นับตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.57 ที่ผ่านมา จนถึง ณ วันนี้ เป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้วที่ คสช.ได้เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง พร้อมเดินหน้าเร่งแก้ปัญหาสำคัญหลายด้าน ทั้งเรื่อง เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะการคืนความสุขให้กับประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ คสช. หวังที่จะคืนความสุขให้กับคนในชาติ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและตรวจสอบความสุขที่ประชาชนได้รับจาก คสช.
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,634 คน ระหว่างวันที่ 10-14 มิถุนายน 2557 สรุปผลได้ ดังนี้
“10 ความสุข” ที่ประชาชนได้รับ จาก คสช. อย่างเป็นรูปธรรม
อันดับ 1 การชุมนุมของฝ่ายต่างๆยุติ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข93.09% อันดับ 2สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ สามารถไปเรียนไปทำงานได้ 87.12% อันดับ 3 นโยบายลดค่าครองชีพ ชะลอการขึ้นราคาแก๊สและน้ำมัน 85.99% อันดับ 4 โครงการจำนำข้าว จ่ายเงินให้กับเกษตรกร 84.29% อันดับ 5 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ กระตุ้นการค้าการลงทุน 80.24%
อันดับ 6 การขจัดคอร์รัปชัน เริ่มมีการตรวจสอบการทุจริตอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรมมากขึ้น 77.32% อันดับ 7 ความตั้งใจ ความมุ่งมั่นในการทำงานของ คสช. ที่ประกาศออกมาให้ทราบโดยทั่วกัน 73.53% อันดับ 8 ชีวิตปลอดภัยมากขึ้น ทหารดูแลอย่างดี 73.14% อันดับ 9 มีการปราบปราม โจร ผู้ร้าย ยาเสพติดและอาวุธเถื่อน 71.96% อันดับ 10 มอบของขวัญ คืนความสุขให้ประชาชน ดูฟุตบอลโลก ดูหนังพระนเรศวรฟรี และการจัดกิจกรรมคืนความสุขให้ ประชาชนกระจายไปทุกจังหวัด 71.31%
**คสช.ควรเร่งปฏิรูปการเมือง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง คสช.กับการปฏิรูปประเทศ โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10 – 12 มิ.ย. จากประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,446 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับการเร่งดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.11 ระบุว่า ควรปฏิรูปด้านการเมือง เช่น ระบบการเลือกตั้ง การถ่วงดุลอำนาจ จริยธรรมนักการเมือง เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 35.82 ควรปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การคมนาคม การขนส่ง เป็นต้น ร้อยละ 35.27 ควรปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ เพื่อการกระจายรายได้ การลดความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น ร้อยละ 29.60 ควรปฏิรูปด้านสิ่งแวดล้อม
ร้อยละ 24.62 ควรปฏิรูปด้านสังคม เช่น การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการศึกษา ปัญหาสาธารณสุข เป็นต้น ร้อยละ 23.44 ควรปฏิรูประบบยุติธรรม เช่น ศาล อัยการ ตำรวจ เป็นต้น และร้อยละ 22.13 ควรปฏิรูประบบราชการ
**อีก 6 เดือนศก.-การเมือง จะดีขึ้น
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า”โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศจำนวน 1,093 คน เมื่อวันที่ 7–13 มิถุนายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.87 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยปรับสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 3.47 คะแนน (เพิ่มขึ้น 1.4 คะแนน) และมีคะแนนเพิ่มขึ้นในทุกด้าน
เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด (5.02 คะแนน) รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ (4.98 คะแนน) ส่วนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (4.62คะแนน)
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัด จากจำนวนทั้งสิ้น 12 ตัวชี้วัด พบว่า ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด (3.87คะแนน) เช่นเดียวกับผลการสำรวจเมื่อปี 2554 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการบริหารประเทศ ณ ปัจจุบัน ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้คะแนนมากที่สุด (5.96 คะแนน) ซึ่งเป็นระดับความเชื่อมั่นที่สูงเกินครึ่ง และสูงกว่าความเชื่อมั่นในปี 2554 อีกทั้งยังเป็นด้านที่ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุดในการสำรวจครั้งนี้
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนร้อยละ 66.8 เชื่อว่าจะดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 25.1 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม และมีเพียงร้อยละ 8.4 ที่เชื่อว่าจะแย่ลง
สุดท้ายเมื่อถามถึงความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย พบว่า ประชาชนร้อยละ 67.2 มีความภูมิใจมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 27.3 มีความภูมิใจมาก ร้อยละ 4.0 มีความภูมิใจน้อย และร้อยละ 1.5 มีความภูมิใจน้อยที่สุด
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,634 คน ระหว่างวันที่ 10-14 มิถุนายน 2557 สรุปผลได้ ดังนี้
“10 ความสุข” ที่ประชาชนได้รับ จาก คสช. อย่างเป็นรูปธรรม
อันดับ 1 การชุมนุมของฝ่ายต่างๆยุติ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข93.09% อันดับ 2สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ สามารถไปเรียนไปทำงานได้ 87.12% อันดับ 3 นโยบายลดค่าครองชีพ ชะลอการขึ้นราคาแก๊สและน้ำมัน 85.99% อันดับ 4 โครงการจำนำข้าว จ่ายเงินให้กับเกษตรกร 84.29% อันดับ 5 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ กระตุ้นการค้าการลงทุน 80.24%
อันดับ 6 การขจัดคอร์รัปชัน เริ่มมีการตรวจสอบการทุจริตอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรมมากขึ้น 77.32% อันดับ 7 ความตั้งใจ ความมุ่งมั่นในการทำงานของ คสช. ที่ประกาศออกมาให้ทราบโดยทั่วกัน 73.53% อันดับ 8 ชีวิตปลอดภัยมากขึ้น ทหารดูแลอย่างดี 73.14% อันดับ 9 มีการปราบปราม โจร ผู้ร้าย ยาเสพติดและอาวุธเถื่อน 71.96% อันดับ 10 มอบของขวัญ คืนความสุขให้ประชาชน ดูฟุตบอลโลก ดูหนังพระนเรศวรฟรี และการจัดกิจกรรมคืนความสุขให้ ประชาชนกระจายไปทุกจังหวัด 71.31%
**คสช.ควรเร่งปฏิรูปการเมือง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง คสช.กับการปฏิรูปประเทศ โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10 – 12 มิ.ย. จากประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,446 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับการเร่งดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.11 ระบุว่า ควรปฏิรูปด้านการเมือง เช่น ระบบการเลือกตั้ง การถ่วงดุลอำนาจ จริยธรรมนักการเมือง เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 35.82 ควรปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การคมนาคม การขนส่ง เป็นต้น ร้อยละ 35.27 ควรปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ เพื่อการกระจายรายได้ การลดความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น ร้อยละ 29.60 ควรปฏิรูปด้านสิ่งแวดล้อม
ร้อยละ 24.62 ควรปฏิรูปด้านสังคม เช่น การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการศึกษา ปัญหาสาธารณสุข เป็นต้น ร้อยละ 23.44 ควรปฏิรูประบบยุติธรรม เช่น ศาล อัยการ ตำรวจ เป็นต้น และร้อยละ 22.13 ควรปฏิรูประบบราชการ
**อีก 6 เดือนศก.-การเมือง จะดีขึ้น
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า”โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศจำนวน 1,093 คน เมื่อวันที่ 7–13 มิถุนายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.87 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยปรับสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 3.47 คะแนน (เพิ่มขึ้น 1.4 คะแนน) และมีคะแนนเพิ่มขึ้นในทุกด้าน
เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด (5.02 คะแนน) รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ (4.98 คะแนน) ส่วนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (4.62คะแนน)
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัด จากจำนวนทั้งสิ้น 12 ตัวชี้วัด พบว่า ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด (3.87คะแนน) เช่นเดียวกับผลการสำรวจเมื่อปี 2554 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการบริหารประเทศ ณ ปัจจุบัน ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้คะแนนมากที่สุด (5.96 คะแนน) ซึ่งเป็นระดับความเชื่อมั่นที่สูงเกินครึ่ง และสูงกว่าความเชื่อมั่นในปี 2554 อีกทั้งยังเป็นด้านที่ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุดในการสำรวจครั้งนี้
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนร้อยละ 66.8 เชื่อว่าจะดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 25.1 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม และมีเพียงร้อยละ 8.4 ที่เชื่อว่าจะแย่ลง
สุดท้ายเมื่อถามถึงความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย พบว่า ประชาชนร้อยละ 67.2 มีความภูมิใจมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 27.3 มีความภูมิใจมาก ร้อยละ 4.0 มีความภูมิใจน้อย และร้อยละ 1.5 มีความภูมิใจน้อยที่สุด