ประชาคม สธ. ไม่ห่วงกรณี “หมอรัชตะ” ส่งผลการปฏิรูประบบสุขภาพ เชื่อหากเลือกตำแหน่งทุกอย่างจะจบ มั่นใจทีมที่ปรึกษาทำงานเป็นกลาง เพื่อทุกวิชาชีพ
วันนี้ (18 ก.ย.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ในฐานะตัวแทนประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า การควบ 2 ตำแหน่งของ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไม่น่ามีผลกระทบต่อการเดินหน้าปฏิรูป ระบบสุขภาพ แต่อีกไม่นานเรื่องนี้จะชัดเจนขึ้น เนื่องจากสภามหาวิทยาลัยมหิดลขีดเส้นให้ ศ.นพ.รัชตะ ตัดสินใจเลือกเพียงตำแหน่งเดียวภายในวันที่ 8 ต.ค. ซึ่งเมื่อเลือกแล้วทุกอย่างก็จบ ส่วนงานที่ สธ. ก็ไม่น่ามีปัญหา ระหว่างนี้ก็สามารถเดินหน้าปฏิรูปได้ แต่หากไม่สบายใจก็สามารถมอบหมายให้ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ทำงานก่อน ที่สำคัญยังมีทีมที่ปรึกษารัฐมนตรี ทั้ง นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล และ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ซึ่งล้วนเป็นรองปลัด สธ. มาก่อน เชื่อว่าจะเดินหน้าร่วมกันทำงานปฏิรูปได้อย่างราบรื่น มีธรรมาภิบาล
“นอกจากนี้ ยังมี นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขานุการรัฐมนตรี สธ. ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท หรือ นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี มารับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี สธ. เชื่อว่าจะทำงานเพื่อส่วนร่วม คิดถึงประโยชน์ของโรงพยาบาลทุกระดับ โดยเฉพาะหากมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย หรือหลักเกณฑ์เรื่องค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (P4P: Pay for Performance) ก็ต้องมีความเป็นธรรมกับทุกวิชาชีพ ทุกระดับ เพราะหากโน้มเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ประชาคมสาธารณสุขก็จะจับตาและจะส่งสัญญาณให้สาธารณชนรับรู้” พญ.ประชุมพร กล่าว
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา ประธานประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า ไม่ว่าใครเป็นทีมที่ปรึกษาก็พร้อมทำงานกับทุกฝ่าย ขอเพียงมีการเดินหน้าปฏิรูประบบสุขภาพ โดยเฉพาะเขตสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น และต้องสร้างความสามัคคีได้จริง มีหลักธรรมาภิบาล ไม่ใช่สร้างความขัดแย้ง
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กล่าวว่า การปฏิรูประบบสุขภาพ ประชาคมสาธารณสุขก็ช่วยทำงานอีกทางหนึ่ง โดยอยู่ระหว่างตั้งทีมดูความโปร่งใสของหลักเกณฑ์การทำงานเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในวิชาชีพต่างๆ ซึ่งจะเป็นการทำงานควบคู่กับ สธ. ให้ภายในกระทรวงมีความโปร่งใสจริง ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาทำงานเป็นทีมที่ปรึกษา หรือเป็นผู้บริหารย่อมทำงานด้วยกันได้หมด
ด้าน นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กรรมการชมรมแพทยชนบท กล่าวว่า ตนไม่อยากก้าวล่วงการตัดสินใจของ ศ.นพ.รัชตะ แต่งานในส่วนของ สธ. และ ม.มหิดล ถือเป็นงานบริหาร หากแบ่งเวลาได้ก็น่าจะสามารถทำงานได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือกระแสที่เกิดขึ้นอาจทำให้ลำบากในการตัดสินใจ และไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ศ.นพ.รัชตะ ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ก.ย.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ในฐานะตัวแทนประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า การควบ 2 ตำแหน่งของ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไม่น่ามีผลกระทบต่อการเดินหน้าปฏิรูป ระบบสุขภาพ แต่อีกไม่นานเรื่องนี้จะชัดเจนขึ้น เนื่องจากสภามหาวิทยาลัยมหิดลขีดเส้นให้ ศ.นพ.รัชตะ ตัดสินใจเลือกเพียงตำแหน่งเดียวภายในวันที่ 8 ต.ค. ซึ่งเมื่อเลือกแล้วทุกอย่างก็จบ ส่วนงานที่ สธ. ก็ไม่น่ามีปัญหา ระหว่างนี้ก็สามารถเดินหน้าปฏิรูปได้ แต่หากไม่สบายใจก็สามารถมอบหมายให้ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ทำงานก่อน ที่สำคัญยังมีทีมที่ปรึกษารัฐมนตรี ทั้ง นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล และ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ซึ่งล้วนเป็นรองปลัด สธ. มาก่อน เชื่อว่าจะเดินหน้าร่วมกันทำงานปฏิรูปได้อย่างราบรื่น มีธรรมาภิบาล
“นอกจากนี้ ยังมี นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขานุการรัฐมนตรี สธ. ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท หรือ นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี มารับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี สธ. เชื่อว่าจะทำงานเพื่อส่วนร่วม คิดถึงประโยชน์ของโรงพยาบาลทุกระดับ โดยเฉพาะหากมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย หรือหลักเกณฑ์เรื่องค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (P4P: Pay for Performance) ก็ต้องมีความเป็นธรรมกับทุกวิชาชีพ ทุกระดับ เพราะหากโน้มเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ประชาคมสาธารณสุขก็จะจับตาและจะส่งสัญญาณให้สาธารณชนรับรู้” พญ.ประชุมพร กล่าว
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา ประธานประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า ไม่ว่าใครเป็นทีมที่ปรึกษาก็พร้อมทำงานกับทุกฝ่าย ขอเพียงมีการเดินหน้าปฏิรูประบบสุขภาพ โดยเฉพาะเขตสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น และต้องสร้างความสามัคคีได้จริง มีหลักธรรมาภิบาล ไม่ใช่สร้างความขัดแย้ง
นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กล่าวว่า การปฏิรูประบบสุขภาพ ประชาคมสาธารณสุขก็ช่วยทำงานอีกทางหนึ่ง โดยอยู่ระหว่างตั้งทีมดูความโปร่งใสของหลักเกณฑ์การทำงานเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในวิชาชีพต่างๆ ซึ่งจะเป็นการทำงานควบคู่กับ สธ. ให้ภายในกระทรวงมีความโปร่งใสจริง ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาทำงานเป็นทีมที่ปรึกษา หรือเป็นผู้บริหารย่อมทำงานด้วยกันได้หมด
ด้าน นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กรรมการชมรมแพทยชนบท กล่าวว่า ตนไม่อยากก้าวล่วงการตัดสินใจของ ศ.นพ.รัชตะ แต่งานในส่วนของ สธ. และ ม.มหิดล ถือเป็นงานบริหาร หากแบ่งเวลาได้ก็น่าจะสามารถทำงานได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือกระแสที่เกิดขึ้นอาจทำให้ลำบากในการตัดสินใจ และไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ศ.นพ.รัชตะ ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่