คณบดีครุ/ศึกษา รวมตัวยื่น คสช. ชะลอพิจารณาข้อเสนอ ศธ. เปิดทางพิเศษสาขาขาดแคลน ครูช่างไม่ต้องมีตั๋วครูก็สอนได้ ชี้ทำลายเกียรติวิชาชีพ
วันนี้ (28 ก.ค.) ที่ห้องประชุม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สคศท.) ได้มีการประชุมหารือกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการมีข้อเสนอการปฏิรูปครูต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยขอให้มีการยกเว้นการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะสายอาชีวศึกษา โดย รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร ประธาน สคศท. เปิดเผยภายหลังหารือนานกว่า 3 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุมมีมติร่วมกันที่จะยื่นหนังสือด่วนต่อ คสช. เพื่อให้พิจารณาชะลอ หรือทบทวน การดำเนินการ หรือเปิดโอกาสให้ตัวแทน ใน สคศท. เข้าชี้แจง เพราะหากประกาศใช้จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาอย่างใหญ่หลวง ทั้งวิชาชีพครูก็ได้รับการพัฒนามาไกลมากแล้ว การให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับคนที่ไม่ได้จบสายครูโดยอัตโนมัติ ก็เท่ากับเป็นการทำลายทั้งวิชาชีพครูและคุณภาพการศึกษา ข้อเรียกร้องของผู้ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตฯ หากมีปัญหาก็แก้ไขตามสภาพปัญหา แต่ต้องไม่กระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพครู การให้ใบอนุญาตฯกับคนที่ไม่ได้จบวิชาชีพครู เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมกับนิสิตนักศึกษาครูที่เรียนมาทางสายนี้โดยตรง เพราะผู้เรียนตั้งผ่านกระบวนการเรียน การผลิตครูอย่างเข้มข้นตลอด 5 ปี เพื่อเรียนรู้กระบวนการสอน หลักวิชาการ หลักจิตวิทยาเด็ก วิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ออกมาเป็นครูที่มีคุณภาพ ดังนั้น การที่ให้ใบอนุญาตฯกับคนที่ไม่ได้เรียนสายครูเลย จึงขาดเหตุผลรองรับด้านคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม สคศท. ก็ไม่ได้ปิดกั้นผู้ที่ไม่จบสายครูโดยตรงไม่ให้มาเป็นครู แต่ต้องผ่านการพัฒนาวิชาชีพครูตามที่คุรุสภากำหนด ทั้งนี้ คุรุสภาก็ได้ขยายระยะเวลาให้กับผู้ไม่จบสายครูได้พัฒนาตนเอง โดยให้เรียนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิต ออกไปอีก 1 ปี ซึ่งเป็นการช่วยเยียวยาครู ร.ร. เอกชน และครูสายอาชีวศึกษา ที่ประชุม สคศท. เชื่อมั่นว่า คสช. จะรับฟังความคิดเห็นของคณบดี และไม่ประกาศให้ใบอนุญาตฯ โดยอัตโนมัติ
ด้าน รศ.ดร.ประพันธ์ศรี สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวว่า ขอให้ คสช. ทบทวนและรับฟังความคิดเห็นของบรรดาคณบดีซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งเราคงยอมไม่ได้ที่จะให้ผู้ที่ไม่ได้จบสายครูได้รับใบอนุญาตฯโดยอัตโนมัติ หลังจากที่มีข่าวดังกล่าวออกไป ครูทั่วประเทศจำนวนมากที่พัฒนาตนเองมาโดยตลอด รวมทั้งนิสิตนักศึกษาครูเป็นแสนคน เกิดความกังวลใจ และไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนกติกากลางคัน ซึ่งพวกเราก็เชื่อมั่นว่า คสช. จะไม่ทำเช่นนั้น
“การได้คนเก่งมาเป็นครู ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าบุคคลนั้นจะเป็นครูที่ดี หากต้องการเป็นครูก็ต้องผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะต้องได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู ไม่เช่นนั้นเราก็จะเกิดปัญหาครูทำร้ายเด็ก กวดวิชาหากินกับเด็ก ข่มขืนศิษย์ หรือทุจริตในการสอบเข้าเป็นครู และปัญหาจากที่ครูที่ขาดจริยธรรมต่อไปไม่จบสิ้น” รศ.ดร.ประพันธ์ศรี กล่าว
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า โดยส่วยตัวไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่จะให้คนที่ไม่ได้เรียนครู ไม่ได้ผ่านการคัดกรองเข้าสู่วิชาชีพครูได้รับใบอนุญาตฯโดยอัตโนมัติ ซึ่งขณะนี้คุรุสภาได้เปิดช่องทางช่วยเหลือและสนับสนุนคนที่เป็นครูโดยตั้งใจ ให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอยู่แล้ว ทั้งการอนุญาตให้สถาบันการศึกษาเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ทางการศึกษา หรือแม้กระทั่งการที่บอร์ดคุรุสภามีมติผ่อนปรนให้ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ชั่วคราวครั้งที่ 3 ให้กับครูผู้สอนในสถานศึกษาที่ยังไม่สามารถเข้าเรียน ป.บัณฑิต ในปี 2557 นี้ได้ เนื่องจากสถาบันรับผู้เรียนจำนวนจำกัด ส่วนกรณีของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นั้น คุรุสภาก็ได้ให้ทาง สอศ. ทำข้อเสนอทางออกการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยเฉพาะมาให้คุรุสภาพิจารณาแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ จะมีการประชุมบอร์ดคุรุสภาในวันที่ 1 ส.ค. นี้ เพื่อสรุปจุดยืนของคุรุสภาที่ชัดเจนอีกครั้ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (28 ก.ค.) ที่ห้องประชุม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สคศท.) ได้มีการประชุมหารือกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการมีข้อเสนอการปฏิรูปครูต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยขอให้มีการยกเว้นการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะสายอาชีวศึกษา โดย รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร ประธาน สคศท. เปิดเผยภายหลังหารือนานกว่า 3 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุมมีมติร่วมกันที่จะยื่นหนังสือด่วนต่อ คสช. เพื่อให้พิจารณาชะลอ หรือทบทวน การดำเนินการ หรือเปิดโอกาสให้ตัวแทน ใน สคศท. เข้าชี้แจง เพราะหากประกาศใช้จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาอย่างใหญ่หลวง ทั้งวิชาชีพครูก็ได้รับการพัฒนามาไกลมากแล้ว การให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับคนที่ไม่ได้จบสายครูโดยอัตโนมัติ ก็เท่ากับเป็นการทำลายทั้งวิชาชีพครูและคุณภาพการศึกษา ข้อเรียกร้องของผู้ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตฯ หากมีปัญหาก็แก้ไขตามสภาพปัญหา แต่ต้องไม่กระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพครู การให้ใบอนุญาตฯกับคนที่ไม่ได้จบวิชาชีพครู เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมกับนิสิตนักศึกษาครูที่เรียนมาทางสายนี้โดยตรง เพราะผู้เรียนตั้งผ่านกระบวนการเรียน การผลิตครูอย่างเข้มข้นตลอด 5 ปี เพื่อเรียนรู้กระบวนการสอน หลักวิชาการ หลักจิตวิทยาเด็ก วิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ออกมาเป็นครูที่มีคุณภาพ ดังนั้น การที่ให้ใบอนุญาตฯกับคนที่ไม่ได้เรียนสายครูเลย จึงขาดเหตุผลรองรับด้านคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม สคศท. ก็ไม่ได้ปิดกั้นผู้ที่ไม่จบสายครูโดยตรงไม่ให้มาเป็นครู แต่ต้องผ่านการพัฒนาวิชาชีพครูตามที่คุรุสภากำหนด ทั้งนี้ คุรุสภาก็ได้ขยายระยะเวลาให้กับผู้ไม่จบสายครูได้พัฒนาตนเอง โดยให้เรียนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิต ออกไปอีก 1 ปี ซึ่งเป็นการช่วยเยียวยาครู ร.ร. เอกชน และครูสายอาชีวศึกษา ที่ประชุม สคศท. เชื่อมั่นว่า คสช. จะรับฟังความคิดเห็นของคณบดี และไม่ประกาศให้ใบอนุญาตฯ โดยอัตโนมัติ
ด้าน รศ.ดร.ประพันธ์ศรี สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวว่า ขอให้ คสช. ทบทวนและรับฟังความคิดเห็นของบรรดาคณบดีซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งเราคงยอมไม่ได้ที่จะให้ผู้ที่ไม่ได้จบสายครูได้รับใบอนุญาตฯโดยอัตโนมัติ หลังจากที่มีข่าวดังกล่าวออกไป ครูทั่วประเทศจำนวนมากที่พัฒนาตนเองมาโดยตลอด รวมทั้งนิสิตนักศึกษาครูเป็นแสนคน เกิดความกังวลใจ และไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนกติกากลางคัน ซึ่งพวกเราก็เชื่อมั่นว่า คสช. จะไม่ทำเช่นนั้น
“การได้คนเก่งมาเป็นครู ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าบุคคลนั้นจะเป็นครูที่ดี หากต้องการเป็นครูก็ต้องผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะต้องได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู ไม่เช่นนั้นเราก็จะเกิดปัญหาครูทำร้ายเด็ก กวดวิชาหากินกับเด็ก ข่มขืนศิษย์ หรือทุจริตในการสอบเข้าเป็นครู และปัญหาจากที่ครูที่ขาดจริยธรรมต่อไปไม่จบสิ้น” รศ.ดร.ประพันธ์ศรี กล่าว
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า โดยส่วยตัวไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่จะให้คนที่ไม่ได้เรียนครู ไม่ได้ผ่านการคัดกรองเข้าสู่วิชาชีพครูได้รับใบอนุญาตฯโดยอัตโนมัติ ซึ่งขณะนี้คุรุสภาได้เปิดช่องทางช่วยเหลือและสนับสนุนคนที่เป็นครูโดยตั้งใจ ให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอยู่แล้ว ทั้งการอนุญาตให้สถาบันการศึกษาเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ทางการศึกษา หรือแม้กระทั่งการที่บอร์ดคุรุสภามีมติผ่อนปรนให้ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ชั่วคราวครั้งที่ 3 ให้กับครูผู้สอนในสถานศึกษาที่ยังไม่สามารถเข้าเรียน ป.บัณฑิต ในปี 2557 นี้ได้ เนื่องจากสถาบันรับผู้เรียนจำนวนจำกัด ส่วนกรณีของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นั้น คุรุสภาก็ได้ให้ทาง สอศ. ทำข้อเสนอทางออกการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยเฉพาะมาให้คุรุสภาพิจารณาแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ จะมีการประชุมบอร์ดคุรุสภาในวันที่ 1 ส.ค. นี้ เพื่อสรุปจุดยืนของคุรุสภาที่ชัดเจนอีกครั้ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่