นพ.ธรรมนิตย์ อังศุสิงห์
ประธานศูนย์ถันยรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิถันยรักษ์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทราบว่ามีข่าวตามสื่อ online ต่างๆ ที่ทำให้ผู้หญิงไทยสับสนว่า “...การทำแมมโมแกรมเพื่อค้นหามะเร็งเต้านม (Screening Mammogram) เลิกใช้กันแล้ว ยิ่งกว่านั้นการทำแมมโมแกรมมีการกดเต้านมและใช้รังสีทำให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านมอีกด้วย” จึงต้องการชี้แจง และอธิบายให้ผู้หญิงไทยทราบความจริง และมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
ปี 1980 สหรัฐอเมริกาได้รณรงค์การทำ Screening Mammogram เป็นนโยบายของประเทศ ผลในปี 1990 มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รวมทั้งผลวิจัยของสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ชี้ชัดว่าการทำ (Screening Mammogram) ช่วยชีวิตผู้หญิงได้ และอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากมะเร็งเต้านมได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าหากนับย้อนหลังไปเมื่อ 50 ปีก่อน เมื่อยังไม่มีการทำ Screening Mammogram จะพบว่าอัตราการเสียชีวิตสูงมาตลอด และมีแนวโน้มที่สูงขึ้น
กล่าวได้ว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม และได้รับการช่วยเหลือให้รอดชีวิตได้นั้น เป็นผลมาจากการทำ Screening Mammogram เป็นประจำมากกว่า 30% หรือประมาณ 15,000 - 20,000 คนต่อปี และผู้ที่เคยเป็น มะเร็งได้รับการรักษา และใช้ชีวิตเป็นปกติดีในสหรัฐอเมริกามีกว่า 2.6 ล้านคน
สำหรับประเทศไทย อัตราการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นทุกปี และเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยในปัจจุบัน และการทำ Screening Mammogram ในประเทศไทยก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันแต่ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคมรวมทั้งความไม่พร้อมด้วยจำนวนเครื่องมือที่เหมาะสม และจำนวนบุคลากรการแพทย์ยังไม่เพียงพอ ศูนย์ถันยรักษ์จึงแนะนำให้ผู้หญิงไทยเริ่มจากตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และทำสม่ำเสมอต่อเนื่อง เป็นพื้นฐานของการเฝ้าระวังตนเองจากภัยมะเร็งเต้านม เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ชี้ชัดว่า อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง ดังนั้น การป้องกัน ที่ดีที่สุด คือ การค้นพบให้เร็วที่สุด จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้
จากสถิติของศูนย์ถันยรักษ์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำให้ยืนยันได้ว่า การทำ Screening Mammogram มีประโยชน์อย่างมาก ทำให้ค้นพบได้เร็ว การค้นพบในระยะแรกๆ ทำให้การรักษามะเร็งเต้านมได้ผลดี และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้สูงขึ้น
จริงอยู่ที่ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมด้วยการใช้เคมีบำบัด หรือฉายรังสีได้พัฒนาก้าวหน้ามาก และมีประสิทธิผลสูง แต่การรักษาจะช่วยชีวิตได้ดียิ่งขึ้น ถ้าพบมะเร็งในระยะแรกและทำการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งหากไม่มีการทำ Screening Mammogram ก็คงเป็นไปได้ยากการกด และการใช้รังสี ทำให้เป็นมะเร็งเต้านม?
อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไทยเราสับสน และสงสัยคือ มีข่าวว่าการทำแมมโมแกรมต้องกดเจ็บและใช้รังสีซึ่งทำให้เป็นมะเร็งเต้านม
การทำแมมโมแกรมนั้น จำเป็นต้องกดเต้านม เพื่อให้เนื้อเยื่อกระจาย ให้รังสีผ่าน จะได้เห็นสิ่งผิดปกติในเนื้อเต้านมชัดเจน และรังสีที่ผู้มาตรวจได้รับนั้นน้อยลง และการกดนั้นไม่ได้เจ็บมากเหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว การทำด้วยเครื่อง Digital Mammogram ไม่ต้องกดเต้านมมากเหมือนก่อน และปรับปรุงเทคนิคการกด ศูนย์ถันยรักษ์ได้เก็บสถิติจากผู้มาตรวจแมมโมแกรม 60,000 ราย พบว่า 98% เจ็บแต่ทนได้
Health Physic Society ในสหรัฐอเมริกาและนโยบายของศูนย์ถันยรักษ์ก็คือคำนึงเรื่องการใช้ปริมาณรังสี ให้น้อยเท่าที่จำเป็นและให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มาตรวจ และ International Atomic Energy Agency (IAEA) ได้กำหนดปริมาณรังสีสำหรับแพทย์ นักรังสีการแพทย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้รังสี ต้องได้รับรังสีไม่เกินกว่า 20 mSv ต่อปี ถ้าจะเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้มาตรวจจะได้รับจากการถ่ายแมมโมแกรมสูงสุดคือ 1.44 mSv ต่อครั้ง (ถ่ายข้างละ 2 ภาพ) แต่ที่ทำกันอยู่ปัจจุบันไม่ถึง 1.44 mSv ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนรังสีนั้นน้อยมาก
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว Kalpana Kanal PhD. DABR อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีและฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยเรื่องนี้ว่า การทำแมมโมแกรม 1,000,000 คน อาจจะมีความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านมเพียง 6 คน เขาได้สรุปว่าอันตรายของรังสีจากการทำแมมโมแกรมมีน้อยมากแต่การทำแมมโมแกรมมีประโยชน์ความสำคัญยิ่งกว่ามาก
จึงขอให้มั่นใจว่า ปัจจุบันเรื่องการกดเต้านมและการใช้รังสีไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านม และเครื่องมือแมมโมแกรมมีการควบคุมมาตรฐานไม่ให้ผลิตรังสีเกินกว่ามาตรฐานอยู่แล้ว
ณ วันนี้ ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรปยังมีการทำ Screening Mammogram แพร่หลายและถือว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก เพราะมีผลวิจัยมีสถิติชัดเจนว่า การพบมะเร็ง ตั้งแต่ระยะแรกช่วยทำให้การผ่าตัด ให้เคมีบำบัด และใช้รังสีรักษา เกิดประสิทธิผลสูง ช่วยชีวิตผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย
มูลนิธิถันยรักษ์ฯ ได้ก่อตั้งศูนย์ถันยรักษ์ขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อบริการตรวจวินิจฉัยโรคเต้านมครบวงจรเกือบ 20 ปีแล้ว และดำเนินการตามมาตรฐานสากลเช่นกัน แนะนำส่งเสริมให้ผู้หญิงไทยตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ และทำ Screening Mammogram เป็นพื้นฐานเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้หญิงไทยพ้นภัยจากมะเร็งเต้านมตามพระราชประสงค์ของสมเด็จย่าที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ก่อตั้งมูลนิธิถันยรักษ์เพื่อผู้หญิงไทย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ประธานศูนย์ถันยรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิถันยรักษ์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทราบว่ามีข่าวตามสื่อ online ต่างๆ ที่ทำให้ผู้หญิงไทยสับสนว่า “...การทำแมมโมแกรมเพื่อค้นหามะเร็งเต้านม (Screening Mammogram) เลิกใช้กันแล้ว ยิ่งกว่านั้นการทำแมมโมแกรมมีการกดเต้านมและใช้รังสีทำให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านมอีกด้วย” จึงต้องการชี้แจง และอธิบายให้ผู้หญิงไทยทราบความจริง และมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
ปี 1980 สหรัฐอเมริกาได้รณรงค์การทำ Screening Mammogram เป็นนโยบายของประเทศ ผลในปี 1990 มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รวมทั้งผลวิจัยของสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ชี้ชัดว่าการทำ (Screening Mammogram) ช่วยชีวิตผู้หญิงได้ และอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากมะเร็งเต้านมได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าหากนับย้อนหลังไปเมื่อ 50 ปีก่อน เมื่อยังไม่มีการทำ Screening Mammogram จะพบว่าอัตราการเสียชีวิตสูงมาตลอด และมีแนวโน้มที่สูงขึ้น
กล่าวได้ว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม และได้รับการช่วยเหลือให้รอดชีวิตได้นั้น เป็นผลมาจากการทำ Screening Mammogram เป็นประจำมากกว่า 30% หรือประมาณ 15,000 - 20,000 คนต่อปี และผู้ที่เคยเป็น มะเร็งได้รับการรักษา และใช้ชีวิตเป็นปกติดีในสหรัฐอเมริกามีกว่า 2.6 ล้านคน
สำหรับประเทศไทย อัตราการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นทุกปี และเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยในปัจจุบัน และการทำ Screening Mammogram ในประเทศไทยก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันแต่ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคมรวมทั้งความไม่พร้อมด้วยจำนวนเครื่องมือที่เหมาะสม และจำนวนบุคลากรการแพทย์ยังไม่เพียงพอ ศูนย์ถันยรักษ์จึงแนะนำให้ผู้หญิงไทยเริ่มจากตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และทำสม่ำเสมอต่อเนื่อง เป็นพื้นฐานของการเฝ้าระวังตนเองจากภัยมะเร็งเต้านม เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ชี้ชัดว่า อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง ดังนั้น การป้องกัน ที่ดีที่สุด คือ การค้นพบให้เร็วที่สุด จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้
จากสถิติของศูนย์ถันยรักษ์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำให้ยืนยันได้ว่า การทำ Screening Mammogram มีประโยชน์อย่างมาก ทำให้ค้นพบได้เร็ว การค้นพบในระยะแรกๆ ทำให้การรักษามะเร็งเต้านมได้ผลดี และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้สูงขึ้น
จริงอยู่ที่ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมด้วยการใช้เคมีบำบัด หรือฉายรังสีได้พัฒนาก้าวหน้ามาก และมีประสิทธิผลสูง แต่การรักษาจะช่วยชีวิตได้ดียิ่งขึ้น ถ้าพบมะเร็งในระยะแรกและทำการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งหากไม่มีการทำ Screening Mammogram ก็คงเป็นไปได้ยากการกด และการใช้รังสี ทำให้เป็นมะเร็งเต้านม?
อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไทยเราสับสน และสงสัยคือ มีข่าวว่าการทำแมมโมแกรมต้องกดเจ็บและใช้รังสีซึ่งทำให้เป็นมะเร็งเต้านม
การทำแมมโมแกรมนั้น จำเป็นต้องกดเต้านม เพื่อให้เนื้อเยื่อกระจาย ให้รังสีผ่าน จะได้เห็นสิ่งผิดปกติในเนื้อเต้านมชัดเจน และรังสีที่ผู้มาตรวจได้รับนั้นน้อยลง และการกดนั้นไม่ได้เจ็บมากเหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว การทำด้วยเครื่อง Digital Mammogram ไม่ต้องกดเต้านมมากเหมือนก่อน และปรับปรุงเทคนิคการกด ศูนย์ถันยรักษ์ได้เก็บสถิติจากผู้มาตรวจแมมโมแกรม 60,000 ราย พบว่า 98% เจ็บแต่ทนได้
Health Physic Society ในสหรัฐอเมริกาและนโยบายของศูนย์ถันยรักษ์ก็คือคำนึงเรื่องการใช้ปริมาณรังสี ให้น้อยเท่าที่จำเป็นและให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มาตรวจ และ International Atomic Energy Agency (IAEA) ได้กำหนดปริมาณรังสีสำหรับแพทย์ นักรังสีการแพทย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้รังสี ต้องได้รับรังสีไม่เกินกว่า 20 mSv ต่อปี ถ้าจะเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้มาตรวจจะได้รับจากการถ่ายแมมโมแกรมสูงสุดคือ 1.44 mSv ต่อครั้ง (ถ่ายข้างละ 2 ภาพ) แต่ที่ทำกันอยู่ปัจจุบันไม่ถึง 1.44 mSv ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนรังสีนั้นน้อยมาก
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว Kalpana Kanal PhD. DABR อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีและฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยเรื่องนี้ว่า การทำแมมโมแกรม 1,000,000 คน อาจจะมีความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านมเพียง 6 คน เขาได้สรุปว่าอันตรายของรังสีจากการทำแมมโมแกรมมีน้อยมากแต่การทำแมมโมแกรมมีประโยชน์ความสำคัญยิ่งกว่ามาก
จึงขอให้มั่นใจว่า ปัจจุบันเรื่องการกดเต้านมและการใช้รังสีไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านม และเครื่องมือแมมโมแกรมมีการควบคุมมาตรฐานไม่ให้ผลิตรังสีเกินกว่ามาตรฐานอยู่แล้ว
ณ วันนี้ ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรปยังมีการทำ Screening Mammogram แพร่หลายและถือว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก เพราะมีผลวิจัยมีสถิติชัดเจนว่า การพบมะเร็ง ตั้งแต่ระยะแรกช่วยทำให้การผ่าตัด ให้เคมีบำบัด และใช้รังสีรักษา เกิดประสิทธิผลสูง ช่วยชีวิตผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย
มูลนิธิถันยรักษ์ฯ ได้ก่อตั้งศูนย์ถันยรักษ์ขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อบริการตรวจวินิจฉัยโรคเต้านมครบวงจรเกือบ 20 ปีแล้ว และดำเนินการตามมาตรฐานสากลเช่นกัน แนะนำส่งเสริมให้ผู้หญิงไทยตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ และทำ Screening Mammogram เป็นพื้นฐานเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้หญิงไทยพ้นภัยจากมะเร็งเต้านมตามพระราชประสงค์ของสมเด็จย่าที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ก่อตั้งมูลนิธิถันยรักษ์เพื่อผู้หญิงไทย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่