กรมธุรกิจพลังงาน จับมือ สสส. รณรงค์ปั๊มปลอดบุหรี่ “ทวงสิทธิ ห้ามสูบ” หวังลดปัญหาจากควันบุหรี่มือสอง พบสิงห์อมควันยึดห้องน้ำ สูบท้าทายกฎหมาย สร้างความเดือดร้อนให้ผู้ใช้บริการ เกือบครึ่งไม่ทราบว่ามีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในปั๊มน้ำมัน
วันนี้ (21 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงบางจาก สาขาวิภาวดีรังสิต นายปรัชญา สำเร็จ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ปลอดบุหรี่ “ทวงสิทธิ ห้ามสูบ” พร้อมเดินรณรงค์แจกสื่อและติดป้าย “ขอบคุณที่ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ห้ามสูบตามกฎหมาย” ภายในบริเวณสถานีฯและห้องน้ำ ทั้งนี้ ในงานมีการแสดงละครใบ้ ล้อเลียนพฤติกรรมสิงห์อมควัน ฝ่าฝืนสูบในที่ห้าม และมอบสื่อสติกเกอร์ ป้ายถาวรให้กับผู้แทนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
นายปรัชญา สำเร็จ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ ติดป้ายประกาศเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมายควบคุมบุหรี่ในปั๊มน้ำมันรวมถึงคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และ ตระหนักถึงพิษภัยของควันบุหรี่มือสอง ทั้งนี้ กรมธุรกิจพลังงานมีหน้าที่กำกับดูแลปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศตั้งแต่ขั้นตอนการออกใบอนุญาต ควบคุมคุณภาพความปลอดภัย และการบริการ ข้อมูลปี 2557 พบว่า มีปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้ง สถานี LPG และ NGV จำนวน 23,081 สถานีทั่วประเทศ ซึ่งตามกฎหมายแล้วปั๊มน้ำมันทุกแห่ง ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ มีโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนตามกฎหมาย ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานมีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้ชัดเจน ผู้เข้ามาใช้บริการสามารถสูบบุหรี่ได้ในบริเวณที่จัดไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น
“ปัจจุบันยังพบว่ามีประชาชนที่เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในพื้นที่ห้าม โดยเฉพาะในหรือหน้าห้องน้ำ จุดที่จัดไว้เป็นที่พักผ่อน รวมไปถึงสูบบนรถ หรือในลานจอดรถ ดังนั้น โครงการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงปลอดบุหรี่ “ทวงสิทธิ ห้ามสูบ” จึงนับเป็นโครงการที่จะเกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง คุ้มครองสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และเพื่อความปลอดภัยจากการก่อประกายไฟในสถานี อย่างไรก็ดี กรมธุรกิจพลังงานได้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ เผยแพร่สื่อดังกล่าวให้ครอบคลุมปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละจังหวัดแล้ว” นายปรัชญา กล่าว
นพ.ไพโรจน์ เสานวม ผู้อำนวยการกลุ่มงานติดตามและประเมินผล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่จากควันบุหรี่มือสอง ประเทศไทยได้กำหนดให้มี พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และตามกฎหมายการติดตั้งสติกเกอร์ หรือป้ายห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 100% จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกทั้งเป็นปัจจัยหนึ่งช่วยให้ผู้ต้องการเลิกสูบบุหรี่ทำได้ง่ายดายขึ้น เพราะมีสถานที่สูบจำกัด ส่งผลให้ใช้เวลาเลิกบุหรี่น้อยลง ทั้งนี้ จากข้อมูลเฉลี่ยคนไทยที่เลิกบุหรี่ได้จะติดบุหรี่นานถึง 23 ปี มีเพียง 3 ใน 10 คนเท่านั้น ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ ที่เหลือจะติดบุหรี่ไปตลอดชีวิต ซึ่งประเทศไทยพบ 2 ใน 3 ของคนที่ติดบุหรี่จะเริ่มติดก่อนอายุ 18 ปี ที่เหลือติดก่อนอายุ 25 ปี
นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า งานวิจัยล่าสุดเมื่อต้นปี2557 พบว่า ประชาชน 46% เคยพบเห็นป้ายหรือสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ห้าม อีก 54% ยังไม่เคยเห็นหรือไม่ทันสังเกต และสามลำดับแรกของสถานที่ที่พบเห็นมากที่สุด คือ โรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน และศาลาว่าการอำเภอ ตามลำดับ ขณะเดียวกัน หากดูข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ที่ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นผู้ใช้บริการในปั๊มน้ำมันในกรุงเทพฯ ช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ยังพบว่า รอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบเห็นการสูบบุหรี่ในปั๊มน้ำมันที่จัดให้เป็นพื้นที่สูบบุหรี่ได้ 15.48% นอกนั้น สูบในพื้นที่ห้าม อาทิ บริเวณห้องน้ำ 19.74% หน้าร้านสะดวกซื้อ 18.68% ร้านอาหารร้านกาแฟ 13.79% สวนหย่อม 13.25% และเป็นการสูบบนรถ 6.13% ที่สำคัญเกือบครึ่ง หรือ 45% ยังไม่ทราบว่ามีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในปั๊มน้ำมัน ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการรณรงค์ในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยส่งเสริมให้สังคมไทยลดปัญหาจากควันบุหรี่มือสอง เคารพกฎหมายและเคารพในสิทธิของผู้ไม่สูบบุหรี่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (21 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงบางจาก สาขาวิภาวดีรังสิต นายปรัชญา สำเร็จ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ปลอดบุหรี่ “ทวงสิทธิ ห้ามสูบ” พร้อมเดินรณรงค์แจกสื่อและติดป้าย “ขอบคุณที่ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ห้ามสูบตามกฎหมาย” ภายในบริเวณสถานีฯและห้องน้ำ ทั้งนี้ ในงานมีการแสดงละครใบ้ ล้อเลียนพฤติกรรมสิงห์อมควัน ฝ่าฝืนสูบในที่ห้าม และมอบสื่อสติกเกอร์ ป้ายถาวรให้กับผู้แทนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
นายปรัชญา สำเร็จ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ ติดป้ายประกาศเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมายควบคุมบุหรี่ในปั๊มน้ำมันรวมถึงคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และ ตระหนักถึงพิษภัยของควันบุหรี่มือสอง ทั้งนี้ กรมธุรกิจพลังงานมีหน้าที่กำกับดูแลปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศตั้งแต่ขั้นตอนการออกใบอนุญาต ควบคุมคุณภาพความปลอดภัย และการบริการ ข้อมูลปี 2557 พบว่า มีปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้ง สถานี LPG และ NGV จำนวน 23,081 สถานีทั่วประเทศ ซึ่งตามกฎหมายแล้วปั๊มน้ำมันทุกแห่ง ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ มีโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนตามกฎหมาย ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานมีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้ชัดเจน ผู้เข้ามาใช้บริการสามารถสูบบุหรี่ได้ในบริเวณที่จัดไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น
“ปัจจุบันยังพบว่ามีประชาชนที่เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในพื้นที่ห้าม โดยเฉพาะในหรือหน้าห้องน้ำ จุดที่จัดไว้เป็นที่พักผ่อน รวมไปถึงสูบบนรถ หรือในลานจอดรถ ดังนั้น โครงการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงปลอดบุหรี่ “ทวงสิทธิ ห้ามสูบ” จึงนับเป็นโครงการที่จะเกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง คุ้มครองสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และเพื่อความปลอดภัยจากการก่อประกายไฟในสถานี อย่างไรก็ดี กรมธุรกิจพลังงานได้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ เผยแพร่สื่อดังกล่าวให้ครอบคลุมปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละจังหวัดแล้ว” นายปรัชญา กล่าว
นพ.ไพโรจน์ เสานวม ผู้อำนวยการกลุ่มงานติดตามและประเมินผล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่จากควันบุหรี่มือสอง ประเทศไทยได้กำหนดให้มี พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และตามกฎหมายการติดตั้งสติกเกอร์ หรือป้ายห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 100% จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกทั้งเป็นปัจจัยหนึ่งช่วยให้ผู้ต้องการเลิกสูบบุหรี่ทำได้ง่ายดายขึ้น เพราะมีสถานที่สูบจำกัด ส่งผลให้ใช้เวลาเลิกบุหรี่น้อยลง ทั้งนี้ จากข้อมูลเฉลี่ยคนไทยที่เลิกบุหรี่ได้จะติดบุหรี่นานถึง 23 ปี มีเพียง 3 ใน 10 คนเท่านั้น ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ ที่เหลือจะติดบุหรี่ไปตลอดชีวิต ซึ่งประเทศไทยพบ 2 ใน 3 ของคนที่ติดบุหรี่จะเริ่มติดก่อนอายุ 18 ปี ที่เหลือติดก่อนอายุ 25 ปี
นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า งานวิจัยล่าสุดเมื่อต้นปี2557 พบว่า ประชาชน 46% เคยพบเห็นป้ายหรือสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ห้าม อีก 54% ยังไม่เคยเห็นหรือไม่ทันสังเกต และสามลำดับแรกของสถานที่ที่พบเห็นมากที่สุด คือ โรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน และศาลาว่าการอำเภอ ตามลำดับ ขณะเดียวกัน หากดูข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ที่ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นผู้ใช้บริการในปั๊มน้ำมันในกรุงเทพฯ ช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ยังพบว่า รอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบเห็นการสูบบุหรี่ในปั๊มน้ำมันที่จัดให้เป็นพื้นที่สูบบุหรี่ได้ 15.48% นอกนั้น สูบในพื้นที่ห้าม อาทิ บริเวณห้องน้ำ 19.74% หน้าร้านสะดวกซื้อ 18.68% ร้านอาหารร้านกาแฟ 13.79% สวนหย่อม 13.25% และเป็นการสูบบนรถ 6.13% ที่สำคัญเกือบครึ่ง หรือ 45% ยังไม่ทราบว่ามีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในปั๊มน้ำมัน ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการรณรงค์ในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยส่งเสริมให้สังคมไทยลดปัญหาจากควันบุหรี่มือสอง เคารพกฎหมายและเคารพในสิทธิของผู้ไม่สูบบุหรี่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่