คนแวดวงสาธารณสุขเชื่อ “2 รมต.สาธารณสุข” แก้ปมค้างคาใน สธ. ได้ หมอเมืองเชื่อทำงานร่วมปลัด สธ. ฉลุย ขณะที่หมอชนบทเสนอ 4 ประเด็นใหญ่ที่ควรแก้ปัญหา รองปลัด สธ. เผยเร่งรวบรวมนโยบายเสนอแล้ว ขณะที่ รมช.สาธารณสุข น่าห่วง ถูกมองตัวแทนแพทย์ชนบทเมินทำงานเพื่อ รพ.ใหญ่ ถูกจี้พิสูจน์ตัวตน
วันนี้ (1 ก.ย.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวถึงกรณี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ สธ. ว่า ขอยินดีกับทั้งสองที่ได้รับตำแหน่ง โดย ศ.นพ.รัชตะ เป็นนักวิชาการที่ทำงานในโรงเรียนแพทย์มานาน เชื่อว่า เข้าใจปัญหาระบบสาธารณสุขไทย แต่ขอให้รับฟังปัญหาจากทุกฝ่าย และทำงานเพื่อแก้ปัญหาจริงๆ เพราะ สธ. ยังมีปัญหาที่ค้างคามานาน ส่วนการทำงานกับ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. นั้น ไม่คิดว่ามีปัญหา เพราะก่อนที่ ศ.นพ.รัชตะ จะได้รับการเสนอชื่อมาเป็น รมว.สาธารณสุข ก็เคยหารือกับปลัด สธ. ในเรื่องทิศทางปฏิรูปเขตสุขภาพ สธ. กับโรงเรียนแพทย์มาแล้ว ทั้งนี้ สพศท. จะขอเข้าพบ รมว.สาธารณสุข เพื่อหารือถึงการทำงานในอนาคต
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า ส่วน นพ.สมศักดิ์ เป็นคนดีคนหนึ่งที่ทำงานด้านวิชาการมานาน แต่ สพศท. อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า นพ.สมศักดิ์ เป็นตัวแทนของกลุ่มแพทย์ชนบทหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบในแวดวงมานานว่า นพ.สมศักดิ์ จัดเป็นมันสมองของแพทย์ชนบทมากว่า 30 ปี จึงกังวลว่ากลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับจังหวัดที่ให้บริการประชาชนจำนวนมากจะได้รับความสนใจหรือไม่ ซึ่งจะขอเข้าพบ รมช.สาธารณสุขเช่นกัน
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทยชนบท กล่าวว่า รัฐมนตรีทั้ง 2 คนน่าจะเข้ามาทำงานเพื่อขับเคลื่อน สธ. ต่อไปได้ เพราะมีความเข้าใจระบบสาธารณสุขเป็นอย่างดี โดยใน 1 - 2 สัปดาห์ ชมรมแพทย์ชนบทคงต้องขอเข้าพบเพื่อหารือ โดยจะเสนอ 4 ประเด็นคือ 1. บูรณาการ 3 กองทุน ประกอบด้วย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ เพราะเงื่อนไขแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกันมาก เป็นภาระต่อผู้ให้บริการ นอกจากนี้ ยังมีความซ้ำซ้อนของกองทุน เช่น พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก็ต้องแก้ไข รวมถึงหลักประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนชายขอบ ที่มีปัญหาเม็ดเงินไปถึงมือผู้ให้บริการไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า 2. การบริหารจัดการภายในของ สธ. ทั้งเรื่องบุคลากร และค่าตอบแทนต่างๆ เพราะเห็นได้ว่าขณะนี้มีฝ่ายต่างๆ ออกมาเรียกร้อง ทั้งลูกจ้างชั่วคราว และพยาบาล ค่าตอบแทนตามภาระงาน ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่ค้างคามานานตั้งแต่สมัย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารรสุคนเก่า และปลัด สธ.ยังคงสานต่อ มิเช่นนั้น บุคลากรภาครัฐจะไม่มีใครอยากอยู่ โดยเฉพาะชนบท 3.การปฏิรูปการดูแลผู้สูงอายุให้ดีขึ้น โดยบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่น เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า และ 4. การปฏิรูปเขตสุขภาพ ที่ปลัดสธ.กำลังดำเนินการอยู่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่สังคมค้องการ เพราะการปฏิรูปของปลัด สธ. ที่ให้ผู้ตรวจราชการฯ มีอำนาจในการบริหารจัดการเขตสุขภาพ เป็นการรวบอำนาจกลับสู่ปลัด สธ. เพราะอย่าลืมว่า สธ.เป็นเพียงผู้ให้บริการรายหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด จึงต้องบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่นด้วยคือ กลุ่ม โรงเรียนแพทย์ ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้ การปรับการบริหารจัดการงบเหมาจ่ายรายหัวสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาสู่เขตก็ไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้อง เพราะหากจะบูรณาการจริงๆ ต้องดึงงบจากกองทุนอื่นมารวมด้วยเช่นกัน และต้องมีการตรวจสอบแต่ละเขตสุขภาพว่าเขตใดล้าหลังที่สุด ก็ต้องได้รับการสนับสนุนมากขึ้น
ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า ส่วนตัวไม่รู้จัก ศ.นพ.รัชตะ มาก่อน จึงต้องขอดูนโยบายก่อนว่าจะออกมารูปแบบใด แต่ที่กังวลคือ ศ.นพ.รัชตะ เป็นนักวิชาการฝั่งโรงเรียนแพทย์ จึงกลัวว่าจะเน้นวิชาการมากเกินไปจนทำให้ขาดความเข้าใจในการปฏิบัติ ส่วน นพ.สมศักดิ์ อยู่ในแวดวงสาธารณสุขมานาน เมื่อทราบว่ามาดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุข ก็แปลกใจเพราะไม่คิดมาก่อน คงต้องรอดูการทำงานต่อไปเช่นกัน เพราะบางฝ่ายมองว่า นพ.สมศักดิ์ มาจากฝั่งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) หรือฝั่งตระกูล ส. จะทำให้การทำงานโน้มไปทางใดทางหนึ่งหรือไม่ ซึ่ง นพ.สมศักดิ์ ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตัวเองเข้าใจระบบสาธารณสุข และไม่โน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า รู้สึกยินดีกับทั้ง 2 ท่านที่ได้มาทำงานร่วมกัน ซึ่งตนเคยพบทั้ง 2 ท่านมาก่อน โดย ศ.นพ.รัชตะ ตนเคยหารือการทำงานเขตสุขภาพร่วมกับโรงเรียนแพทย์ ส่วนนพ.สมศักดิ์ เคยทำงานการปฏิรูป สธ.ในปี 2553 หลังจากนี้คิดว่าจะเดินหน้าทำงานเพื่อประชาชนได้
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า ศ.นพ.รัชตะ ได้ให้ สธ.รวบรวมข้อมูลนโยบายต่างๆ ทั้งหมด รวมทั้งเรื่องการบริหารผ่านเขตสุขภาพ เพื่อนำไปพิจารณาแล้ว
นายอัมมาร สยามวารา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ทั้ง 3 ท่านน่าจะเข้ามาแก้ปัญหา สธ.ได้อย่างดี โดยเฉพาะ รมช.สาธารณสุข ที่เป็นลูกหม้อ กระทรวงฯอยู่แล้ว น่าจะรู้ปัญหา เช่น การจัดสรรงบประมาณของ สปสช. ที่มีการรวบไว้ที่กระทรวง แห่งเดียว หรือการที่ สธ.พยายามรักษาให้มีโรงพยาบาลในสังกัดคงอยู่ทุกแห่ง ทั้งที่ความเป็นจริง อาจมีบางแห่งยุบรวม ได้ จึงทำยังคงมีงบประมาณมากระจุกไว้ที่กระทรวงเท่านั้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (1 ก.ย.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวถึงกรณี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ สธ. ว่า ขอยินดีกับทั้งสองที่ได้รับตำแหน่ง โดย ศ.นพ.รัชตะ เป็นนักวิชาการที่ทำงานในโรงเรียนแพทย์มานาน เชื่อว่า เข้าใจปัญหาระบบสาธารณสุขไทย แต่ขอให้รับฟังปัญหาจากทุกฝ่าย และทำงานเพื่อแก้ปัญหาจริงๆ เพราะ สธ. ยังมีปัญหาที่ค้างคามานาน ส่วนการทำงานกับ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. นั้น ไม่คิดว่ามีปัญหา เพราะก่อนที่ ศ.นพ.รัชตะ จะได้รับการเสนอชื่อมาเป็น รมว.สาธารณสุข ก็เคยหารือกับปลัด สธ. ในเรื่องทิศทางปฏิรูปเขตสุขภาพ สธ. กับโรงเรียนแพทย์มาแล้ว ทั้งนี้ สพศท. จะขอเข้าพบ รมว.สาธารณสุข เพื่อหารือถึงการทำงานในอนาคต
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า ส่วน นพ.สมศักดิ์ เป็นคนดีคนหนึ่งที่ทำงานด้านวิชาการมานาน แต่ สพศท. อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า นพ.สมศักดิ์ เป็นตัวแทนของกลุ่มแพทย์ชนบทหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบในแวดวงมานานว่า นพ.สมศักดิ์ จัดเป็นมันสมองของแพทย์ชนบทมากว่า 30 ปี จึงกังวลว่ากลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับจังหวัดที่ให้บริการประชาชนจำนวนมากจะได้รับความสนใจหรือไม่ ซึ่งจะขอเข้าพบ รมช.สาธารณสุขเช่นกัน
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทยชนบท กล่าวว่า รัฐมนตรีทั้ง 2 คนน่าจะเข้ามาทำงานเพื่อขับเคลื่อน สธ. ต่อไปได้ เพราะมีความเข้าใจระบบสาธารณสุขเป็นอย่างดี โดยใน 1 - 2 สัปดาห์ ชมรมแพทย์ชนบทคงต้องขอเข้าพบเพื่อหารือ โดยจะเสนอ 4 ประเด็นคือ 1. บูรณาการ 3 กองทุน ประกอบด้วย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ เพราะเงื่อนไขแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกันมาก เป็นภาระต่อผู้ให้บริการ นอกจากนี้ ยังมีความซ้ำซ้อนของกองทุน เช่น พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก็ต้องแก้ไข รวมถึงหลักประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนชายขอบ ที่มีปัญหาเม็ดเงินไปถึงมือผู้ให้บริการไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า 2. การบริหารจัดการภายในของ สธ. ทั้งเรื่องบุคลากร และค่าตอบแทนต่างๆ เพราะเห็นได้ว่าขณะนี้มีฝ่ายต่างๆ ออกมาเรียกร้อง ทั้งลูกจ้างชั่วคราว และพยาบาล ค่าตอบแทนตามภาระงาน ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่ค้างคามานานตั้งแต่สมัย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารรสุคนเก่า และปลัด สธ.ยังคงสานต่อ มิเช่นนั้น บุคลากรภาครัฐจะไม่มีใครอยากอยู่ โดยเฉพาะชนบท 3.การปฏิรูปการดูแลผู้สูงอายุให้ดีขึ้น โดยบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่น เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า และ 4. การปฏิรูปเขตสุขภาพ ที่ปลัดสธ.กำลังดำเนินการอยู่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่สังคมค้องการ เพราะการปฏิรูปของปลัด สธ. ที่ให้ผู้ตรวจราชการฯ มีอำนาจในการบริหารจัดการเขตสุขภาพ เป็นการรวบอำนาจกลับสู่ปลัด สธ. เพราะอย่าลืมว่า สธ.เป็นเพียงผู้ให้บริการรายหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด จึงต้องบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่นด้วยคือ กลุ่ม โรงเรียนแพทย์ ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้ การปรับการบริหารจัดการงบเหมาจ่ายรายหัวสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาสู่เขตก็ไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้อง เพราะหากจะบูรณาการจริงๆ ต้องดึงงบจากกองทุนอื่นมารวมด้วยเช่นกัน และต้องมีการตรวจสอบแต่ละเขตสุขภาพว่าเขตใดล้าหลังที่สุด ก็ต้องได้รับการสนับสนุนมากขึ้น
ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า ส่วนตัวไม่รู้จัก ศ.นพ.รัชตะ มาก่อน จึงต้องขอดูนโยบายก่อนว่าจะออกมารูปแบบใด แต่ที่กังวลคือ ศ.นพ.รัชตะ เป็นนักวิชาการฝั่งโรงเรียนแพทย์ จึงกลัวว่าจะเน้นวิชาการมากเกินไปจนทำให้ขาดความเข้าใจในการปฏิบัติ ส่วน นพ.สมศักดิ์ อยู่ในแวดวงสาธารณสุขมานาน เมื่อทราบว่ามาดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุข ก็แปลกใจเพราะไม่คิดมาก่อน คงต้องรอดูการทำงานต่อไปเช่นกัน เพราะบางฝ่ายมองว่า นพ.สมศักดิ์ มาจากฝั่งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) หรือฝั่งตระกูล ส. จะทำให้การทำงานโน้มไปทางใดทางหนึ่งหรือไม่ ซึ่ง นพ.สมศักดิ์ ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตัวเองเข้าใจระบบสาธารณสุข และไม่โน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า รู้สึกยินดีกับทั้ง 2 ท่านที่ได้มาทำงานร่วมกัน ซึ่งตนเคยพบทั้ง 2 ท่านมาก่อน โดย ศ.นพ.รัชตะ ตนเคยหารือการทำงานเขตสุขภาพร่วมกับโรงเรียนแพทย์ ส่วนนพ.สมศักดิ์ เคยทำงานการปฏิรูป สธ.ในปี 2553 หลังจากนี้คิดว่าจะเดินหน้าทำงานเพื่อประชาชนได้
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า ศ.นพ.รัชตะ ได้ให้ สธ.รวบรวมข้อมูลนโยบายต่างๆ ทั้งหมด รวมทั้งเรื่องการบริหารผ่านเขตสุขภาพ เพื่อนำไปพิจารณาแล้ว
นายอัมมาร สยามวารา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ทั้ง 3 ท่านน่าจะเข้ามาแก้ปัญหา สธ.ได้อย่างดี โดยเฉพาะ รมช.สาธารณสุข ที่เป็นลูกหม้อ กระทรวงฯอยู่แล้ว น่าจะรู้ปัญหา เช่น การจัดสรรงบประมาณของ สปสช. ที่มีการรวบไว้ที่กระทรวง แห่งเดียว หรือการที่ สธ.พยายามรักษาให้มีโรงพยาบาลในสังกัดคงอยู่ทุกแห่ง ทั้งที่ความเป็นจริง อาจมีบางแห่งยุบรวม ได้ จึงทำยังคงมีงบประมาณมากระจุกไว้ที่กระทรวงเท่านั้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่