กรมอนามัยเตือนอาหารค้างคืน โภชนาการลดลง อันตรายต่อสุขภาพ ยิ่งเคี่ยว ต้ม ตุ๋นเนื้อสัตว์นานๆ อาจเกิดสารก่อมะเร็ง หากเก็บอาหารไม่ดี อาจปนเปื้อนเชื้อจนท้องเสีย แนะกินอาหารพอเหมาะ เพิ่มผักผลไม้
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การกินอาหารค้างคืนหรือมีการอุ่นซ้ำไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพ เพราะการอุ่นอาหารซ้ำซาก หรือตุ๋นเป็นระยะเวลาเกิน 4 ชั่วโมง จะทำให้คุณค่าโภชนาการในอาหารลดลง ซึ่งปัจจุบันพบว่า ประชาชนนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป หรือปรุงประกอบอาหารในปริมาณมาก เมื่อรับประทานไม่หมดแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อนำไปอุ่นกินใหม่ ดังนั้น จึงควรปรุงอาหารแต่ละมื้อให้พอกิน เพราะอาหารที่ปรุงสุกใหม่ คุณค่าทางโภชนาการจะมีมากกว่าอาหารอุ่นหลายครั้ง โดยเฉพาะพวกพะโล้ ซึ่งขณะปรุงจะมีการเคี่ยวด้วยน้ำตาล เพื่อรสชาติที่อร่อย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ข้อควรระวัง คือ เมื่อโปรตีนจากเนื้อสัตว์ถูกความร้อนจากการเคี่ยว ต้ม และตุ๋นเป็นเวลานาน เช่น ต้มจับฉ่าย มักถูกตรวจพบสารกลุ่มเฮตเตอโรไซคลิกเอมีน (heterocyclic amine) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่เกิดในความร้อนไม่สูงนัก เป็นการรวมตัวระหว่างครีเอตินีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำในเนื้อสัตว์ ที่มักไหลออกมาเวลาเอาเนื้อสัตว์ออกจากตู้แช่แข็ง กับเมลลาร์ดรีแอคชันโพรดักซ์ ซึ่งเป็นสารสีน้ำตาลในเนื้อที่ถูกทอดหรือตุ๋น และ 2. เกิดในความร้อนค่อนข้างสูงมากถึงกว่า 300 องศาเซลเซียส จากการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนในเนื้อสัตว์ระหว่างปรุงอาหาร เช่น การปิ้งหมู การย่างหมู เป็นต้น
“ส่วนอาหารประเภทผักสด ผัดผัก ผักลวก นึ่ง ต้ม ถ้าเหลือแล้วนำไปเก็บไว้กินมื้อต่อไป คุณค่าทางโภชนาการของผักก็จะลดลง และรสชาติเปลี่ยนไป หากมีการเก็บรักษาไม่ดีพอ อุณหภูมิไม่เหมาะสม จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนจะทำให้ท้องเสีย และยิ่งกินเนื้อแดงมากๆ จะมีแนวโน้มทำให้การกินผักและผลไม้ลดลง ทำให้การป้องกันเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไปจากกระบวนการ oxidation หรือการเกิดอนุมูลอิสระ เมื่อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด” อธิบดีกรมอนามัย
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ขอแนะนำให้กินผักสดเป็นประจำ อย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี เพราะในผักมีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย นอกจากนี้ การกินอาหารประเภทกะทิค้างคืนที่มีส่วนประกอบเป็นเนื้อสัตว์ หากมีการเก็บรักษาไม่ดีพอ หรืออุ่นด้วยความร้อนไม่ทั่วถึง อาจทำให้เน่าเสียได้ ส่วนการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีด้วยการกินอาหารตามหลักโภชนาการคือ 1. กินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2. กินผักต่างๆ มื้อละ 2 ทัพพี 3. กินผลไม้มื้อละ 1 - 2 ส่วน 4. เลือกวัตถุดิบในการปรุงที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมี 5. ลดอาหารหวาน มัน เค็ม มีการใช้กะทิ หรือน้ำมันทอดซ้ำ 6. ลดการกินอาหารแปรรูป มีสีเกินธรรมชาติ 7. เลี่ยงอาหารปรุงค้างคืน 8. ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผู้ชายรอบเอวไม่เกิน 90 ซม. ผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม. 9. ออกกำลังกาย 10. ทำใจให้สบาย คิดบวกเสมอ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การกินอาหารค้างคืนหรือมีการอุ่นซ้ำไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพ เพราะการอุ่นอาหารซ้ำซาก หรือตุ๋นเป็นระยะเวลาเกิน 4 ชั่วโมง จะทำให้คุณค่าโภชนาการในอาหารลดลง ซึ่งปัจจุบันพบว่า ประชาชนนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป หรือปรุงประกอบอาหารในปริมาณมาก เมื่อรับประทานไม่หมดแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อนำไปอุ่นกินใหม่ ดังนั้น จึงควรปรุงอาหารแต่ละมื้อให้พอกิน เพราะอาหารที่ปรุงสุกใหม่ คุณค่าทางโภชนาการจะมีมากกว่าอาหารอุ่นหลายครั้ง โดยเฉพาะพวกพะโล้ ซึ่งขณะปรุงจะมีการเคี่ยวด้วยน้ำตาล เพื่อรสชาติที่อร่อย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ข้อควรระวัง คือ เมื่อโปรตีนจากเนื้อสัตว์ถูกความร้อนจากการเคี่ยว ต้ม และตุ๋นเป็นเวลานาน เช่น ต้มจับฉ่าย มักถูกตรวจพบสารกลุ่มเฮตเตอโรไซคลิกเอมีน (heterocyclic amine) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่เกิดในความร้อนไม่สูงนัก เป็นการรวมตัวระหว่างครีเอตินีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำในเนื้อสัตว์ ที่มักไหลออกมาเวลาเอาเนื้อสัตว์ออกจากตู้แช่แข็ง กับเมลลาร์ดรีแอคชันโพรดักซ์ ซึ่งเป็นสารสีน้ำตาลในเนื้อที่ถูกทอดหรือตุ๋น และ 2. เกิดในความร้อนค่อนข้างสูงมากถึงกว่า 300 องศาเซลเซียส จากการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนในเนื้อสัตว์ระหว่างปรุงอาหาร เช่น การปิ้งหมู การย่างหมู เป็นต้น
“ส่วนอาหารประเภทผักสด ผัดผัก ผักลวก นึ่ง ต้ม ถ้าเหลือแล้วนำไปเก็บไว้กินมื้อต่อไป คุณค่าทางโภชนาการของผักก็จะลดลง และรสชาติเปลี่ยนไป หากมีการเก็บรักษาไม่ดีพอ อุณหภูมิไม่เหมาะสม จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนจะทำให้ท้องเสีย และยิ่งกินเนื้อแดงมากๆ จะมีแนวโน้มทำให้การกินผักและผลไม้ลดลง ทำให้การป้องกันเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไปจากกระบวนการ oxidation หรือการเกิดอนุมูลอิสระ เมื่อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด” อธิบดีกรมอนามัย
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ขอแนะนำให้กินผักสดเป็นประจำ อย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี เพราะในผักมีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย นอกจากนี้ การกินอาหารประเภทกะทิค้างคืนที่มีส่วนประกอบเป็นเนื้อสัตว์ หากมีการเก็บรักษาไม่ดีพอ หรืออุ่นด้วยความร้อนไม่ทั่วถึง อาจทำให้เน่าเสียได้ ส่วนการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีด้วยการกินอาหารตามหลักโภชนาการคือ 1. กินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2. กินผักต่างๆ มื้อละ 2 ทัพพี 3. กินผลไม้มื้อละ 1 - 2 ส่วน 4. เลือกวัตถุดิบในการปรุงที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมี 5. ลดอาหารหวาน มัน เค็ม มีการใช้กะทิ หรือน้ำมันทอดซ้ำ 6. ลดการกินอาหารแปรรูป มีสีเกินธรรมชาติ 7. เลี่ยงอาหารปรุงค้างคืน 8. ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผู้ชายรอบเอวไม่เกิน 90 ซม. ผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม. 9. ออกกำลังกาย 10. ทำใจให้สบาย คิดบวกเสมอ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่