แพทย์ชนบทเสนอ 6 ข้อเรียกร้องต่อ “หมอรัชตะ” ย้ำจุดยืนเดิมไม่เอา P4P เสนอใช้แนวทาง 1 ประเทศ 2 ระบบ เผยพร้อมร่วมวงถกแล้ว เหตุ รมต. มีความเป็นกลาง พร้อมขอปรับการบริหาร อภ. ใหม่ กู้ชื่อเสียง “หมอวิทิต” ปรับการบริหารงบทุกกองทุนสุขภาพ ด้านประชาคม สธ. จ่อยื่น รมว.สธ. หารือ P4P ประกาศให้ทุก รพ. เดินหน้า ส่วนสภาการพยาบาล เน้นลดเหลื่อมล้ำวิชาชีพ
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนและครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ทุกวิชาชีพ กว่า 50 คน เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องต่อ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 6 ข้อ คือ 1. การบริหารงบประมาณกองทุนสุขภาพ ทุกกองทุนต้องไม่เหลื่อมล้ำ ไม่ซับซ้อน ไม่หลากหลาย 2. ให้ยกเลิกการจัดระบบบริการรูปแบบเขตสุขภาพ เพราะมุ่งเน้นโรงพยาบาลระดับสูงมากเกินไป จนงบประมาณไม่ลงมาสู่โรงพยาบาลระดับล่าง เป็นการรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง 3. ให้ออกกฎหมายส่งเสริมผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถทำงานได้ เน้นงานด้านฝีมือ ความรู้มากกว่าการใช้แรง เพื่อให้ทั้งสองกลุ่มอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า 4. เร่งแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและอุบัติเหตุ 5. เร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในวิชาชีพ การแต่งตั้งโยกย้ายให้เป็นธรรม และยกเลิกนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (Pay for Performance : P4P) มาใช้ระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับที่ 4 และ 6 เช่นเดิม ส่วนโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) อยากทำก็ไม่คัดค้าน และ 6. ปรับการบริหารภายในองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจาก ผอ.อภ. พบว่าการบริหารล้มเหลว ทำไทยขาดแคลนยา จึงขอให้มีการปรับการบริหาร และคืนความเป็นธรรมให้ นพ.วิทิต ด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อกู้ชื่อเสียงและชดเชย ซึ่งการคืนตำแหน่งคาดว่า นพ.วิทิต ไม่น่าจะรับ เพราะทราบว่าเข้าตำแหน่งบริหารใน รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้ค่าตอบแทนมากกว่านี้หลายเท่า
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จ.สงขลา และกรรมการชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า นโยบาย P4P สร้างเห็นที่แตกต่าง จน สธ. ไม่สามารถเดินหน้าได้ ต้องจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ที่น่าห่วงคือใกล้จะหมดระยะเวลาเยียวยา ต้องมีการหารือว่าจะเดินหน้าต่ออีกหรือไม่ ซึ่งชมรมฯ ยินดีร่วมหารือในครั้งนี้ เพราะรัฐมนตรี สธ. ต่างเป็นคนกลางทั้งคู่ โดยเสนอให้ทำเป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ คือ รพช. ไม่ใช้ P4P ส่วน รพศ./รพท. อยากใช้ก็ไม่ค้าน
น.ส.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า ยังมีความเห็นเหมือนเดิมว่า การเดินหน้า P4P ต้องมีเกณฑ์ที่เป็นธรรมกับทุกวิชาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำ หากบางวิชาชีพได้เงินค่าตอบแทนมาก บางวิชาชีพได้น้อย ทั้งที่ทำงานมากกว่า ก็ไม่เป็นผลดี เชื่อว่ารัฐมนตรี สธ. ของรัฐบาลใหม่ทั้ง 2 คนจะเข้าใจปัญหานี้ โดยเฉพาะ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ซึ่งอยู่ในแวดวงสาธารณสุขมานาน เข้าใจระบบและปัญหาอย่างดี จึงขอฝากความหวังไว้ ให้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพอย่างแท้จริง
ด้าน พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) และตัวแทนประชาคม สธ. กล่าวว่า วันที่ 24 ก.ย. ประชาคมฯ กว่า 100 คน จะเข้าพบ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข โดยจะมีตัวแทนเข้าหารือและแลกเปลี่ยนนโยบายเพื่อสาธารณสุขร่วมกัน โดยจะเสนอเรื่อง P4P ขอให้มีการหารือให้ได้ข้อยุติและออกประกาศสั่งการให้โรงพยาบาลทุกระดับเดินหน้าเรื่องนี้ ส่วนชมรมแพทย์ชนบทเสนอ 2 ระบบนั้น โดย รพช. ขอใช้ P4P แบบเหมารวมถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะ P4P คือการคิดค่าตามผลงานของแต่ละคน จะไปเอาผลงานคนอื่นไม่ได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนและครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ทุกวิชาชีพ กว่า 50 คน เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องต่อ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 6 ข้อ คือ 1. การบริหารงบประมาณกองทุนสุขภาพ ทุกกองทุนต้องไม่เหลื่อมล้ำ ไม่ซับซ้อน ไม่หลากหลาย 2. ให้ยกเลิกการจัดระบบบริการรูปแบบเขตสุขภาพ เพราะมุ่งเน้นโรงพยาบาลระดับสูงมากเกินไป จนงบประมาณไม่ลงมาสู่โรงพยาบาลระดับล่าง เป็นการรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง 3. ให้ออกกฎหมายส่งเสริมผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถทำงานได้ เน้นงานด้านฝีมือ ความรู้มากกว่าการใช้แรง เพื่อให้ทั้งสองกลุ่มอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า 4. เร่งแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและอุบัติเหตุ 5. เร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในวิชาชีพ การแต่งตั้งโยกย้ายให้เป็นธรรม และยกเลิกนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (Pay for Performance : P4P) มาใช้ระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับที่ 4 และ 6 เช่นเดิม ส่วนโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) อยากทำก็ไม่คัดค้าน และ 6. ปรับการบริหารภายในองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจาก ผอ.อภ. พบว่าการบริหารล้มเหลว ทำไทยขาดแคลนยา จึงขอให้มีการปรับการบริหาร และคืนความเป็นธรรมให้ นพ.วิทิต ด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อกู้ชื่อเสียงและชดเชย ซึ่งการคืนตำแหน่งคาดว่า นพ.วิทิต ไม่น่าจะรับ เพราะทราบว่าเข้าตำแหน่งบริหารใน รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้ค่าตอบแทนมากกว่านี้หลายเท่า
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จ.สงขลา และกรรมการชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า นโยบาย P4P สร้างเห็นที่แตกต่าง จน สธ. ไม่สามารถเดินหน้าได้ ต้องจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ที่น่าห่วงคือใกล้จะหมดระยะเวลาเยียวยา ต้องมีการหารือว่าจะเดินหน้าต่ออีกหรือไม่ ซึ่งชมรมฯ ยินดีร่วมหารือในครั้งนี้ เพราะรัฐมนตรี สธ. ต่างเป็นคนกลางทั้งคู่ โดยเสนอให้ทำเป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ คือ รพช. ไม่ใช้ P4P ส่วน รพศ./รพท. อยากใช้ก็ไม่ค้าน
น.ส.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า ยังมีความเห็นเหมือนเดิมว่า การเดินหน้า P4P ต้องมีเกณฑ์ที่เป็นธรรมกับทุกวิชาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำ หากบางวิชาชีพได้เงินค่าตอบแทนมาก บางวิชาชีพได้น้อย ทั้งที่ทำงานมากกว่า ก็ไม่เป็นผลดี เชื่อว่ารัฐมนตรี สธ. ของรัฐบาลใหม่ทั้ง 2 คนจะเข้าใจปัญหานี้ โดยเฉพาะ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ซึ่งอยู่ในแวดวงสาธารณสุขมานาน เข้าใจระบบและปัญหาอย่างดี จึงขอฝากความหวังไว้ ให้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพอย่างแท้จริง
ด้าน พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) และตัวแทนประชาคม สธ. กล่าวว่า วันที่ 24 ก.ย. ประชาคมฯ กว่า 100 คน จะเข้าพบ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข โดยจะมีตัวแทนเข้าหารือและแลกเปลี่ยนนโยบายเพื่อสาธารณสุขร่วมกัน โดยจะเสนอเรื่อง P4P ขอให้มีการหารือให้ได้ข้อยุติและออกประกาศสั่งการให้โรงพยาบาลทุกระดับเดินหน้าเรื่องนี้ ส่วนชมรมแพทย์ชนบทเสนอ 2 ระบบนั้น โดย รพช. ขอใช้ P4P แบบเหมารวมถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะ P4P คือการคิดค่าตามผลงานของแต่ละคน จะไปเอาผลงานคนอื่นไม่ได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่