รพ.ระโนด วิจัยชัด นวดเท้าผู้ป่วยเบาหวานช่วยลดอาการชาเท้าได้มากกว่า 70% ลดความเสี่ยงเกิดแผลลุกลามที่เท้า พร้อมจัดบริการเพิ่มส่งผู้ป่วยคลินิกเบาหวานเข้านวดเท้าที่แผนกแพทย์แผนไทย พร้อมสอนวิธีการนวดกับญาติ ฟุ้งลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล สร้างสัมพันธ์ในครอบครัว
นางสุณี เพชรศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา เปิดเผยถึงงานวิจัย R2R เรื่อง “ประสิทธิผลของการนวดเท้าที่มีผลต่ออาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน” ว่า ในปีงบประมาณ 2555 มีผู้ป่วยเบาหวานมารับบริการที่คลินิกเบาหวาน รพ.ระโนด จำนวน 871 คน มีอาการเท้าชา 54 คน ซึ่งปัญหาที่สำคัญของคนกลุ่มนี้คือการเกิดแผลที่เท้า ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะปลายประสาทเสื่อม เส้นเลือดส่วนปลายตีบตัน ทำให้ปลายประสาทอักเสบจนเกิดอาการเท้าชาและลุกลามกลายเป็นแผลที่เท้า
นางสุณี กล่าวอีกว่า จากการศึกษาผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการคลินิกเบาหวานของ รพ.ระโนด โดยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานมากกว่า 1 ปี มีอาการชาเท้าโดยการตรวจด้วยเครื่อง monofilament ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจเท้าที่ใช้ตรวจรับความรู้สึกของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างน้อย 1 จุด ซึ่งสามารถตอบคำถามได้เองและยินดีเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเบาหวานมา 6-10 ปี มีโรคแทรกซ้อนคือความดันโลหิตสูง ร่วมกับมีอาการเท้าชา ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น และไม่เคยมีประวัตินอนโรงพยาบาลด้วยแผลที่เท้า ทั้งนี้ ได้ทำแบบบันทึกการตรวจอาการชาเท้าก่อนนวดเท้า ขณะนวดเท้า และหลังนวดเท้าจนครบ 7 ครั้ง เป็นเวลา 330 ชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่นวดแผนไทยที่ผ่านการอบรมการนวดไทยของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยการนวดครั้งละ 45 นาที ทุกสัปดาห์
นางสุณี กล่าวอีกว่า ผลการนวดพบว่า การนวดเท้าทำให้อาการเท้าชาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอาการชาเท้าซ้ายดีขึ้นร้อยละ 86.67 และอาการชาเท้าขวาดีขึ้นร้อยละ 73.33 ผลการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ชัดเจนว่า การนวดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชา สามารถลดอาการชาเท้าได้ดี จึงได้ส่งผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาเท้าไปนวดที่แผนกแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาล และทุกครั้งที่ส่งผู้ป่วยไปนวด หากญาติมาด้วยก็ให้สอนวิธีการนวดแก่ญาติด้วย เพื่อให้สามารถนวดกันเองที่บ้าน ซึ่งนอกจากลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเดินทางมายังโรงพยาบาลแล้ว ยังเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย
นางสุณี เพชรศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา เปิดเผยถึงงานวิจัย R2R เรื่อง “ประสิทธิผลของการนวดเท้าที่มีผลต่ออาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน” ว่า ในปีงบประมาณ 2555 มีผู้ป่วยเบาหวานมารับบริการที่คลินิกเบาหวาน รพ.ระโนด จำนวน 871 คน มีอาการเท้าชา 54 คน ซึ่งปัญหาที่สำคัญของคนกลุ่มนี้คือการเกิดแผลที่เท้า ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะปลายประสาทเสื่อม เส้นเลือดส่วนปลายตีบตัน ทำให้ปลายประสาทอักเสบจนเกิดอาการเท้าชาและลุกลามกลายเป็นแผลที่เท้า
นางสุณี กล่าวอีกว่า จากการศึกษาผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการคลินิกเบาหวานของ รพ.ระโนด โดยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานมากกว่า 1 ปี มีอาการชาเท้าโดยการตรวจด้วยเครื่อง monofilament ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจเท้าที่ใช้ตรวจรับความรู้สึกของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างน้อย 1 จุด ซึ่งสามารถตอบคำถามได้เองและยินดีเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเบาหวานมา 6-10 ปี มีโรคแทรกซ้อนคือความดันโลหิตสูง ร่วมกับมีอาการเท้าชา ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น และไม่เคยมีประวัตินอนโรงพยาบาลด้วยแผลที่เท้า ทั้งนี้ ได้ทำแบบบันทึกการตรวจอาการชาเท้าก่อนนวดเท้า ขณะนวดเท้า และหลังนวดเท้าจนครบ 7 ครั้ง เป็นเวลา 330 ชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่นวดแผนไทยที่ผ่านการอบรมการนวดไทยของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยการนวดครั้งละ 45 นาที ทุกสัปดาห์
นางสุณี กล่าวอีกว่า ผลการนวดพบว่า การนวดเท้าทำให้อาการเท้าชาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอาการชาเท้าซ้ายดีขึ้นร้อยละ 86.67 และอาการชาเท้าขวาดีขึ้นร้อยละ 73.33 ผลการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ชัดเจนว่า การนวดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชา สามารถลดอาการชาเท้าได้ดี จึงได้ส่งผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาเท้าไปนวดที่แผนกแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาล และทุกครั้งที่ส่งผู้ป่วยไปนวด หากญาติมาด้วยก็ให้สอนวิธีการนวดแก่ญาติด้วย เพื่อให้สามารถนวดกันเองที่บ้าน ซึ่งนอกจากลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเดินทางมายังโรงพยาบาลแล้ว ยังเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย