สธ. เตือนระวังปอดบวมช่วงฝนตก พบป่วยแล้วทั่วประเทศกว่า 1 แสนคน ตายแล้ว 521 ราย ผู้สูงอายุ - เด็กเล็กเสี่ยงสุดๆ แนะป่วยไข้ไม่ลด เสมหะมาก ไอ หายใจหอบเร็ว รีบพาพบแพทย์ช่วยเซฟชีวิต ย้ำรักษาสุขภาพเพิ่มภูมิต้านทาน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงฝนตกคนที่มีภูมิต้านทานน้อย อาจป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ที่พบบ่อยและอันตรายสูงคือโรคปอดบวม ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโรคติดเชื้อ พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จากรายการการเฝ้าระวังโรคปอดบวม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 21 ก.ค. 2557 พบผู้ป่วยรวม 102,194 คน เสียชีวิต 521 ราย กลุ่มที่ป่วยมากที่สุดคืออายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 35 รองลงมาคืออายุ 55 - 64 ปี และเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ทั้งนี้ ได้กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขทุกจังหวัด เร่งย้ำเตือนประชาชนในการดูแลสุขภาพ เพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยเฉพาะหากเปียกฝนให้รีบชำระล้างร่างกาย เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที อย่าทำงานหักโหม ไม่อดนอน เพราะจะทำให้ภูมิต้านทานลดลง
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ขอให้กลุ่มเสี่ยงสูงที่เมื่อเจ็บป่วยจะมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่นๆ ตามประกาศของ สธ. ได้แก่ 1. ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 2. เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 2 ปี 3. หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป และ 4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัดและเบาหวาน ให้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ฟรี ที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทุกแห่ง เพื่อความความเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และเกิดภาวะปอดบวมแทรกซ้อน
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า โรคปอดบวมเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง มีรายงานผู้เสียชีวิตมากที่สุด เกิดจากการติดเชื้อหลายชนิด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอ หายใจหอบเหนื่อย อาการมักจะเกิดตามหลังป่วยเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และอาการไข้อื่นๆ ที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม โดยไข้จะไม่ลด ผู้ป่วยจะไอ มีเสมหะมาก เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย บางครั้งการป่วยในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ อาการที่กล่าวมาข้างต้นอาจไม่ชัดเจนหรือไม่ครบทุกอย่าง ในผู้สูงอายุอาจจะมีไข้ต่ำๆ หรือตัวอุ่นๆ และซึมลง ส่วนในเด็กเล็ก อาจจะมีไข้สูง ซึมลง ไม่กินน้ำ กินนม หายใจหอบเร็วหรือหายใจมีเสียงดังหวีด หรือหายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม จมูกบานเวลาหายใจเข้า หากมีอาการที่กล่าวมา ขอให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที จะช่วยลดการเสียชีวิตลงได้
นพ.โสภณ กล่าวว่า โรคนี้ติดต่อกันง่ายทางการไอจามรดกัน หรือติดทางการสัมผัสน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ขอให้ประชาชนรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำห้องส้วม ไอจาม สัมผัสสิ่งของหรือตัวผู้ป่วย ซึ่งการล้างมือจะกำจัดเชื้อโรคที่ติดมากับมือได้ถึงร้อยละ 80 และหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่คนแออัด เป็นต้น
“ถ้าเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรหยุดเรียน หยุดทำงาน ควรใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอหรือจาม ไม่ซื้อยากินเองโดยเฉพาะยาแก้ไอให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ กินอย่างเด็ดขาด เนื่องจากในยาแก้ไอจะมีฤทธิ์กดอาการไอ ทำให้เสมหะและเชื้อโรคที่อยู่ในเสมหะคั่งอยู่ในถุงลมปอด ทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น วิธีที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้ป่วยจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ จะช่วยให้เสมหะอ่อนตัว และขับออกมาง่าย และเป็นการลดปริมาณเชื้อโรคในปอดได้ด้วย ในการสังเกตอาการหอบในเด็กที่ป่วย สามารถดูได้จากอัตราการหายใจ โดยเด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือนจะหายใจเร็วกว่า 60 ครั้งต่อนาที เด็กอายุ 2 - 11 เดือนหายใจเร็วกว่า 50 ครั้งต่อนาที เด็กอายุ 1 - 5 ปี หายใจเร็วกว่า 40 ครั้งต่อนาที” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า ปอดทำหน้าที่ในการหายใจ แลกเปลี่ยนอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เมื่อปอดติดเชื้อ เชื้อโรคจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวไปกำจัดเชื้อโรคที่เซลล์ปอด หลอดเลือดจะขยายตัวทำให้เกิดการคั่งของเลือดบริเวณที่อักเสบ ทำให้การระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง เกิดอาการไอ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หรือที่เรียกว่า อาการปอดบวมตามมา
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงฝนตกคนที่มีภูมิต้านทานน้อย อาจป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจได้ง่าย ที่พบบ่อยและอันตรายสูงคือโรคปอดบวม ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโรคติดเชื้อ พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จากรายการการเฝ้าระวังโรคปอดบวม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 21 ก.ค. 2557 พบผู้ป่วยรวม 102,194 คน เสียชีวิต 521 ราย กลุ่มที่ป่วยมากที่สุดคืออายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 35 รองลงมาคืออายุ 55 - 64 ปี และเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ทั้งนี้ ได้กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขทุกจังหวัด เร่งย้ำเตือนประชาชนในการดูแลสุขภาพ เพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยเฉพาะหากเปียกฝนให้รีบชำระล้างร่างกาย เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที อย่าทำงานหักโหม ไม่อดนอน เพราะจะทำให้ภูมิต้านทานลดลง
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ขอให้กลุ่มเสี่ยงสูงที่เมื่อเจ็บป่วยจะมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่นๆ ตามประกาศของ สธ. ได้แก่ 1. ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 2. เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 2 ปี 3. หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป และ 4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัดและเบาหวาน ให้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ฟรี ที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทุกแห่ง เพื่อความความเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และเกิดภาวะปอดบวมแทรกซ้อน
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า โรคปอดบวมเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง มีรายงานผู้เสียชีวิตมากที่สุด เกิดจากการติดเชื้อหลายชนิด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอ หายใจหอบเหนื่อย อาการมักจะเกิดตามหลังป่วยเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และอาการไข้อื่นๆ ที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม โดยไข้จะไม่ลด ผู้ป่วยจะไอ มีเสมหะมาก เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย บางครั้งการป่วยในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ อาการที่กล่าวมาข้างต้นอาจไม่ชัดเจนหรือไม่ครบทุกอย่าง ในผู้สูงอายุอาจจะมีไข้ต่ำๆ หรือตัวอุ่นๆ และซึมลง ส่วนในเด็กเล็ก อาจจะมีไข้สูง ซึมลง ไม่กินน้ำ กินนม หายใจหอบเร็วหรือหายใจมีเสียงดังหวีด หรือหายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม จมูกบานเวลาหายใจเข้า หากมีอาการที่กล่าวมา ขอให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที จะช่วยลดการเสียชีวิตลงได้
นพ.โสภณ กล่าวว่า โรคนี้ติดต่อกันง่ายทางการไอจามรดกัน หรือติดทางการสัมผัสน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ขอให้ประชาชนรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำห้องส้วม ไอจาม สัมผัสสิ่งของหรือตัวผู้ป่วย ซึ่งการล้างมือจะกำจัดเชื้อโรคที่ติดมากับมือได้ถึงร้อยละ 80 และหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่คนแออัด เป็นต้น
“ถ้าเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรหยุดเรียน หยุดทำงาน ควรใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอหรือจาม ไม่ซื้อยากินเองโดยเฉพาะยาแก้ไอให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ กินอย่างเด็ดขาด เนื่องจากในยาแก้ไอจะมีฤทธิ์กดอาการไอ ทำให้เสมหะและเชื้อโรคที่อยู่ในเสมหะคั่งอยู่ในถุงลมปอด ทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น วิธีที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้ป่วยจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ จะช่วยให้เสมหะอ่อนตัว และขับออกมาง่าย และเป็นการลดปริมาณเชื้อโรคในปอดได้ด้วย ในการสังเกตอาการหอบในเด็กที่ป่วย สามารถดูได้จากอัตราการหายใจ โดยเด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือนจะหายใจเร็วกว่า 60 ครั้งต่อนาที เด็กอายุ 2 - 11 เดือนหายใจเร็วกว่า 50 ครั้งต่อนาที เด็กอายุ 1 - 5 ปี หายใจเร็วกว่า 40 ครั้งต่อนาที” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า ปอดทำหน้าที่ในการหายใจ แลกเปลี่ยนอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เมื่อปอดติดเชื้อ เชื้อโรคจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวไปกำจัดเชื้อโรคที่เซลล์ปอด หลอดเลือดจะขยายตัวทำให้เกิดการคั่งของเลือดบริเวณที่อักเสบ ทำให้การระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง เกิดอาการไอ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หรือที่เรียกว่า อาการปอดบวมตามมา
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่