คนตื่นนักเตะแอฟริกันค้าแข้งไทยพรีเมียร์ลีกแพร่เชื้ออีโบลา กรมควบคุมโรคยันไม่จริง ชี้เข้าไทยมานานหลายเดือนเกินกว่าระยะฟักตัวของโรค ด้าน สสจ.พังงา ยันชายชาวพม่าไม่ได้ตายเพราะเชื้ออีโบลา และโรคฉี่หนู อย่างที่เข้าใจ เผยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด เร่งตรวจสอบสาเหตุเชิงลึก คาดรู้ผล 13 ส.ค.
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแรงงานต่างด้าวชาวพม่าป่วยและเสียชีวิต หลังย้ายเข้ามาอาศัยในหมู่บ้านหมู่ที่ 3 ต.บ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา โดยไม่ทราบสาเหตุ จนเกิดข่าวลือว่าป่วยเป็นโรคติดต่อ รวมถึงโรคติดเชื้ออีโบลา ว่า ชายชาวพม่าที่เสียชีวิตไม่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้ออีโบลาแน่นอน เนื่องจากไม่มีประวัติเดินทางหรือข้องเกี่ยวกับ 3 ประเทศแอฟริกาที่กำลังมีการระบาดอยู่ในขณะนี้ ขอประชาชนที่พบเจอการป่วยตายด้วยโรคเช่นนี้อย่าแตกตื่น ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตเป็นเพราะโรคติดเชื้อบางอย่าง สำหรับชาวแอฟริกันจาก 3 ประเทศ ที่มีการระบาดพบว่ายังคงมีการเดินทางเข้าออกประเทศไทยทุกวัน ประมาณ 10 กว่าราย แต่จากการติดตามตรวจสอบทุกรายในระยะเวลา 21 วัน พบว่ายังสบายดี ซึ่งกรมฯ มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีประชาชนบางส่วนกังวลว่านักฟุตบอลจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดที่เข้ามาร่วมทีมสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีกที่กำลังจัดขึ้นนี้ จะนำโรคติดเชื้ออีโบลาเข้ามานั้น ขอชี้แจงว่าเหล่านักฟุตบอลนั้นเดินทางเข้ามาประเทศไทยหลายเดือนแล้ว ไม่มีโอกาสสัมผัสเชื้ออีโบลา และพ้นระยะการฟักตัวของโรคไปนาน จึงไม่ใช่กลุ่มที่จะนำเชื้ออีโบลาเข้ามาแพร่ระบาดแต่อย่างใด ขออย่าเป็นกังวล ส่วนกรณีที่สหรัฐอเมริกาได้ส่งยา “ซีแมป” ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองรักษาโรคอีโบลา ไปช่วยบาทหลวงชาวสเปนที่ติดเชื้อนั้น ถือว่าเป็นความหวังใหม่ในการรักษา เพราะขณะนี้ทราบว่า แพทย์ชาวสหรัฐฯที่ติดเชื้อเช่นกัน ก็ได้ใช้ยาตัวนี้ในการรักษา อาการก็เริ่มดีขึ้นบ้าง
นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) พังงา กล่าวว่า ชายชาวพม่าที่เสียชีวิตนั้นจากลักษณะทางคลินิกและผลการชันสูตร ยืนยันว่า ไม่ได้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้ออีโบลา และไม่ใช่โรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู อย่างที่เข้าใจกัน แต่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ไม่ใช่เชื้อไวรัส ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงของการเพาะเชื้ออยู่ว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดใด และจะมีการสอบสวนโรคต่อไปด้วยว่าชายชาวพม่ามีการติดเชื้อดังกล่าวได้อย่างไร คาดว่าจะได้ข้อมูลที่แน่ชัดภายในวันที่ 13 ส.ค. และจะเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ชาวบ้านค่อนข้างตื่นตระหนกและพร้อมเชื่อว่าการเสียชีวิตแปลกๆ อาจเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้ออีโบลา นพ.ไพศาล กล่าวว่า เราคงต้องควบคุมข้อมูลให้นิ่ง ซึ่งวันที่ 13 ส.ค. จะแถลงผลการตรวจชายชาวพม่าอย่างเป็นทางการและตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน ไม่ให้ตกใจ เพราะข่าวที่ออกไปมีค่อนข้างหลากหลาย บางครั้งข้อมูลก็คลาดเคลื่อน จึงขอให้ข้อมูลครบถ้วนชัดเจนก่อนก็จะสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้าน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแรงงานต่างด้าวชาวพม่าป่วยและเสียชีวิต หลังย้ายเข้ามาอาศัยในหมู่บ้านหมู่ที่ 3 ต.บ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา โดยไม่ทราบสาเหตุ จนเกิดข่าวลือว่าป่วยเป็นโรคติดต่อ รวมถึงโรคติดเชื้ออีโบลา ว่า ชายชาวพม่าที่เสียชีวิตไม่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้ออีโบลาแน่นอน เนื่องจากไม่มีประวัติเดินทางหรือข้องเกี่ยวกับ 3 ประเทศแอฟริกาที่กำลังมีการระบาดอยู่ในขณะนี้ ขอประชาชนที่พบเจอการป่วยตายด้วยโรคเช่นนี้อย่าแตกตื่น ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตเป็นเพราะโรคติดเชื้อบางอย่าง สำหรับชาวแอฟริกันจาก 3 ประเทศ ที่มีการระบาดพบว่ายังคงมีการเดินทางเข้าออกประเทศไทยทุกวัน ประมาณ 10 กว่าราย แต่จากการติดตามตรวจสอบทุกรายในระยะเวลา 21 วัน พบว่ายังสบายดี ซึ่งกรมฯ มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีประชาชนบางส่วนกังวลว่านักฟุตบอลจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดที่เข้ามาร่วมทีมสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีกที่กำลังจัดขึ้นนี้ จะนำโรคติดเชื้ออีโบลาเข้ามานั้น ขอชี้แจงว่าเหล่านักฟุตบอลนั้นเดินทางเข้ามาประเทศไทยหลายเดือนแล้ว ไม่มีโอกาสสัมผัสเชื้ออีโบลา และพ้นระยะการฟักตัวของโรคไปนาน จึงไม่ใช่กลุ่มที่จะนำเชื้ออีโบลาเข้ามาแพร่ระบาดแต่อย่างใด ขออย่าเป็นกังวล ส่วนกรณีที่สหรัฐอเมริกาได้ส่งยา “ซีแมป” ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองรักษาโรคอีโบลา ไปช่วยบาทหลวงชาวสเปนที่ติดเชื้อนั้น ถือว่าเป็นความหวังใหม่ในการรักษา เพราะขณะนี้ทราบว่า แพทย์ชาวสหรัฐฯที่ติดเชื้อเช่นกัน ก็ได้ใช้ยาตัวนี้ในการรักษา อาการก็เริ่มดีขึ้นบ้าง
นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) พังงา กล่าวว่า ชายชาวพม่าที่เสียชีวิตนั้นจากลักษณะทางคลินิกและผลการชันสูตร ยืนยันว่า ไม่ได้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้ออีโบลา และไม่ใช่โรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู อย่างที่เข้าใจกัน แต่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ไม่ใช่เชื้อไวรัส ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงของการเพาะเชื้ออยู่ว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดใด และจะมีการสอบสวนโรคต่อไปด้วยว่าชายชาวพม่ามีการติดเชื้อดังกล่าวได้อย่างไร คาดว่าจะได้ข้อมูลที่แน่ชัดภายในวันที่ 13 ส.ค. และจะเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ชาวบ้านค่อนข้างตื่นตระหนกและพร้อมเชื่อว่าการเสียชีวิตแปลกๆ อาจเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้ออีโบลา นพ.ไพศาล กล่าวว่า เราคงต้องควบคุมข้อมูลให้นิ่ง ซึ่งวันที่ 13 ส.ค. จะแถลงผลการตรวจชายชาวพม่าอย่างเป็นทางการและตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน ไม่ให้ตกใจ เพราะข่าวที่ออกไปมีค่อนข้างหลากหลาย บางครั้งข้อมูลก็คลาดเคลื่อน จึงขอให้ข้อมูลครบถ้วนชัดเจนก่อนก็จะสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้าน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่