พม. ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแก้ กม. กระทำผิดค้ามนุษย์ต่อ คสช. เพิ่มโทษสั่งปิดโรงงาน สถานบริการ ห้ามเรือประมงออกเรือ ยึดทรัพย์ผู้กระทำชดเชยให้ผู้เสียหาย ด้านผู้แทน กต. เผยไทยถูกลดเป็นอันดับ 3 ยังไม่กระทบทางเศรษฐกิจ
วันนี้ (1 ส.ค.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในการเสวนา “ขับเคลื่อนและเร่งรัดการต้านการค้ามนุษย์” ในงาน ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ ว่า การที่สหรัฐอเมริกาประกาศลดอันดับประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการมนุษย์ให้ประเทศไทยลดไปอยู่ระดับ 3 เพราะมองว่าไทยยังมีปัญหาเรื่องการดำเนินการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ยังไม่ชัดเจน เช่น กรณีโรฮิงญา แรงงานประมง รวมทั้งกระบวนการสอบสวนไม่สามารถระบุผู้เกี่ยวข้องได้ เช่น ไต๋กงเรือประมง และการดำเนินคดียังไม่เด็ดขาด รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐของไทยทุจริตต่อหน้าที่โดยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการนำกลุ่มโรฮิงญาเข้ามาในไทย ซึ่ง พม. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ กระทรวงแรงงานอุดช่องโหว่เหล่านี้
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า ขณะนี้ดีเอสไอร่วมกับ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมเสนอขอแก้ไขกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยให้ผู้แจ้งตำรวจเรื่องการค้ามนุษย์ที่แจ้งโดยสุจริต ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งก็ไม่มีความผิดทางกฎหมายซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้
นอกจากมีโทษทางอาญาแล้ว ให้เพิ่มบทลงโทษทางการปกครองด้วยโดยให้ใช้อำนาจทางการปกครองสั่งปิดสถานประกอบการ สถานบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ รวมทั้งเรือประมงก็ต้องหยุดเดินเรือ อีกทั้งให้มีการยึดทรัพย์ผู้กระทำผิดการค้ามนุษย์และนำมาจ่ายเป็นเงินชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย
นอกจากนี้ จะเสนอให้การให้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีค้ามนุษย์ หากให้ประกันตัวจะต้องติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้กับร่างกายเพื่อป้องกันการหลบหนีเช่นเดียวกับคดียาเสพติด ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์นั้นได้ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีกลุ่มชาวโรฮิงญาซึ่งขอชี้แจงว่า คนกลุ่มนี้เข้ามาในไทยมีเป้าหมายเพื่อผ่านไปยังประเทศที่สาม จะมีความผิดในกรณีหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่หากมีกรณีชาวโรฮิงญาถูกหลอกลวง บังคับใช้แรงงานก็จะเป็นการกระทำผิดในเรื่องค้ามนุษย์ จึงต้องมีการคัดแยกผู้เสียหายให้ชัดเจนว่าอยู่ในกรณีใด ไม่ควรเหมารวมว่าเป็นการค้ามนุษย์ทั้งหมด จะทำให้ไทยเสียหายได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของแรงงานต่างด้าวประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้พบว่าแรงงานต่างด้าวบางคนรูปร่างเล็กเหมือนเด็ก แต่ในพาสปอร์ตระบุอายุ 19 - 20 ปี เมื่อนำไปตรวจร่างกายทางแพทย์ระบุมีอายุ 14 - 15 ปี จึงได้ประสานกับประเทศเพื่อนบ้านตรวจสอบในเรื่องนี้ รวมทั้งมีการประสานงานกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและติดตามผู้กระทำผิดด้านการค้ามนุษย์ด้วย
นายทรงศัก สายเชื้อ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า หลังจากอเมริกาประกาศผลให้ไทยอยู่ในระดับ 3 จนถึงขณะนี้ลูกค้าทางอเมริกายังคงมีการสั่งซื้อสินค้าจากไทยตามปกติ ไม่มีการระงับการสั่งซื้อ อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานในการชี้แจงและรายงานข้อมูลกับสถานทูตอเมริกาและหน่วยงานต่างๆ ของอเมริกาทั้งที่อยู่ในไทยและในอเมริกาอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ส่วนตลาดยุโรปก่อนหน้านี้ห้างคาร์ฟูร์ ร้านค้าปลีกในสเปนและโปรตุเกสบางส่วนระงับการซื้อสินค้าจากไทย รวมทั้งร้านค้าในอเมริกาและยุโรปมีผลกระทบบ้าง แต่ขณะนี้สถานการณ์ปกติแล้ว ซึ่งเดือนตุลาคมนี้กระทรวงการต่างประเทศจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปชี้แจงต่อประเทศแถบยุโรป
พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวว่า สตช. ไม่ได้ละเลยในการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ทุจริต ที่ผ่านมาได้มีการลงโทษทางวินัยกับตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ไปกว่า 10 คดี และได้กำชับไปยังตำรวจทั่วประเทศ หากทุจริตจะลงโทษอย่างเด็ดขาด รวมทั้งให้เร่งสอบสวนคดีการค้ามนุษย์ให้แล้วเสร็จโดยไม่ควรใช้เวลานานเกิน 7 วัน และส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาคดี
นางญาณี เลิศไกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังกัด พม. กล่าวว่า พม. ได้ให้การดูแลเหยื่อการค้ามนุษย์โดยให้การช่วยเหลือและคุ้มครองในฐานะพยาน ไม่ใช่อาชญากรโดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียหายอยู่บ้านพัก 725 คนในจำนวนนี้รับเข้าใหม่ 526 คน ปี 2556 รับเข้าใหม่ 681 คน และปี 2557 ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2557 ยังมีผู้เสียหายอยู่บ้านพัก 436 คน รับเข้าใหม่ 124 คน เป็นหญิง 3 คน และชาย 121 คน ซึ่งเป็นแรงงานด้านประมง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ส.ค.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในการเสวนา “ขับเคลื่อนและเร่งรัดการต้านการค้ามนุษย์” ในงาน ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ ว่า การที่สหรัฐอเมริกาประกาศลดอันดับประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการมนุษย์ให้ประเทศไทยลดไปอยู่ระดับ 3 เพราะมองว่าไทยยังมีปัญหาเรื่องการดำเนินการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ยังไม่ชัดเจน เช่น กรณีโรฮิงญา แรงงานประมง รวมทั้งกระบวนการสอบสวนไม่สามารถระบุผู้เกี่ยวข้องได้ เช่น ไต๋กงเรือประมง และการดำเนินคดียังไม่เด็ดขาด รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐของไทยทุจริตต่อหน้าที่โดยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการนำกลุ่มโรฮิงญาเข้ามาในไทย ซึ่ง พม. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ กระทรวงแรงงานอุดช่องโหว่เหล่านี้
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า ขณะนี้ดีเอสไอร่วมกับ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมเสนอขอแก้ไขกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยให้ผู้แจ้งตำรวจเรื่องการค้ามนุษย์ที่แจ้งโดยสุจริต ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งก็ไม่มีความผิดทางกฎหมายซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้
นอกจากมีโทษทางอาญาแล้ว ให้เพิ่มบทลงโทษทางการปกครองด้วยโดยให้ใช้อำนาจทางการปกครองสั่งปิดสถานประกอบการ สถานบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ รวมทั้งเรือประมงก็ต้องหยุดเดินเรือ อีกทั้งให้มีการยึดทรัพย์ผู้กระทำผิดการค้ามนุษย์และนำมาจ่ายเป็นเงินชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย
นอกจากนี้ จะเสนอให้การให้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีค้ามนุษย์ หากให้ประกันตัวจะต้องติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้กับร่างกายเพื่อป้องกันการหลบหนีเช่นเดียวกับคดียาเสพติด ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์นั้นได้ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีกลุ่มชาวโรฮิงญาซึ่งขอชี้แจงว่า คนกลุ่มนี้เข้ามาในไทยมีเป้าหมายเพื่อผ่านไปยังประเทศที่สาม จะมีความผิดในกรณีหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่หากมีกรณีชาวโรฮิงญาถูกหลอกลวง บังคับใช้แรงงานก็จะเป็นการกระทำผิดในเรื่องค้ามนุษย์ จึงต้องมีการคัดแยกผู้เสียหายให้ชัดเจนว่าอยู่ในกรณีใด ไม่ควรเหมารวมว่าเป็นการค้ามนุษย์ทั้งหมด จะทำให้ไทยเสียหายได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของแรงงานต่างด้าวประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้พบว่าแรงงานต่างด้าวบางคนรูปร่างเล็กเหมือนเด็ก แต่ในพาสปอร์ตระบุอายุ 19 - 20 ปี เมื่อนำไปตรวจร่างกายทางแพทย์ระบุมีอายุ 14 - 15 ปี จึงได้ประสานกับประเทศเพื่อนบ้านตรวจสอบในเรื่องนี้ รวมทั้งมีการประสานงานกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและติดตามผู้กระทำผิดด้านการค้ามนุษย์ด้วย
นายทรงศัก สายเชื้อ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า หลังจากอเมริกาประกาศผลให้ไทยอยู่ในระดับ 3 จนถึงขณะนี้ลูกค้าทางอเมริกายังคงมีการสั่งซื้อสินค้าจากไทยตามปกติ ไม่มีการระงับการสั่งซื้อ อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานในการชี้แจงและรายงานข้อมูลกับสถานทูตอเมริกาและหน่วยงานต่างๆ ของอเมริกาทั้งที่อยู่ในไทยและในอเมริกาอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ส่วนตลาดยุโรปก่อนหน้านี้ห้างคาร์ฟูร์ ร้านค้าปลีกในสเปนและโปรตุเกสบางส่วนระงับการซื้อสินค้าจากไทย รวมทั้งร้านค้าในอเมริกาและยุโรปมีผลกระทบบ้าง แต่ขณะนี้สถานการณ์ปกติแล้ว ซึ่งเดือนตุลาคมนี้กระทรวงการต่างประเทศจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปชี้แจงต่อประเทศแถบยุโรป
พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวว่า สตช. ไม่ได้ละเลยในการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ทุจริต ที่ผ่านมาได้มีการลงโทษทางวินัยกับตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ไปกว่า 10 คดี และได้กำชับไปยังตำรวจทั่วประเทศ หากทุจริตจะลงโทษอย่างเด็ดขาด รวมทั้งให้เร่งสอบสวนคดีการค้ามนุษย์ให้แล้วเสร็จโดยไม่ควรใช้เวลานานเกิน 7 วัน และส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาคดี
นางญาณี เลิศไกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังกัด พม. กล่าวว่า พม. ได้ให้การดูแลเหยื่อการค้ามนุษย์โดยให้การช่วยเหลือและคุ้มครองในฐานะพยาน ไม่ใช่อาชญากรโดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียหายอยู่บ้านพัก 725 คนในจำนวนนี้รับเข้าใหม่ 526 คน ปี 2556 รับเข้าใหม่ 681 คน และปี 2557 ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2557 ยังมีผู้เสียหายอยู่บ้านพัก 436 คน รับเข้าใหม่ 124 คน เป็นหญิง 3 คน และชาย 121 คน ซึ่งเป็นแรงงานด้านประมง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่