุมสมัชชาประชาคมสาธารณสุขครั้งที่ 2 ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขระหว่างวันที่ 10-12 ก.ย. 2557 ที่จ.เชียงใหม่ ได้มีข้อสรุปร่วมกันที่จะส่งตัวแทนเข้าพบรมว.สาธารณสุข และรมช.สาธารณสุข เพื่อหารือเรื่องการปฏิรูปกระทรวงฯตลอดจนปัญหาและ อุปสรรคต่างๆที่ดำรงอยู่ เพื่อให้การดำเนินงานของกระทรวงฯเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้มากที่สุด
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่