สปสช. เล็งจับมือ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ อย. และ อภ. จัดตั้งโรงงานผลิตยาแฟคเตอร์ สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ที่ชลบุรี หวังช่วยกระจายยาให้เข้าถึงผู้ป่วยมากขึ้น
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปัญหาของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียคือ ความทุกข์ทรมานจากการเลือดออกง่าย ออกนาน หยุดยาก เป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะเลือดออกในข้อที่เกิดเองบ่อยที่สุดในโลก หากรักษาไม่ทันและไม่ถูกต้องอาจทำให้อายุสั้นลง มีโอกาสพิการ นอกจากนี้ แพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคนี้ยังมีน้อยคือ 130 คน ขณะที่ผู้ป่วยแม้ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด แต่คาดประมาณอยู่ที่ 5,000 คน ที่น่าห่วงคือจำนวนหนึ่งไม่ทราบว่าตัวเองป่วยโรคนี้ สำหรับยาในการรักษาคือ Factor Concentrate ซึ่งช่วยให้เลือดเกิดการแข็งตัว ในอดีตมีราคาแพงมาก มูลนิธิโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย จึงเสนอ สปสช. ให้นำโรคนี้เข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และได้เริ่มต้นโครงการเมื่อ พ.ค. 2549 ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษามากขึ้น
นพ.ประทีป กล่าวว่า ราคายา Factor Concentrate อยู่ที่ 3,000-6,000 บาท ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 36,000-226,800 บาท/คน/ปี ส่วนกรณีผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงในอวัยวะสำคัญ หรือเกิดภาวะฉุกเฉินต้องผ่าตัดด่วน อาจต้องใช้ยาจำนวนมากเพื่อทำการรักษา ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 บาท/ครั้ง โดยภาพรวมปี 2556 มีการเบิกจ่ายยาทั้งสิ้น 37,764 ขวด โดยงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากมีผู้ป่วยลงทะเบียนในโครงการเพิ่มขึ้น โดยปี 2549 มี 571 ราย แต่ปี 2557 เพิ่มเป็น 1,336 ราย สะท้อนชัดว่าผู้ป่วยเข้าถึงการรักษามากขึ้น
“แม้ผู้ป่วยจะเข้าถึงการรักษา แต่การกระจายยาและบุคลากรที่เชี่ยวชาญยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลจากหน่วยบริการเฉพาะโรค ทางภาคเหนือและอีสาน โดยช่วงเริ่มต้นโครงการเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชนต่างไม่กล้าฉีดยาให้ผู้ป่วย จึงมีการตั้งชมรมเครือข่ายผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียรายภาคในปี 2551-2552 ฝึกพัฒนาอบรมผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และ อสม. ในชุมชนให้มีทักษะการฉีดยานี้ได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ปัจจุบันมีผู้ปวยฮีโมฟีเลียร้อยละ 80 สามารถฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ IV ได้เอง” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.ประทีป กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาดูแลผู้ป่วยฮีโมฟีเลียในอนาคต สปสช. มีนโยบายพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อดูแลผู้ป่วยฮีโมฟีเลียให้เข้าถึงการรักษามากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยที่เกิดสารต้าน ผู้ป่วยในเขตเมืองและชนบท รวมถึงการจัดยา Factor Concentrate ให้เพียงพอในราคาที่เหมาะสมและจัดซื้อได้ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตยาแฟคเตอร์ ที่ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยความร่วมมือ 4 หน่วยงาน คือ สปสช. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และองค์การเภสัชกรรม โดยรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาเพิ่มมากขึ้น
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปัญหาของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียคือ ความทุกข์ทรมานจากการเลือดออกง่าย ออกนาน หยุดยาก เป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะเลือดออกในข้อที่เกิดเองบ่อยที่สุดในโลก หากรักษาไม่ทันและไม่ถูกต้องอาจทำให้อายุสั้นลง มีโอกาสพิการ นอกจากนี้ แพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคนี้ยังมีน้อยคือ 130 คน ขณะที่ผู้ป่วยแม้ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด แต่คาดประมาณอยู่ที่ 5,000 คน ที่น่าห่วงคือจำนวนหนึ่งไม่ทราบว่าตัวเองป่วยโรคนี้ สำหรับยาในการรักษาคือ Factor Concentrate ซึ่งช่วยให้เลือดเกิดการแข็งตัว ในอดีตมีราคาแพงมาก มูลนิธิโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย จึงเสนอ สปสช. ให้นำโรคนี้เข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และได้เริ่มต้นโครงการเมื่อ พ.ค. 2549 ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษามากขึ้น
นพ.ประทีป กล่าวว่า ราคายา Factor Concentrate อยู่ที่ 3,000-6,000 บาท ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 36,000-226,800 บาท/คน/ปี ส่วนกรณีผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงในอวัยวะสำคัญ หรือเกิดภาวะฉุกเฉินต้องผ่าตัดด่วน อาจต้องใช้ยาจำนวนมากเพื่อทำการรักษา ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 บาท/ครั้ง โดยภาพรวมปี 2556 มีการเบิกจ่ายยาทั้งสิ้น 37,764 ขวด โดยงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากมีผู้ป่วยลงทะเบียนในโครงการเพิ่มขึ้น โดยปี 2549 มี 571 ราย แต่ปี 2557 เพิ่มเป็น 1,336 ราย สะท้อนชัดว่าผู้ป่วยเข้าถึงการรักษามากขึ้น
“แม้ผู้ป่วยจะเข้าถึงการรักษา แต่การกระจายยาและบุคลากรที่เชี่ยวชาญยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลจากหน่วยบริการเฉพาะโรค ทางภาคเหนือและอีสาน โดยช่วงเริ่มต้นโครงการเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชนต่างไม่กล้าฉีดยาให้ผู้ป่วย จึงมีการตั้งชมรมเครือข่ายผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียรายภาคในปี 2551-2552 ฝึกพัฒนาอบรมผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และ อสม. ในชุมชนให้มีทักษะการฉีดยานี้ได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ปัจจุบันมีผู้ปวยฮีโมฟีเลียร้อยละ 80 สามารถฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ IV ได้เอง” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.ประทีป กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาดูแลผู้ป่วยฮีโมฟีเลียในอนาคต สปสช. มีนโยบายพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อดูแลผู้ป่วยฮีโมฟีเลียให้เข้าถึงการรักษามากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยที่เกิดสารต้าน ผู้ป่วยในเขตเมืองและชนบท รวมถึงการจัดยา Factor Concentrate ให้เพียงพอในราคาที่เหมาะสมและจัดซื้อได้ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตยาแฟคเตอร์ ที่ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยความร่วมมือ 4 หน่วยงาน คือ สปสช. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และองค์การเภสัชกรรม โดยรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาเพิ่มมากขึ้น