สธ. ชี้ไทยเสี่ยงไวรัสอีโบลาระบาดต่ำ ระบุมีระบบเฝ้าระวังป้องกันเข้ม เตือนประชาชนหลังเดินทางไปในพื้นที่ระบาด หากมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ข้อ และช่องท้องรุนแรง ขอให้รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง
วันนี้ (30 ก.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีการระบาดหนักของเชื้อไวรัสอีโบลาในทวีปแอฟริกา ทั้งประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ซึ่งล่าสุด นพ.ชีคห์ อูมาร์ ข่าน นายแพทย์ใหญ่แกนนำต่อสู้กับไวรัสอีโบลาแห่งเซียร์ราลีโอน ได้เสียชีวิตจากการติดเชื้อแล้ว รวมถึงมีผู้ติดเชื้อหลบหนีออกจากโรงพยาบาลหลังพบผลตรวจเลือดเป็นบวก ว่า แม้ประเทศไทยจะไม่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา และมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรคระบาด แต่ สธ. ก็ได้มีการจัดระบบเฝ้าระวังป้องกัน 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 1. ให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (คร.) ติดตามสถานการณ์โรคจากองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษา หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัยให้รายงานทันที
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า 2. ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เข้มมาตรการดูแลรักษาหากมีผู้ป่วยมีอาการในข่ายสงสัย โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส เป็นต้น และ 3. ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งไทยมีความร่วมมือใกล้ชิดกับศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (US-CDC) ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. กล่าวว่า โรคอีโบลาเป็นกลุ่มโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง อัตราการแพร่ระบาดสูงและเร็ว มีอัตราตายค่อนข้างสูงคือร้อยละ 50 - 90 เชื้อมีระยะฟักตัว 2 - 21 วัน อาการของผู้ป่วยคือมีไข้สูงทันที อ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะมาก ตามด้วยอาการเจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงขึ้นตามตัว ในรายที่อาการรุนแรง หรือในบางรายที่เสียชีวิตจะมีอาการเลือดออกง่าย โดยมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวาย มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางและช็อก อวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำห้ามเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง อย่างไรก็ตาม การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทั้งประชาชนทั่วไป และผู้ที่จะเดินทางไปในพื้นที่การระบาด ดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย 2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร 3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เนื่องจากเชื้ออาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพของผู้เสียชีวิต 4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายและล้างมือบ่อยๆ
“หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดโรคชนิดนี้ ขอให้รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง เพื่อให้การดูแล ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต” อธิบดี คร. กล่าว
อนึ่ง เชื้อไวรัสอีโบลา มี 5 สายพันธุ์ โดยมี 3 สายพันธุ์ที่รุนแรง ได้แก่ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์บันดิบูเกียว ทำให้เกิดการระบาดในแอฟริกา อัตราการป่วยตายร้อยละ 25 - 90 เชื้อไวรัสชนิดนี้จะติดต่อกันได้ในช่วงหลังปรากฏอาการไข้แล้ว โดยติดทางการสัมผัสเลือด อุจจาระ หรือเหงื่อของผู้ป่วยโดยตรง หรือมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสศพผู้เสียชีวิตจากโรคนี้โดยไม่มีการป้องกัน โดยองค์การอนามัยโลก สรุปยอดผู้ป่วย ณ วันที่ 20 ก.ค. พบผู้ป่วย 1,093 ราย เสียชีวิต 660 ราย พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รายล่าสุดที่พบในประเทศไนจีเรีย ( Nigeria) เสียชีวิตเมื่อ 25 ก.ค. ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (30 ก.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีการระบาดหนักของเชื้อไวรัสอีโบลาในทวีปแอฟริกา ทั้งประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ซึ่งล่าสุด นพ.ชีคห์ อูมาร์ ข่าน นายแพทย์ใหญ่แกนนำต่อสู้กับไวรัสอีโบลาแห่งเซียร์ราลีโอน ได้เสียชีวิตจากการติดเชื้อแล้ว รวมถึงมีผู้ติดเชื้อหลบหนีออกจากโรงพยาบาลหลังพบผลตรวจเลือดเป็นบวก ว่า แม้ประเทศไทยจะไม่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา และมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรคระบาด แต่ สธ. ก็ได้มีการจัดระบบเฝ้าระวังป้องกัน 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 1. ให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (คร.) ติดตามสถานการณ์โรคจากองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือคนไทยที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษา หากพบผู้ป่วยมีอาการอยู่ในข่ายสงสัยให้รายงานทันที
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า 2. ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เข้มมาตรการดูแลรักษาหากมีผู้ป่วยมีอาการในข่ายสงสัย โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส เป็นต้น และ 3. ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมความพร้อมในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งไทยมีความร่วมมือใกล้ชิดกับศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (US-CDC) ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. กล่าวว่า โรคอีโบลาเป็นกลุ่มโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง อัตราการแพร่ระบาดสูงและเร็ว มีอัตราตายค่อนข้างสูงคือร้อยละ 50 - 90 เชื้อมีระยะฟักตัว 2 - 21 วัน อาการของผู้ป่วยคือมีไข้สูงทันที อ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะมาก ตามด้วยอาการเจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงขึ้นตามตัว ในรายที่อาการรุนแรง หรือในบางรายที่เสียชีวิตจะมีอาการเลือดออกง่าย โดยมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวาย มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางและช็อก อวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำห้ามเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง อย่างไรก็ตาม การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทั้งประชาชนทั่วไป และผู้ที่จะเดินทางไปในพื้นที่การระบาด ดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย 2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร 3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เนื่องจากเชื้ออาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพของผู้เสียชีวิต 4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายและล้างมือบ่อยๆ
“หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดโรคชนิดนี้ ขอให้รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง เพื่อให้การดูแล ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต” อธิบดี คร. กล่าว
อนึ่ง เชื้อไวรัสอีโบลา มี 5 สายพันธุ์ โดยมี 3 สายพันธุ์ที่รุนแรง ได้แก่ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์บันดิบูเกียว ทำให้เกิดการระบาดในแอฟริกา อัตราการป่วยตายร้อยละ 25 - 90 เชื้อไวรัสชนิดนี้จะติดต่อกันได้ในช่วงหลังปรากฏอาการไข้แล้ว โดยติดทางการสัมผัสเลือด อุจจาระ หรือเหงื่อของผู้ป่วยโดยตรง หรือมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสศพผู้เสียชีวิตจากโรคนี้โดยไม่มีการป้องกัน โดยองค์การอนามัยโลก สรุปยอดผู้ป่วย ณ วันที่ 20 ก.ค. พบผู้ป่วย 1,093 ราย เสียชีวิต 660 ราย พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รายล่าสุดที่พบในประเทศไนจีเรีย ( Nigeria) เสียชีวิตเมื่อ 25 ก.ค. ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเฉพาะ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่