สธ. คาด มีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รอการฟื้นฟูกว่า 1 ล้านคน เร่ง 12 เขตบริการเดินหน้าจัดบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟู เน้นให้บริการถึงบ้าน ยก จ.ชุมพร จัดทีมฟื้นฟูช่วยผู้ป่วยอาการดีขึ้นถึง 95%
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลท่าแซะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หงษ์เจริญ อ.ท่าแซะ และโรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร เพื่อติดตามการจัดบริการร่วมตามแผนการพัฒนาระบบบริการ ว่า สาขาเวชศาสตร์ฟิ้นฟู เป็นสาขาหนึ่งในการพัฒนาระบบเขต บริการสุขภาพ โดยสาขานี้เป็นบริการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่ป่วยแล้ว และช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยต้องนอนติดเตียง หรืออยู่ติดบ้าน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ ป้องกันความพิการซ้ำซ้อน หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ คาดว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยประเภทนี้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ มีแนวโน้มพบมากขึ้น ปัญหานี้มีผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล ต่อรายต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สธ. จึงได้กำหนดให้ทุกเขตบริการสุขภาพ จัดบริการ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล เพื่อลดภาระคลายความกังวลแก่ญาติ เพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยทุกคน
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า จากการตรวจเยี่ยมการจัดบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟูใน จ.ชุมพร ซึ่งรับผิดชอบประชากร 505,358 คน พบว่ามีความก้าวหน้ามาก มีคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการของจังหวัด มีโรงพยาบาลเครือข่าย 11 แห่ง มี รพ.สต. และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 96 แห่ง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการมาตรฐานเดียวกัน อยู่ใกล้บ้าน โดยมี รพ.ท่าแซะ ร่วมเป็นแม่ข่ายร่วมกับ รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เนื่องจากมีเครื่องมือที่ทันสมัย มีทีมนักกายภาพบำบัดที่มีศักยภาพ จัดบริการดูแลผู้ป่วยที่ต้องทำกายภาพบำบัดที่อยู่ใน อ.ท่าแซะ อ.ปะทิว และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละกว่า 260 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและพิการจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีบริการทั้งในโรงพยาบาล และจัดทีมออกไปให้บริการถึงบ้านฟรี ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง และอาการดีขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 95 สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ญาติพึงพอใจและคลายความกังวลได้อย่างดี
“การจัดทีมฟื้นฟูผู้ป่วยที่บ้าน จะดำเนินการในรูปของทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย นักกายภาพบำบัด นักสุขภาพจิต พยาบาล แพทย์แผนไทย และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และมีเครื่องมือฟื้นฟูแบบพกพา อาทิ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อ การฝึกยืน ฝึกเดินและการทรงตัว กรณีผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทาง จะนัดให้พบที่ รพ.ท่าแซะ เดือนละครั้ง" รองปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลท่าแซะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หงษ์เจริญ อ.ท่าแซะ และโรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร เพื่อติดตามการจัดบริการร่วมตามแผนการพัฒนาระบบบริการ ว่า สาขาเวชศาสตร์ฟิ้นฟู เป็นสาขาหนึ่งในการพัฒนาระบบเขต บริการสุขภาพ โดยสาขานี้เป็นบริการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่ป่วยแล้ว และช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยต้องนอนติดเตียง หรืออยู่ติดบ้าน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ ป้องกันความพิการซ้ำซ้อน หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ คาดว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยประเภทนี้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ มีแนวโน้มพบมากขึ้น ปัญหานี้มีผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล ต่อรายต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สธ. จึงได้กำหนดให้ทุกเขตบริการสุขภาพ จัดบริการ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล เพื่อลดภาระคลายความกังวลแก่ญาติ เพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยทุกคน
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า จากการตรวจเยี่ยมการจัดบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟูใน จ.ชุมพร ซึ่งรับผิดชอบประชากร 505,358 คน พบว่ามีความก้าวหน้ามาก มีคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการของจังหวัด มีโรงพยาบาลเครือข่าย 11 แห่ง มี รพ.สต. และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 96 แห่ง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการมาตรฐานเดียวกัน อยู่ใกล้บ้าน โดยมี รพ.ท่าแซะ ร่วมเป็นแม่ข่ายร่วมกับ รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เนื่องจากมีเครื่องมือที่ทันสมัย มีทีมนักกายภาพบำบัดที่มีศักยภาพ จัดบริการดูแลผู้ป่วยที่ต้องทำกายภาพบำบัดที่อยู่ใน อ.ท่าแซะ อ.ปะทิว และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละกว่า 260 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและพิการจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีบริการทั้งในโรงพยาบาล และจัดทีมออกไปให้บริการถึงบ้านฟรี ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง และอาการดีขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 95 สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ญาติพึงพอใจและคลายความกังวลได้อย่างดี
“การจัดทีมฟื้นฟูผู้ป่วยที่บ้าน จะดำเนินการในรูปของทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย นักกายภาพบำบัด นักสุขภาพจิต พยาบาล แพทย์แผนไทย และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และมีเครื่องมือฟื้นฟูแบบพกพา อาทิ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อ การฝึกยืน ฝึกเดินและการทรงตัว กรณีผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทาง จะนัดให้พบที่ รพ.ท่าแซะ เดือนละครั้ง" รองปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่