พบสถิติรุนแรงต่อเด็ก - ผู้หญิงในไทยพุ่งสูง ปี 56 มากถึง 3.1 หมื่นราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย รุนแรงเป็นอันดับที่ 36 ของโลก ระบุส่วนใหญ่คือการล่วงละเมิดทางเพศ สธ. เร่งขยาย “ศูนย์พึ่งได้” บริการเยียวยารักษาแผลกาย - ใจ - สังคมเบ็ดเสร็จ ที่จุดเดียวฟรี ขยายลงสู่ รพ.สต.
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 1 ส.ค. ของทุกปี เป็นวันสตรีไทย ซึ่งทุกวันนี้มีความน่าเป็นห่วงกรณีปัญหาเด็กและสตรีถูกกระทำรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยหน่วยงานสตรีขององค์การสหประชาชาติ (UN Women) รายงานว่าในปี 2556 ประเทศไทยมีเด็กและสตรีถูกกระทำรุนแรงสูงขึ้น ซึ่งเป็นความรุนแรงต่อคู่ของตนเอง โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 36 จาก 75 ประเทศที่มีการกระทำรุนแรงทางกายมากที่สุด และอยู่ในลำดับที่ 7 จาก 71 ประเทศที่มีการกระทำรุนแรงทางเพศมากที่สุด
“ปัญหาของการถูกกระทำรุนแรง ทั้งทำร้ายร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะการดูแลด้านจิตใจ เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลทางใจ โดยเฉพาะเด็ก ซึ่งยังดูแลตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพิงการดูแลจากผู้ใหญ่ และที่ผ่านมาสังคมยังมีความเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในครอบครัว หรือเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงทำให้ผู้ที่ถูกกระทำไม่ได้รับการดูแลแก้ไขตั้งแต่ต้น เกิดปัญหาตามมา เช่น การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า สธ. ได้จัดตั้ง “ศูนย์พึ่งได้” ในโรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับ เพื่อให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรี รวมถึงบุคคลในครอบครัว อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ถูกกระทำรุนแรงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางเพศ อย่างครบวงจรเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว เป็นบริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมตั้งแต่การรักษาพยาบาล เช่น การป้องกันการตั้งครรภ์ ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ และการประสานหน่วยงานช่วยเหลือด้านกฎหมายและด้านสวัสดิการสังคมอื่นๆ ที่จำเป็น โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ บูรณาการทำงานแบบทีมสหวิชาชีพ ปัจจุบันได้ตั้งศูนย์พึ่งได้แล้ว 829 แห่ง อยู่ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปรวม 95 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 734 แห่ง
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มีแผนขยายบริการลงสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งอยู่ใกล้ชิดชุมชนที่สุด มี 9,750 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นหน่วยรับแจ้งเหตุ คัดกรอง ส่งต่อ เชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนดูแลป้องกันกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. การกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ 2. การกระทำรุนแรงทางเพศ รวมถึงปัญหาท้องไม่พร้อม/คุณแม่วัยใส 3. การใช้แรงงานเด็ก และ 4. การค้ามนุษย์ โดยในปี 2558 นำร่องที่จังหวัดชุมพรและระยองก่อน เพื่อเป็นต้นแบบและขยายไปจังหวัดอื่นๆ ตั้งเป้าหมายให้ได้ร้อยละ 20
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า สถานการณ์การกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก เพียงเวลา 1 ปียอดพุ่งขึ้นร้อยละ 35 ตลอดปี 2556 ศูนย์พึ่งได้ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง รวม 31,966 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย หรือชั่วโมงละ 3 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กร้อยละ 60 สตรีร้อยละ 40 ขณะที่ในปี 2555 มีจำนวน 20,582 ราย เฉลี่ยวันละ 56 ราย โดยความรุนแรงที่เกิดในกลุ่มเด็ก พบว่าเกือบร้อยละ 90 เป็นเด็กหญิง พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10 - 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 61 รองลงมาคืออายุ 15 - 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 22 โดยถูกล่วงละเมิดทางเพศมากเป็นอันดับ 1 จำนวน 13,226 ราย คิดเป็นร้อยละ 69 รองลงมาเป็นการทำร้ายร่างกาย 4,256 ราย ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เด็กรู้จัก ไว้วางใจ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น แฟน รองลงมาคือเพื่อน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ สื่อลามก ความใกล้ชิด และโอกาสเอื้ออำนวย เป็นต้น
นพ.วชิระ กล่าวด้วยว่า ส่วนความรุนแรงในกลุ่มสตรี พบมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอายุ 24 - 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 74 ปัญหาอันดับ 1 ที่พบได้แก่ การทำร้ายร่างกาย 9,699 ราย คิดเป็นร้อยละ 77 รองลงมาคือถูกกระทำทางเพศ 2,226 ราย คิดเป็นร้อยละ 18 ผู้กระทำเป็นคู่สมรสมากที่สุดร้อยละ 53 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนอกใจ หึงหวง ทะเลาะวิวาทกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันแก้ไข ป้องกัน หากประชาชนพบเห็นเหตุการณ์ผู้ถูกกระทำรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่ท่านรู้จักหรือไม่ก็ตาม โปรดแจ้ง 1669 หรือ 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 1 ส.ค. ของทุกปี เป็นวันสตรีไทย ซึ่งทุกวันนี้มีความน่าเป็นห่วงกรณีปัญหาเด็กและสตรีถูกกระทำรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยหน่วยงานสตรีขององค์การสหประชาชาติ (UN Women) รายงานว่าในปี 2556 ประเทศไทยมีเด็กและสตรีถูกกระทำรุนแรงสูงขึ้น ซึ่งเป็นความรุนแรงต่อคู่ของตนเอง โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 36 จาก 75 ประเทศที่มีการกระทำรุนแรงทางกายมากที่สุด และอยู่ในลำดับที่ 7 จาก 71 ประเทศที่มีการกระทำรุนแรงทางเพศมากที่สุด
“ปัญหาของการถูกกระทำรุนแรง ทั้งทำร้ายร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะการดูแลด้านจิตใจ เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลทางใจ โดยเฉพาะเด็ก ซึ่งยังดูแลตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพิงการดูแลจากผู้ใหญ่ และที่ผ่านมาสังคมยังมีความเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในครอบครัว หรือเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงทำให้ผู้ที่ถูกกระทำไม่ได้รับการดูแลแก้ไขตั้งแต่ต้น เกิดปัญหาตามมา เช่น การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์” รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า สธ. ได้จัดตั้ง “ศูนย์พึ่งได้” ในโรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับ เพื่อให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรี รวมถึงบุคคลในครอบครัว อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ถูกกระทำรุนแรงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางเพศ อย่างครบวงจรเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว เป็นบริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมตั้งแต่การรักษาพยาบาล เช่น การป้องกันการตั้งครรภ์ ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ และการประสานหน่วยงานช่วยเหลือด้านกฎหมายและด้านสวัสดิการสังคมอื่นๆ ที่จำเป็น โดยมีทีมแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ บูรณาการทำงานแบบทีมสหวิชาชีพ ปัจจุบันได้ตั้งศูนย์พึ่งได้แล้ว 829 แห่ง อยู่ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปรวม 95 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 734 แห่ง
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มีแผนขยายบริการลงสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งอยู่ใกล้ชิดชุมชนที่สุด มี 9,750 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นหน่วยรับแจ้งเหตุ คัดกรอง ส่งต่อ เชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนดูแลป้องกันกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. การกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ 2. การกระทำรุนแรงทางเพศ รวมถึงปัญหาท้องไม่พร้อม/คุณแม่วัยใส 3. การใช้แรงงานเด็ก และ 4. การค้ามนุษย์ โดยในปี 2558 นำร่องที่จังหวัดชุมพรและระยองก่อน เพื่อเป็นต้นแบบและขยายไปจังหวัดอื่นๆ ตั้งเป้าหมายให้ได้ร้อยละ 20
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า สถานการณ์การกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก เพียงเวลา 1 ปียอดพุ่งขึ้นร้อยละ 35 ตลอดปี 2556 ศูนย์พึ่งได้ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง รวม 31,966 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย หรือชั่วโมงละ 3 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กร้อยละ 60 สตรีร้อยละ 40 ขณะที่ในปี 2555 มีจำนวน 20,582 ราย เฉลี่ยวันละ 56 ราย โดยความรุนแรงที่เกิดในกลุ่มเด็ก พบว่าเกือบร้อยละ 90 เป็นเด็กหญิง พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10 - 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 61 รองลงมาคืออายุ 15 - 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 22 โดยถูกล่วงละเมิดทางเพศมากเป็นอันดับ 1 จำนวน 13,226 ราย คิดเป็นร้อยละ 69 รองลงมาเป็นการทำร้ายร่างกาย 4,256 ราย ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เด็กรู้จัก ไว้วางใจ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น แฟน รองลงมาคือเพื่อน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ สื่อลามก ความใกล้ชิด และโอกาสเอื้ออำนวย เป็นต้น
นพ.วชิระ กล่าวด้วยว่า ส่วนความรุนแรงในกลุ่มสตรี พบมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอายุ 24 - 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 74 ปัญหาอันดับ 1 ที่พบได้แก่ การทำร้ายร่างกาย 9,699 ราย คิดเป็นร้อยละ 77 รองลงมาคือถูกกระทำทางเพศ 2,226 ราย คิดเป็นร้อยละ 18 ผู้กระทำเป็นคู่สมรสมากที่สุดร้อยละ 53 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนอกใจ หึงหวง ทะเลาะวิวาทกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันแก้ไข ป้องกัน หากประชาชนพบเห็นเหตุการณ์ผู้ถูกกระทำรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่ท่านรู้จักหรือไม่ก็ตาม โปรดแจ้ง 1669 หรือ 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่