เขตบริการสุขภาพที่ 11 เดินหน้าพัฒนาระบบแบบภาพรวม จ่อดันหน่วยฟอกไตในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียงขึ้นไป พร้อมพัฒนาระบบความเชี่ยวชาญ 12 สาขา 13 กลุ่มโรค
วันนี้ (21 ก.พ.) ที่โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานพัฒนาการจัดบริการสุขภาพให้แก่ประชาชน ในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 11 ประกอบด้วย ภูเก็ต พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี และระนอง ว่า เขตนี้มีประชากรจำนวน 4 ล้านกว่าคน มีสถานบริการในสังกัดอยู่ในพื้นที่ ประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 3 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 8 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 76 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 731 แห่ง อีกทั้งมีสถานบริการที่สังกัดกรมและกระทรวงอื่นๆ รวมทั้งภาคเอกชน โดยมีโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เป็นโรงพยาบาลศูนย์แม่ข่าย
นพ.วชิระ กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของเขตนี้เป็นการพัฒนาในภาพรวม คือ พัฒนาตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ โดยพัฒนาศักยภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง และ รพ.สต.ให้มีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมพื้นที่บริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ตลอดจนดูแลผู้ป่วยที่อาการไม่ซับซ้อน การพัฒนาระดับทุติยภูมิ โดยเน้นพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60-120 เตียง เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน หรือควบคุมอาการของโรคไม่ได้ ลดภาระโรงพยาบาลขนาดใหญ่และช่วยเหลือโรงพยาบาลในเครือข่ายที่เล็กกว่า
นพ.วชิระ กล่าวว่า ส่วนการพัฒนาโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ คือ ระดับโรงพยาบาลศูนย์ ให้สามารถดูแลผู้ป่วยในเครือข่ายที่อาการซับซ้อน ลดการส่งต่อที่ไม่จำเป็น และให้มีความร่วมมือและช่วยเหลือกันระหว่างโรงพยาบาลทุกระดับแบบพี่ช่วยน้อง ลดการส่งต่อผู้ป่วยไปนอกเครือข่าย โดยจัดแผนพัฒนาระบบความเชี่ยวชาญไว้ 12 สาขา รวม 13 กลุ่มโรค เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เน้นการพัฒนาตามความต้องการสำคัญเร่งด่วนในแต่ละสาขาก่อน มีการสนับสนุนทรัพยากรและกำหนดแผนการขับเคลื่อนทั้งระยะสั้นและระยะยาว อย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพทั้งด้านการรักษาพยาบาล (Quality of care) ลดอัตราตาย อัตราป่วย และพิการ และคุณภาพการบริการ(Quality of service) เช่น ลดระยะเวลารอคอย ลดความแออัด คิวบริการสั้นลง
“แผนการพัฒนาบริการสาขาต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โดยการลดอัตราเสียชีวิตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สาขาอุบัติเหตุ จะเพิ่มการเข้าถึงบริการด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพ สาขาโรคมะเร็ง จะรณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เฝ้าระวังและค้นหาความผิดปกติในเบื้องต้นด้วยตนเองได้ และการตรวจคัดกรอง สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สาขาโรคไต จัดทำแนวทางการค้นหา วินิจฉัย รักษาโรคไตเรื้อรัง และสนับสนุนให้มีหน่วยฟอกไตในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียงขึ้นไป สาขาโรคตา เน้นการลดสาเหตุของตาบอดจากต้อกระจกและเบาหวานขึ้นจอตา” รองปลัด สธ.กล่าวและว่า ส่วนสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะมุ่งเน้นการจัดคลินิกบริการมีระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน และกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ สาขาปฐมภูมิทุติยภูมิและสุขภาพองค์รวม เน้นกระจายบริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ลดความแออัดของโรงพยาบาลแม่ข่าย เป็นต้น
วันนี้ (21 ก.พ.) ที่โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานพัฒนาการจัดบริการสุขภาพให้แก่ประชาชน ในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 11 ประกอบด้วย ภูเก็ต พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี และระนอง ว่า เขตนี้มีประชากรจำนวน 4 ล้านกว่าคน มีสถานบริการในสังกัดอยู่ในพื้นที่ ประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 3 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 8 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 76 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 731 แห่ง อีกทั้งมีสถานบริการที่สังกัดกรมและกระทรวงอื่นๆ รวมทั้งภาคเอกชน โดยมีโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เป็นโรงพยาบาลศูนย์แม่ข่าย
นพ.วชิระ กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของเขตนี้เป็นการพัฒนาในภาพรวม คือ พัฒนาตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ โดยพัฒนาศักยภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง และ รพ.สต.ให้มีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมพื้นที่บริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ตลอดจนดูแลผู้ป่วยที่อาการไม่ซับซ้อน การพัฒนาระดับทุติยภูมิ โดยเน้นพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60-120 เตียง เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน หรือควบคุมอาการของโรคไม่ได้ ลดภาระโรงพยาบาลขนาดใหญ่และช่วยเหลือโรงพยาบาลในเครือข่ายที่เล็กกว่า
นพ.วชิระ กล่าวว่า ส่วนการพัฒนาโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ คือ ระดับโรงพยาบาลศูนย์ ให้สามารถดูแลผู้ป่วยในเครือข่ายที่อาการซับซ้อน ลดการส่งต่อที่ไม่จำเป็น และให้มีความร่วมมือและช่วยเหลือกันระหว่างโรงพยาบาลทุกระดับแบบพี่ช่วยน้อง ลดการส่งต่อผู้ป่วยไปนอกเครือข่าย โดยจัดแผนพัฒนาระบบความเชี่ยวชาญไว้ 12 สาขา รวม 13 กลุ่มโรค เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เน้นการพัฒนาตามความต้องการสำคัญเร่งด่วนในแต่ละสาขาก่อน มีการสนับสนุนทรัพยากรและกำหนดแผนการขับเคลื่อนทั้งระยะสั้นและระยะยาว อย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพทั้งด้านการรักษาพยาบาล (Quality of care) ลดอัตราตาย อัตราป่วย และพิการ และคุณภาพการบริการ(Quality of service) เช่น ลดระยะเวลารอคอย ลดความแออัด คิวบริการสั้นลง
“แผนการพัฒนาบริการสาขาต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โดยการลดอัตราเสียชีวิตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สาขาอุบัติเหตุ จะเพิ่มการเข้าถึงบริการด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพ สาขาโรคมะเร็ง จะรณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เฝ้าระวังและค้นหาความผิดปกติในเบื้องต้นด้วยตนเองได้ และการตรวจคัดกรอง สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สาขาโรคไต จัดทำแนวทางการค้นหา วินิจฉัย รักษาโรคไตเรื้อรัง และสนับสนุนให้มีหน่วยฟอกไตในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียงขึ้นไป สาขาโรคตา เน้นการลดสาเหตุของตาบอดจากต้อกระจกและเบาหวานขึ้นจอตา” รองปลัด สธ.กล่าวและว่า ส่วนสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะมุ่งเน้นการจัดคลินิกบริการมีระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน และกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ สาขาปฐมภูมิทุติยภูมิและสุขภาพองค์รวม เน้นกระจายบริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ลดความแออัดของโรงพยาบาลแม่ข่าย เป็นต้น