รองปลัด สธ. แจงตั้งสำนักงานสาธารณสุขเขต ไม่ต้องเทงบสร้างออฟฟิศเพิ่ม อาศัยพื้นที่ทำงานใน สสจ. หรือ รพศ./รพท. พร้อมออกกฎกระทรวงรองรับโครงสร้าง ช่วยบุคลากรในสำนักงานมีความก้าวหน้า พร้อมร่างประกาศตั้ง ผอ.สำนักงานเขต คาดเสร็จใน 1 - 2 สัปดาห์ เผยขยายการทำงานเพิ่มจากงานบริการให้ครบ 5 มิติ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงข้อสงสัยกรณีการตั้งสำนักงานสาธารณสุขเขต (สสข.) จากการปฏิรูประบบบริการสุขภาพโดยแบ่งออกเป็น 12 เขต และ 1 เขต กทม. ซึ่ง สธ. เคยยืนยันมาตลอดว่าจะไม่มีการสร้างสำนักงาน ว่า จริงๆ แล้วตั้งแต่ทำเขตสุขภาพก็มีการตั้งสำนักงานสาธารณเขต (สสข.) หรือออฟฟิศอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มีการสร้างออฟฟิศเพิ่มขึ้นมาเป็นสำนักงานโดยเฉพาะ เพียงแต่อาศัยพื้นที่ที่มีอยู่แล้วในการทำงาน เพราะมีเพียง 1 - 2 ห้องก็สามารถทำงานได้แล้ว ทั้งนี้ สสข. ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในจังหวัดที่เป็นเจ้าภาพเขต บางเขตตั้งในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และมีเพียงเขตเดียวที่ตั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กของกรมสุขภาพจิต คือ จ.เชียงใหม่
นพ.วชิระ กล่าวว่า เดิมทีการตั้ง สสข. จัดเป็นเพียงโครงสร้างภายในของ สธ. เท่านั้น บุคลากรในการทำงานแต่ละเขตมีราว 20 - 40 คน อยู่ที่ประมาณงาน อาศัยการเกลี่ยบุคลากรมาทำงาน บางส่วนเกลี่ยมาจากส่วนกลางของ สธ. ซึ่งปลัด สธ. อยากให้เกลี่ยจากส่วนนี้ลงไป เพื่อเป็นการกระจายอำนาจลงไป อย่างไรก็ตาม ปีนี้จะทำให้โครงสร้างดังกล่าวมีความชัดเจนขึ้นภายใต้กฎกระทรวง ซึ่งจะทำให้บุคลากรที่มาทำงานมีความมั่นคงในหน้าที่การงานและความก้าวหน้า โดยใช้ออฟฟิศเดิมที่มีอยู่ ไม่ได้เป็นการสร้างออฟฟิศใหม่แต่อย่างใด
“นอกจากนี้ จะมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขเขตด้วย ซึ่งกำลังร่างอยู่ คาดว่า จะเสร็จในอีก 1-2 สัปดาห์ เป็นการแบ่งอำนาจปลัด สธ. มา โดยมีอำนาจเหนือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั้งนี้ จะทำหน้าที่เป็นเลขานุการในคณะกรรมการเขตสุขภาพแต่ละเขต มีหน้าที่ชงเรื่องต่างๆ เข้าสู่บอร์ด ตามทิศทางการบริหารงานจากคณะทำงานออกแบบเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติอนุมัติในหลักการ เปรียบเสมือนบอร์ดใหญ่อีกทีหนึ่ง” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวว่า การทำงานขณะนี้จะเรียกว่า “เขตสุขภาพ” ไม่ใช่ “เขตบริการสุขภาพ” อีกต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมาจะขับเคลื่อนเฉพาะงานบริการเท่านั้น แต่ปีนี้ได้ปรับรูปโฉมใหม่ ขยายขอบเขตหน้าที่ให้ครบ 5 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค บริหารงานผ่านคณะกรรมการที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทั้ง สธ. นักวิชาการ บุคลากรสาธารณสุขแต่ละวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย กองทัพ ภาคเอกชน ท้องถิ่น และประชาชน ซึ่งการขยายขอบเขตหน้าที่ก็จะช่วยให้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบได้ง่ายขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงข้อสงสัยกรณีการตั้งสำนักงานสาธารณสุขเขต (สสข.) จากการปฏิรูประบบบริการสุขภาพโดยแบ่งออกเป็น 12 เขต และ 1 เขต กทม. ซึ่ง สธ. เคยยืนยันมาตลอดว่าจะไม่มีการสร้างสำนักงาน ว่า จริงๆ แล้วตั้งแต่ทำเขตสุขภาพก็มีการตั้งสำนักงานสาธารณเขต (สสข.) หรือออฟฟิศอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มีการสร้างออฟฟิศเพิ่มขึ้นมาเป็นสำนักงานโดยเฉพาะ เพียงแต่อาศัยพื้นที่ที่มีอยู่แล้วในการทำงาน เพราะมีเพียง 1 - 2 ห้องก็สามารถทำงานได้แล้ว ทั้งนี้ สสข. ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในจังหวัดที่เป็นเจ้าภาพเขต บางเขตตั้งในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และมีเพียงเขตเดียวที่ตั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กของกรมสุขภาพจิต คือ จ.เชียงใหม่
นพ.วชิระ กล่าวว่า เดิมทีการตั้ง สสข. จัดเป็นเพียงโครงสร้างภายในของ สธ. เท่านั้น บุคลากรในการทำงานแต่ละเขตมีราว 20 - 40 คน อยู่ที่ประมาณงาน อาศัยการเกลี่ยบุคลากรมาทำงาน บางส่วนเกลี่ยมาจากส่วนกลางของ สธ. ซึ่งปลัด สธ. อยากให้เกลี่ยจากส่วนนี้ลงไป เพื่อเป็นการกระจายอำนาจลงไป อย่างไรก็ตาม ปีนี้จะทำให้โครงสร้างดังกล่าวมีความชัดเจนขึ้นภายใต้กฎกระทรวง ซึ่งจะทำให้บุคลากรที่มาทำงานมีความมั่นคงในหน้าที่การงานและความก้าวหน้า โดยใช้ออฟฟิศเดิมที่มีอยู่ ไม่ได้เป็นการสร้างออฟฟิศใหม่แต่อย่างใด
“นอกจากนี้ จะมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขเขตด้วย ซึ่งกำลังร่างอยู่ คาดว่า จะเสร็จในอีก 1-2 สัปดาห์ เป็นการแบ่งอำนาจปลัด สธ. มา โดยมีอำนาจเหนือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั้งนี้ จะทำหน้าที่เป็นเลขานุการในคณะกรรมการเขตสุขภาพแต่ละเขต มีหน้าที่ชงเรื่องต่างๆ เข้าสู่บอร์ด ตามทิศทางการบริหารงานจากคณะทำงานออกแบบเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติอนุมัติในหลักการ เปรียบเสมือนบอร์ดใหญ่อีกทีหนึ่ง” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวว่า การทำงานขณะนี้จะเรียกว่า “เขตสุขภาพ” ไม่ใช่ “เขตบริการสุขภาพ” อีกต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมาจะขับเคลื่อนเฉพาะงานบริการเท่านั้น แต่ปีนี้ได้ปรับรูปโฉมใหม่ ขยายขอบเขตหน้าที่ให้ครบ 5 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค บริหารงานผ่านคณะกรรมการที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทั้ง สธ. นักวิชาการ บุคลากรสาธารณสุขแต่ละวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย กองทัพ ภาคเอกชน ท้องถิ่น และประชาชน ซึ่งการขยายขอบเขตหน้าที่ก็จะช่วยให้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบได้ง่ายขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่