ผลตรวจเลือดรอบ 2 หญิงไทยวัย 48 ปี ชัดเจน ไม่มีการติดเชื้อ “อีโบลา” แพทย์ให้กลับบ้านได้แล้ว สธ. ยัน พบเชื้ออีโบลาใน “ดีอาร์คองโก” คนละสายพันธุ์กับ 4 ประเทศแอฟริกาตะวันตก ไม่มีการระบาดข้ามพื้นที่ มาตรการเฝ้าระวังยังคงเดิม
วันนี้ (25 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการตรวจสอบอาการหญิงไทยวัย 48 ปี ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคติดเชื้ออีโบลาที่สถาบันบำราศนราดูรอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 นั้น อาการล่าสุดปกติดี ไม่มีไข้ ไม่มีผื่น สำหรับผลตรวจเลือดจากครั้งที่สองจากห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ผลเป็นลบ คือไม่พบการติดเชื้อแต่อย่างใด โดยจะนำผลการตรวจทั้งหมดส่งให้แก่คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในวันนี้
นพ.ศุภมิตร กล่าวอีกว่า สำหรับข่าวการระบาดของเชื้ออีโบลาที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือดีอาร์คองโก จำนวน 2 ราย ซึ่งอยู่นอกการระบาดพื้นที่แอฟริกาตะวันตกนั้น ไม่ใช่การระบาดข้ามพื้นที่ เนื่องจากเชื้ออีโบลาที่พบในคองโกจากการตรวจสอบพบเป็นคนละสายพันธุ์กับที่ระบาดในพื้นที่แอฟริกาตะวันตก โดยเชื้ออีโบลาที่คองโกเป็นสายพันธุ์ซูดาน ส่วนที่ระบาดใน 4 ประเทศแอฟริกาตะวันตกเป็นสายพันธุ์ซาอีร์ ซึ่งมีความรุนแรงกว่า ที่สำคัญไม่ใช่การผสมสองสายพันธุ์ตามที่เป็นข่าว ประกอบกับเชื้ออีโบลามีการระบาดทุกปีในพื้นที่ต่างๆ เป็นประจำอยู่แล้ว จึงไม่ใช่การระบาดข้ามพื้นที่
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออีโบลาล่าสุด พบว่า มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 2,615 ราย เสียชีวิต 1,427 ราย ใน 4 ประเทศ คือ กินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย สำหรับผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาจากไลบีเรียที่หนีออกจากสถานพยาบาลนั้น ขณะนี้ทางการติดตามตัวกลับมาได้แล้ว 17 คน ส่วนอาสาสมัครชาวอังกฤษที่ติดเชื้อนั้น ทางการอังกฤษจะนำตัวกลับไปรักษาที่ประเทศ ขณะที่ผู้เดินทางต้องสงสัยติดเชื้อในประเทศต่างๆ ทั้งพม่า อินโดนีเซีย และเวียดนามนั้น ผลตรวจเชื้อออกมาเป็นลบ ไม่มีการติดเชื้อแต่อย่างใด
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า WHO ไม่ได้มีคำแนะนำให้เพิ่มมาตรการป้องกันอะไรเป็นพิเศษ ขณะนี้ยังใช้มาตรการเฝ้าระวังการเข้าประเทศใน 3 กลุ่มคนเช่นเดิม แต่สิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ การเตรียมความพร้อมให้แก่สังคมไทยโดยการให้ความรู้ อย่างผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่การระบาดแล้วไม่แน่ใจก็สามารถแจ้งเข้ามาให้กรมฯ ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ หากประชาชนไม่ร่วมมือกันก็อาจเกิดเหตุจลาจลอย่างที่ประเทศไลบีเรียได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดหญิงวัย 48 ปีรายดังกล่าว ได้เดินทางออกจากสถาบันบำราศนราดูรแล้ว เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา เนื่องจากแพทย์ได้ทำเรื่องให้ออกจากโรงพยาบาลแล้วตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการตรวจสอบอาการหญิงไทยวัย 48 ปี ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคติดเชื้ออีโบลาที่สถาบันบำราศนราดูรอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 นั้น อาการล่าสุดปกติดี ไม่มีไข้ ไม่มีผื่น สำหรับผลตรวจเลือดจากครั้งที่สองจากห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ผลเป็นลบ คือไม่พบการติดเชื้อแต่อย่างใด โดยจะนำผลการตรวจทั้งหมดส่งให้แก่คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในวันนี้
นพ.ศุภมิตร กล่าวอีกว่า สำหรับข่าวการระบาดของเชื้ออีโบลาที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือดีอาร์คองโก จำนวน 2 ราย ซึ่งอยู่นอกการระบาดพื้นที่แอฟริกาตะวันตกนั้น ไม่ใช่การระบาดข้ามพื้นที่ เนื่องจากเชื้ออีโบลาที่พบในคองโกจากการตรวจสอบพบเป็นคนละสายพันธุ์กับที่ระบาดในพื้นที่แอฟริกาตะวันตก โดยเชื้ออีโบลาที่คองโกเป็นสายพันธุ์ซูดาน ส่วนที่ระบาดใน 4 ประเทศแอฟริกาตะวันตกเป็นสายพันธุ์ซาอีร์ ซึ่งมีความรุนแรงกว่า ที่สำคัญไม่ใช่การผสมสองสายพันธุ์ตามที่เป็นข่าว ประกอบกับเชื้ออีโบลามีการระบาดทุกปีในพื้นที่ต่างๆ เป็นประจำอยู่แล้ว จึงไม่ใช่การระบาดข้ามพื้นที่
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออีโบลาล่าสุด พบว่า มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 2,615 ราย เสียชีวิต 1,427 ราย ใน 4 ประเทศ คือ กินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย สำหรับผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาจากไลบีเรียที่หนีออกจากสถานพยาบาลนั้น ขณะนี้ทางการติดตามตัวกลับมาได้แล้ว 17 คน ส่วนอาสาสมัครชาวอังกฤษที่ติดเชื้อนั้น ทางการอังกฤษจะนำตัวกลับไปรักษาที่ประเทศ ขณะที่ผู้เดินทางต้องสงสัยติดเชื้อในประเทศต่างๆ ทั้งพม่า อินโดนีเซีย และเวียดนามนั้น ผลตรวจเชื้อออกมาเป็นลบ ไม่มีการติดเชื้อแต่อย่างใด
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า WHO ไม่ได้มีคำแนะนำให้เพิ่มมาตรการป้องกันอะไรเป็นพิเศษ ขณะนี้ยังใช้มาตรการเฝ้าระวังการเข้าประเทศใน 3 กลุ่มคนเช่นเดิม แต่สิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ การเตรียมความพร้อมให้แก่สังคมไทยโดยการให้ความรู้ อย่างผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่การระบาดแล้วไม่แน่ใจก็สามารถแจ้งเข้ามาให้กรมฯ ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ หากประชาชนไม่ร่วมมือกันก็อาจเกิดเหตุจลาจลอย่างที่ประเทศไลบีเรียได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดหญิงวัย 48 ปีรายดังกล่าว ได้เดินทางออกจากสถาบันบำราศนราดูรแล้ว เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา เนื่องจากแพทย์ได้ทำเรื่องให้ออกจากโรงพยาบาลแล้วตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่