ช่วงนี้ดิฉันตระเวนเดินสายทั่วทุกภูมิภาคตามโครงการประกวดเล่านิทานอย่างเป็นธรรมชาติในโครงการ “ลับสมองประลองปัญญา สรรหาหนูน้อยนักเล่านิทาน” ครั้งที่ 9 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โครงการนี้เป็นความร่วมมือของสำนักอุทยานการเรียนรู้ (ทีเคปาร์ก), มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม และนิตยสาร Mother&Care เพื่อสรรหาหนูน้อยนักเล่านิทานอย่างเป็นธรรมชาติและเหมาะสมกับวัย มี 2 รุ่น คือรุ่นอายุ 4-6 ปี และรุ่น 6-9 ปี
ขณะนี้สรรหาเสร็จสิ้นไปแล้ว 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่ขอนแก่น ภาคกลางจัดที่กรุงเทพมหานคร และภาคใต้จัดที่นครศรีธรรมราช ขาดอีก 2 ภูมิภาค คือภาคเหนือจัดที่เชียงใหม่ และภาคตะวันออก จัดที่ชลบุรี
โครงการนี้ดำเนินมาเป็นระยะเวลา 9 ปี สร้างหนูน้อยยอดนักเล่านิทานรุ่นแล้วรุ่นเล่า โดยมีเป้าหมายปลายทางก็เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยรักการอ่าน ส่งเสริมให้ครอบครัวเห็นความสำคัญในการเล่านิทานให้ลูกฟัง และเมื่อถึงวันที่เขาพร้อมก็ให้ลูกได้ฝึกทักษะในเรื่องการเล่า รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ ได้กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
ครั้งนี้ดิฉันนำเรื่องนี้มาเล่า สืบเนื่องมาจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ไปสรรหาหนูน้อยนักเล่านิทานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วได้มีโอกาสต้อนรับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย ซึ่งท่านแวะมาให้กำลังใจเด็กๆ ที่มาเข้าแข่งขันจากหลากหลายจังหวัดในภาคใต้ สร้างความประหลาดใจให้กับพ่อแม่และคุณครูจำนวนมาก เพราะไม่ได้มีกำหนดการไว้ล่วงหน้า แต่เกิดจากการประสานงานแบบกะทันหันของอาจารย์ครรชิต มนูญผล ศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง ดร.สุรินทร์ เห็นว่า เป็นโครงการที่ดีและควรส่งเสริมสนับสนุน จึงมาปรากฏตัว
เมื่อผู้ที่ทำงานบนเวทีโลก มีประสบการณ์ตรงเรื่องอาเซียนมาอย่างยาวนานมาปรากฏตัว จึงถูกร้องขอให้พูดถึงเด็กไทยกับความพร้อมก่อนจะเปิดเสรีอาเซียน
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องการศึกษาในบ้านเรา ต้องยอมรับว่าล้มเหลว และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องเร่งปฏิรูปเป็นการด่วน มิเช่นนั้นแล้ว เราจะไม่สามารถไปแข่งขันกับใครได้ เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านที่มีการตื่นตัว ที่ผ่านมา บ้านเรามัวแต่หลงใหลได้ปลื้มว่าเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร แล้วเราก็ทำอะไรโดยเสรี ในขณะที่ประเทศอื่นเขาพัฒนาไปข้างหน้า สามารถใช้ภาษาได้ดีกว่าเรา อีกทั้งระบบการศึกษาของไทยไม่ได้กระตุ้นให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ไม่ฝึกให้เด็กคิด
ขณะเดียวกัน ดร.สุรินทร์ ได้ให้แง่คิดและข้อคิดดีๆ ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และคุณครูในวันนั้นเกือบ 200 ชีวิต พูดถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมลูก และรับมือก่อนจะก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีอาเซียน ในปลายปี 2558 ไว้ 4 ประเด็นดังนี้
ประเด็นแรกต้องให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเอง
ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ผู้ใหญ่มักทำอะไรต่อมิอะไรให้เด็กเสมอ เด็กๆ ไม่ค่อยได้ทำอะไรด้วยตัวเอง เราต้องปล่อยให้เด็กๆ ได้ทำอะไรด้วยตัวเอง เผชิญกับปัญหาด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้เขาได้ฝึกคิด ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง และความเชื่อมั่นในตัวเองจะนำไปสู่การกล้าแสดงออก
ประเด็นที่สองส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
เด็กไทยยังขาดเรื่องนี้มาก ซึ่งจะว่าไปแล้วก็สอดคล้องกับข้อแรก ถ้าเด็กไม่ได้ทำอะไรด้วยตัวเอง หรือไม่ได้เผชิญอุปสรรคด้วยตัวเอง เด็กก็จะขาดความเชื่อมั่น ขาดความกล้า และสุดท้ายก็ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าแสดงความคิดความเห็น
ประเด็นที่สามต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารเป็นสากล แต่กลับพบว่าผลสำรวจทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยยังรั้งท้าย ทั้งที่ภาษาคือเครื่องมือสำหรับการแข่งขันบนเวทีภูมิภาคอาเซียนและในตลาดโลก
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี และเมื่อเด็กไทยมีปัญหาเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษก็ทำให้เราขาดองค์ความรู้มากมาย ยิ่งถ้าเราเข้าสู่โลกออนไลน์ ข้อมูลส่วนใหญ่จากทั่วโลกจะสื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ เราต้องแก้ไขจุดนี้ให้ได้
หรือแม้กระทั่งภาษาอื่นๆ ในอาเซียน ก็มีความสำคัญไม่น้อย ฉะนั้น ต้องเน้นให้เด็กรุ่นใหม่สามารถใช้ภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาไทยได้ดีด้วย
ประเด็นที่สี่เทคโนโลยี
โลกยุคนี้และอนาคตเป็นโลกแห่งเทคโนโลยี องค์ความรู้มากมายที่สามารถค้นคว้าได้เพียงปลายนิ้วด้วยการใช้ google ทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษหมด ที่ผ่านมาเด็กและเยาวชนไทยมีเครื่องมือไอทีและโทรศัพท์มือถือกันเกือบทุกคน เพียงแต่ว่าไม่ได้ใช้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มพูนปัญญาจากโลกออนไลน์ แต่กลับเอาไปใช้เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เล่นเกมมากกว่า จึงมีสถิติออกมาว่าคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนเครื่องมือไอทีที่มีอยู่
ที่จริงแค่ 4 ประการก็ไม่ได้ดูยากเย็นอะไรนัก แต่การจะปฏิบัติได้จริงๆ หากไม่ตั้งใจและวางแผนมาตั้งแต่ลูกยังเล็ก ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
เริ่มต้นเสียตั้งแต่วันนี้ยังไม่สายแน่นอน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
โครงการนี้เป็นความร่วมมือของสำนักอุทยานการเรียนรู้ (ทีเคปาร์ก), มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม และนิตยสาร Mother&Care เพื่อสรรหาหนูน้อยนักเล่านิทานอย่างเป็นธรรมชาติและเหมาะสมกับวัย มี 2 รุ่น คือรุ่นอายุ 4-6 ปี และรุ่น 6-9 ปี
ขณะนี้สรรหาเสร็จสิ้นไปแล้ว 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่ขอนแก่น ภาคกลางจัดที่กรุงเทพมหานคร และภาคใต้จัดที่นครศรีธรรมราช ขาดอีก 2 ภูมิภาค คือภาคเหนือจัดที่เชียงใหม่ และภาคตะวันออก จัดที่ชลบุรี
โครงการนี้ดำเนินมาเป็นระยะเวลา 9 ปี สร้างหนูน้อยยอดนักเล่านิทานรุ่นแล้วรุ่นเล่า โดยมีเป้าหมายปลายทางก็เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยรักการอ่าน ส่งเสริมให้ครอบครัวเห็นความสำคัญในการเล่านิทานให้ลูกฟัง และเมื่อถึงวันที่เขาพร้อมก็ให้ลูกได้ฝึกทักษะในเรื่องการเล่า รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ ได้กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
ครั้งนี้ดิฉันนำเรื่องนี้มาเล่า สืบเนื่องมาจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ไปสรรหาหนูน้อยนักเล่านิทานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วได้มีโอกาสต้อนรับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย ซึ่งท่านแวะมาให้กำลังใจเด็กๆ ที่มาเข้าแข่งขันจากหลากหลายจังหวัดในภาคใต้ สร้างความประหลาดใจให้กับพ่อแม่และคุณครูจำนวนมาก เพราะไม่ได้มีกำหนดการไว้ล่วงหน้า แต่เกิดจากการประสานงานแบบกะทันหันของอาจารย์ครรชิต มนูญผล ศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง ดร.สุรินทร์ เห็นว่า เป็นโครงการที่ดีและควรส่งเสริมสนับสนุน จึงมาปรากฏตัว
เมื่อผู้ที่ทำงานบนเวทีโลก มีประสบการณ์ตรงเรื่องอาเซียนมาอย่างยาวนานมาปรากฏตัว จึงถูกร้องขอให้พูดถึงเด็กไทยกับความพร้อมก่อนจะเปิดเสรีอาเซียน
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องการศึกษาในบ้านเรา ต้องยอมรับว่าล้มเหลว และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องเร่งปฏิรูปเป็นการด่วน มิเช่นนั้นแล้ว เราจะไม่สามารถไปแข่งขันกับใครได้ เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านที่มีการตื่นตัว ที่ผ่านมา บ้านเรามัวแต่หลงใหลได้ปลื้มว่าเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร แล้วเราก็ทำอะไรโดยเสรี ในขณะที่ประเทศอื่นเขาพัฒนาไปข้างหน้า สามารถใช้ภาษาได้ดีกว่าเรา อีกทั้งระบบการศึกษาของไทยไม่ได้กระตุ้นให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ไม่ฝึกให้เด็กคิด
ขณะเดียวกัน ดร.สุรินทร์ ได้ให้แง่คิดและข้อคิดดีๆ ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และคุณครูในวันนั้นเกือบ 200 ชีวิต พูดถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมลูก และรับมือก่อนจะก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีอาเซียน ในปลายปี 2558 ไว้ 4 ประเด็นดังนี้
ประเด็นแรกต้องให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเอง
ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ผู้ใหญ่มักทำอะไรต่อมิอะไรให้เด็กเสมอ เด็กๆ ไม่ค่อยได้ทำอะไรด้วยตัวเอง เราต้องปล่อยให้เด็กๆ ได้ทำอะไรด้วยตัวเอง เผชิญกับปัญหาด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้เขาได้ฝึกคิด ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง และความเชื่อมั่นในตัวเองจะนำไปสู่การกล้าแสดงออก
ประเด็นที่สองส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
เด็กไทยยังขาดเรื่องนี้มาก ซึ่งจะว่าไปแล้วก็สอดคล้องกับข้อแรก ถ้าเด็กไม่ได้ทำอะไรด้วยตัวเอง หรือไม่ได้เผชิญอุปสรรคด้วยตัวเอง เด็กก็จะขาดความเชื่อมั่น ขาดความกล้า และสุดท้ายก็ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าแสดงความคิดความเห็น
ประเด็นที่สามต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารเป็นสากล แต่กลับพบว่าผลสำรวจทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยยังรั้งท้าย ทั้งที่ภาษาคือเครื่องมือสำหรับการแข่งขันบนเวทีภูมิภาคอาเซียนและในตลาดโลก
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี และเมื่อเด็กไทยมีปัญหาเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษก็ทำให้เราขาดองค์ความรู้มากมาย ยิ่งถ้าเราเข้าสู่โลกออนไลน์ ข้อมูลส่วนใหญ่จากทั่วโลกจะสื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ เราต้องแก้ไขจุดนี้ให้ได้
หรือแม้กระทั่งภาษาอื่นๆ ในอาเซียน ก็มีความสำคัญไม่น้อย ฉะนั้น ต้องเน้นให้เด็กรุ่นใหม่สามารถใช้ภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาไทยได้ดีด้วย
ประเด็นที่สี่เทคโนโลยี
โลกยุคนี้และอนาคตเป็นโลกแห่งเทคโนโลยี องค์ความรู้มากมายที่สามารถค้นคว้าได้เพียงปลายนิ้วด้วยการใช้ google ทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษหมด ที่ผ่านมาเด็กและเยาวชนไทยมีเครื่องมือไอทีและโทรศัพท์มือถือกันเกือบทุกคน เพียงแต่ว่าไม่ได้ใช้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มพูนปัญญาจากโลกออนไลน์ แต่กลับเอาไปใช้เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เล่นเกมมากกว่า จึงมีสถิติออกมาว่าคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนเครื่องมือไอทีที่มีอยู่
ที่จริงแค่ 4 ประการก็ไม่ได้ดูยากเย็นอะไรนัก แต่การจะปฏิบัติได้จริงๆ หากไม่ตั้งใจและวางแผนมาตั้งแต่ลูกยังเล็ก ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
เริ่มต้นเสียตั้งแต่วันนี้ยังไม่สายแน่นอน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่