สธ. เผย 3 ปี ตั้งศูนย์เยี่ยมบ้านกว่า 5 พันแห่ง ดูแลผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ ให้ผลดี ญาติพอใจ ลดอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วย ไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ระบุมีการจัดอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้ญาติ/ผู้ป่วยยืมใช้งาน
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมวิชาการพยาบาลชุมชนระดับชาติ ประจำปี 2557 ว่า แต่ละวันมีผู้ป่วยเข้าใช้บริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ 1,203 แห่ง เฉลี่ยวันละ 4 แสนกว่าคน มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยวันละ 4 หมื่นกว่าคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยนอก การจะลดปัญหาความแออัด จะต้องเร่งสร้างให้ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย และกระจายบริการ เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อาการค่อนข้างคงที่ แต่ต้องไปพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ ให้ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง เป็นต้น
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องอยู่ที่บ้านไปไหนไม่ได้ มี 3 ประเภท คือ นอนติดเตียง ช่วยตัวเองไม่ได้เลย ช่วยเหลือตนเองได้น้อย และช่วยตัวเองได้บางส่วน แต่ก็ต้องพึ่งพิงญาติคอยดูแล รวมทั้งผู้พิการอื่นๆ ซึ่งคาดว่าจะมีประมาณ 2 ล้านคนทั่วประเทศ สธ. ได้พัฒนาระบบการดูแล โดยตั้งศูนย์ประสานการเยี่ยมบ้านในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน เชื่อมโยงกับ รพ.สต. เพื่อให้การติดตามดูแล เยี่ยมไข้ที่บ้านต่อหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน เนื่องจากอาการคงที่แล้ว ขณะนี้มี 5,000 กว่าแห่ง โดยมอบให้สำนักการพยาบาล เป็นแกนหลักดำเนินการ
“ศูนย์ประสานการเยี่ยมบ้าน จะมีพยาบาลวิชาชีพ เป็นผู้จัดการวางแผนการบริการเยี่ยมแต่ละครั้ง ซึ่งอาจมีแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือจิตอาสาต่างๆ ร่วมทีมไปด้วย ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ภายในศูนย์ฯจะมีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือที่ต้องใช้ดูแลให้ญาติยืมใช้ เช่น รถเข็นผู้ป่วยแบบนั่ง ชุดทำแผล เครื่องดูดเสมหะ ถังออกซิเจน สายยางให้อาหาร สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น หลังจากที่เริ่มต้นมาได้เป็นปีที่ 3 พบว่าได้ผลดีมาก ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านได้รับการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง ลดปัญหาการเกิดอาการแทรกซ้อนได้ดี ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ครอบครัว และญาติพึงพอใจสูงกว่าร้อยละ 95 ซึ่งบริการในส่วนนี้สามารถพัฒนาเพื่อรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของไทยในอนาคตได้อย่างดีด้วย” รองปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมวิชาการพยาบาลชุมชนระดับชาติ ประจำปี 2557 ว่า แต่ละวันมีผู้ป่วยเข้าใช้บริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ 1,203 แห่ง เฉลี่ยวันละ 4 แสนกว่าคน มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยวันละ 4 หมื่นกว่าคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยนอก การจะลดปัญหาความแออัด จะต้องเร่งสร้างให้ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย และกระจายบริการ เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อาการค่อนข้างคงที่ แต่ต้องไปพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ ให้ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง เป็นต้น
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องอยู่ที่บ้านไปไหนไม่ได้ มี 3 ประเภท คือ นอนติดเตียง ช่วยตัวเองไม่ได้เลย ช่วยเหลือตนเองได้น้อย และช่วยตัวเองได้บางส่วน แต่ก็ต้องพึ่งพิงญาติคอยดูแล รวมทั้งผู้พิการอื่นๆ ซึ่งคาดว่าจะมีประมาณ 2 ล้านคนทั่วประเทศ สธ. ได้พัฒนาระบบการดูแล โดยตั้งศูนย์ประสานการเยี่ยมบ้านในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน เชื่อมโยงกับ รพ.สต. เพื่อให้การติดตามดูแล เยี่ยมไข้ที่บ้านต่อหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน เนื่องจากอาการคงที่แล้ว ขณะนี้มี 5,000 กว่าแห่ง โดยมอบให้สำนักการพยาบาล เป็นแกนหลักดำเนินการ
“ศูนย์ประสานการเยี่ยมบ้าน จะมีพยาบาลวิชาชีพ เป็นผู้จัดการวางแผนการบริการเยี่ยมแต่ละครั้ง ซึ่งอาจมีแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือจิตอาสาต่างๆ ร่วมทีมไปด้วย ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ภายในศูนย์ฯจะมีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือที่ต้องใช้ดูแลให้ญาติยืมใช้ เช่น รถเข็นผู้ป่วยแบบนั่ง ชุดทำแผล เครื่องดูดเสมหะ ถังออกซิเจน สายยางให้อาหาร สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น หลังจากที่เริ่มต้นมาได้เป็นปีที่ 3 พบว่าได้ผลดีมาก ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านได้รับการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง ลดปัญหาการเกิดอาการแทรกซ้อนได้ดี ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ครอบครัว และญาติพึงพอใจสูงกว่าร้อยละ 95 ซึ่งบริการในส่วนนี้สามารถพัฒนาเพื่อรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของไทยในอนาคตได้อย่างดีด้วย” รองปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่