เครือข่ายงดเหล้าจวก โรงงานยาสูบหยิบยกความโปร่งใส ประสิทธผลการทำงาน สสส. มาเบรกหน่วยงานอื่น จัดตั้งกองทุนเฉพาะถือว่าไม่เป็นธรรม ย้ำที่ต้องตั้ง พ.ร.บ.รับเงินเฉพาะ เพราะ รบ. มักไม่ให้ความสำคัญ ระบุที่ผ่านมาแก้ปัญหาสังคมได้ ด้าน สสส. โอดหากปรับแก้จริง ปชช. ได้รับผลกระทบแน่
วันนี้ (11 ก.ย.) นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์การงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า การที่โรงงานยาสูบเสนอแนวคิดในการปรับเงินอุดหนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ไทยพีบีเอส เพราะห่วงว่าจะมีหน่วยงานอื่นใช้แนวทางนี้จัดตั้งกองทุนฯนั้น ต้องดูที่มาของการตั้งกองทุน สสส. นั่นคือ การส่งเสริมสุขภาพเป็นงานที่ต้องอาศัยภาคประชาสังคมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีงบประมาณที่ชัดเจน แต่การพิจารณางบประมาณรูปแบบเก่าจะพบกับการตัดลดงบประมาณไปกับเรื่องอื่น เช่น การก่อสร้าง กำลังคน เป็นต้น จึงต้องใช้กลไกพิจารณางบประมาณแบบพิเศษ ช่วยทำให้เกิดการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่นานาชาติให้การยอมรับว่าเป็นแนวทางแก้ปัญหาทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายธีระ กล่าวว่า ส่วนการหยิบยกประเด็นเรื่องความโปร่งใส และประสิทธิภาพประสิทธิผลการทำงานของกองทุน ว่าเกิดความสงสัยนั้น ถือว่าไม่เป็นธรรม ถ้าเพียงแค่ไม่ต้องการให้เกิดกองทุนในลักษณะเดียวกันเท่านั้น เพราะที่ผ่านมา มีการสร้างกลไกการตรวจสอบทั้งแง่ความโปร่งใส และการวัดประสิทธิผลในการทำงานอยู่ และหากยังไม่เชื่อมั่น ภาครัฐก็มีอำนาจในการสร้างเครื่องมือวัดผล และสร้างกระบวนการตรวจสอบขึ้นได้อีกเช่นกัน จึงไม่ควรใช้เหตุผลดังกล่าวมาเสนอต่อสังคม จนทำให้เกิดความเคลือบแคลงต่อการดำเนินงานของทั้งสองกองทุน ทั้งนี้ การมีแนวคิดการตั้งกองทุนโดยใช้วิธีพิจารณางบประมาณพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนเกี่ยวกับการศึกษา หรือ กีฬา นั้น เพราะตัวอย่างจากการทำงานของ สสส. ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า สามารถแก้ปัญหาสังคมที่มีมิติเชิงลึกได้ และทั้งปัญหาการศึกษาและกีฬา ก็ถือว่ามีความยากในการทำงาน และที่ผ่านมาเกิดการบั่นทอนงบประมาณจนไม่สามารถพัฒนาได้ตรงจุด
"ประเด็นดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจให้กว้าง และหาทางออกร่วมกัน เพราะการตั้งกองทุนลักษณะที่มีวิธีพิจารณางบประมาณแบบพิเศษ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถช่วยแก้ปัญหายากๆ ได้ดีกว่าแนวทางการพิจารณางบประมาณแบบเดิม และการนำเงินมาจากภาษีบาป หรือ เหล้าบุหรี่นั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะสินค้าทั้งสองชนิดเป็นสินค้าที่ไม่ธรรมดา เป็นสินค้าที่ทำลายสุขภาพ การนำเงินภาษีกลับคืนมาแก้ปัญหาสังคม ส่งเสริมสุขภาพ จึงถือเป็นเรื่องที่มีเหตุผล ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถมองเพียงมิติของการเก็บเงินภาษีเข้ารัฐให้ได้มากที่สุดเท่านั้น จำเป็นต้องมองภาพรวมและเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน” นายธีระ กล่าว
นายสุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า หากกระทรวงการคลังจะเชื่อตามข้อเสนอของโรงงานยาสูบก็คงต้องเสนอไปยัง ครม. เพื่อพิจารณาแก้ พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 แต่เชื่อว่าทุกคนจะเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ส่วนใหญ่มาจากปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ซึ่งไม่เพียงก่อโรค แต่ยังก่อความรุนแรงจากการขาดสติจากการดื่มสุราอีก เห็นได้ว่างบประมาณในการขับเคลื่อนป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องเป็นงบประมาณที่จัดสรรมาโดยเฉพาะ ไม่เข้าสู่กระบวนการตามงบประมาณปกติ เพราะรัฐบาลมักจะให้ความสำคัญในการพิจารณางบประมาณด้านสุขภาพน้อยกว่าด้านอื่นๆ แม้จะประกาศนโยบายว่าให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมป้องกันโรคก็ตาม จึงจำเป็นต้องมีพ.ร.บ. เฉพาะ และก็เชื่อว่ารัฐบาลจะเข้าใจ และจะไม่แก้กฎหมายตามที่โรงงานยาสูบเสนอ
“หากปรับเปลี่ยนกฎหมาย จะส่งผลกระทบแน่ๆ แต่ สสส. ก็ยังทำงานได้อยู่ เพียงแต่ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจะลดน้อยลงครึ่งหนึ่ง เพราะทุกวันนี้ สสส. ก็ไม่ได้รับงบมากมาย เนื่องจากหากพิจารณาแล้ว งบจัดสรรของ สสส. ได้ประมาณ 0.001% ของงบรัฐบาลทั้งประเทศ แต่หากดูงบด้านสุขภาพทั้งประเทศ สสส. จะได้เพียง 0.7% เท่านั้น” นายสุปรีดา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 ก.ย.) นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์การงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า การที่โรงงานยาสูบเสนอแนวคิดในการปรับเงินอุดหนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ไทยพีบีเอส เพราะห่วงว่าจะมีหน่วยงานอื่นใช้แนวทางนี้จัดตั้งกองทุนฯนั้น ต้องดูที่มาของการตั้งกองทุน สสส. นั่นคือ การส่งเสริมสุขภาพเป็นงานที่ต้องอาศัยภาคประชาสังคมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีงบประมาณที่ชัดเจน แต่การพิจารณางบประมาณรูปแบบเก่าจะพบกับการตัดลดงบประมาณไปกับเรื่องอื่น เช่น การก่อสร้าง กำลังคน เป็นต้น จึงต้องใช้กลไกพิจารณางบประมาณแบบพิเศษ ช่วยทำให้เกิดการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่นานาชาติให้การยอมรับว่าเป็นแนวทางแก้ปัญหาทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายธีระ กล่าวว่า ส่วนการหยิบยกประเด็นเรื่องความโปร่งใส และประสิทธิภาพประสิทธิผลการทำงานของกองทุน ว่าเกิดความสงสัยนั้น ถือว่าไม่เป็นธรรม ถ้าเพียงแค่ไม่ต้องการให้เกิดกองทุนในลักษณะเดียวกันเท่านั้น เพราะที่ผ่านมา มีการสร้างกลไกการตรวจสอบทั้งแง่ความโปร่งใส และการวัดประสิทธิผลในการทำงานอยู่ และหากยังไม่เชื่อมั่น ภาครัฐก็มีอำนาจในการสร้างเครื่องมือวัดผล และสร้างกระบวนการตรวจสอบขึ้นได้อีกเช่นกัน จึงไม่ควรใช้เหตุผลดังกล่าวมาเสนอต่อสังคม จนทำให้เกิดความเคลือบแคลงต่อการดำเนินงานของทั้งสองกองทุน ทั้งนี้ การมีแนวคิดการตั้งกองทุนโดยใช้วิธีพิจารณางบประมาณพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนเกี่ยวกับการศึกษา หรือ กีฬา นั้น เพราะตัวอย่างจากการทำงานของ สสส. ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า สามารถแก้ปัญหาสังคมที่มีมิติเชิงลึกได้ และทั้งปัญหาการศึกษาและกีฬา ก็ถือว่ามีความยากในการทำงาน และที่ผ่านมาเกิดการบั่นทอนงบประมาณจนไม่สามารถพัฒนาได้ตรงจุด
"ประเด็นดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจให้กว้าง และหาทางออกร่วมกัน เพราะการตั้งกองทุนลักษณะที่มีวิธีพิจารณางบประมาณแบบพิเศษ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถช่วยแก้ปัญหายากๆ ได้ดีกว่าแนวทางการพิจารณางบประมาณแบบเดิม และการนำเงินมาจากภาษีบาป หรือ เหล้าบุหรี่นั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะสินค้าทั้งสองชนิดเป็นสินค้าที่ไม่ธรรมดา เป็นสินค้าที่ทำลายสุขภาพ การนำเงินภาษีกลับคืนมาแก้ปัญหาสังคม ส่งเสริมสุขภาพ จึงถือเป็นเรื่องที่มีเหตุผล ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถมองเพียงมิติของการเก็บเงินภาษีเข้ารัฐให้ได้มากที่สุดเท่านั้น จำเป็นต้องมองภาพรวมและเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน” นายธีระ กล่าว
นายสุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า หากกระทรวงการคลังจะเชื่อตามข้อเสนอของโรงงานยาสูบก็คงต้องเสนอไปยัง ครม. เพื่อพิจารณาแก้ พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 แต่เชื่อว่าทุกคนจะเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ส่วนใหญ่มาจากปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ซึ่งไม่เพียงก่อโรค แต่ยังก่อความรุนแรงจากการขาดสติจากการดื่มสุราอีก เห็นได้ว่างบประมาณในการขับเคลื่อนป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องเป็นงบประมาณที่จัดสรรมาโดยเฉพาะ ไม่เข้าสู่กระบวนการตามงบประมาณปกติ เพราะรัฐบาลมักจะให้ความสำคัญในการพิจารณางบประมาณด้านสุขภาพน้อยกว่าด้านอื่นๆ แม้จะประกาศนโยบายว่าให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมป้องกันโรคก็ตาม จึงจำเป็นต้องมีพ.ร.บ. เฉพาะ และก็เชื่อว่ารัฐบาลจะเข้าใจ และจะไม่แก้กฎหมายตามที่โรงงานยาสูบเสนอ
“หากปรับเปลี่ยนกฎหมาย จะส่งผลกระทบแน่ๆ แต่ สสส. ก็ยังทำงานได้อยู่ เพียงแต่ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจะลดน้อยลงครึ่งหนึ่ง เพราะทุกวันนี้ สสส. ก็ไม่ได้รับงบมากมาย เนื่องจากหากพิจารณาแล้ว งบจัดสรรของ สสส. ได้ประมาณ 0.001% ของงบรัฐบาลทั้งประเทศ แต่หากดูงบด้านสุขภาพทั้งประเทศ สสส. จะได้เพียง 0.7% เท่านั้น” นายสุปรีดา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่