กรมควบคุมโรคเผย “แบคทีเรียกินเนื้อคน” อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ พบได้ในสัตว์น้ำทุกชนิด ยันยังกินปลาได้ตามปกติ เพราะแบคทีเรียทำลายได้ด้วยความร้อน แนะกินปลาที่สุกแล้วเท่านั้น อย่ากินปลาตายผิดธรรมชาติ
วันนี้ (25 ก.ค.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีข่าวชายคนหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกเงี่ยงปลาตำ ขณะเลือกซื้อปลาทับทิมในตลาด และมีการติดเชื้อแบคทีเรียแอโรโมแนส ว่า เชื้อดังกล่าวมีอยู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งน้ำจืด น้ำทะเล และดิน พบได้ในสัตว์น้ำทุกชนิด รวมถึงหมู และวัว ซึ่งเชื้อแบคทีเรียตัวนี้สามารถก่อโรคได้ 2 ทาง คือ 1. การรับประทานเข้าไปโดยตรง จะส่งผลให้เกิดอาการท้องเสีย มีไข้ แต่จะหายได้เอง ยกเว้นผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น เบาหวาน และมะเร็ง จะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ อย่าง 3 ปีก่อนที่โรคท้องร่วงระบาด จ.นครพนม ก็มาจากการกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียตัวนี้
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า และ 2. รับเชื้อทางบาดแผล โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ และแพร่กระจายสู่กระแสเลือด หากร่างกายแข็งแรงการกินยาปฏิชีวนะสามารถหายได้ แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอเชื้อจะแพร่กระจายและสร้างสารท็อกซิน ซึ่งเป็นสารพิษทำให้เชื้อโรคเกิดการย่อยเนื้อเยื่อและเอ็น จนเนื้อตาย เละ เหลว กลายเป็นน้ำ ขั้นตอนนี้จะทำให้สารพิษเข้าสู่กระแสเลือด และเสียชีวิตจากภาวะระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือช็อก โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับกระเทือนซ้ำจนเป็นรอยฟกช้ำ หรือเกิดบาดแผลใหม่
“การรักษาต้องเอาเนื้อตายออกให้หมด หรืออาจจะต้องตัดขาหรือแขนทิ้ง จึงเป็นที่มาของเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคน โดยเฉพาะกรณีเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อขนาดใหญ่ของร่างกาย เช่น ขา แขน จะมีโอกาสเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ การได้รับเชื้อเข้าไปเกิน 50% จะเสียชีวิต แต่พบได้น้อย ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีผู้เสียชีวิตในไทยประมาณ 10 - 20 ราย จึงไม่เป็นปัญหาสำคัญ ไม่ใช่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” รองอธิบดี คร. กล่าว
นพ.โอภาส กล่าวด้วยว่า สำหรับประชาชนที่ห่วงเรื่องการบริโภคปลาแล้วจะได้รับเชื้อ ยืนยันว่ายังกินปลาได้ตามปกติ แต่ควรระวังคือ 1. ไม่กินปลาที่ตายผิดธรรมชาติ เพราะเชื้อดังกล่าวสามารถก่อโรคได้ในตัวปลา โดยเฉพาะปลาที่มีแผลตรงลำตัว ห้ามกินเด็ดขาด 2. ต้องกินปลาที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น เพราะเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ทำลายได้ด้วยความร้อน อย่างไรก็ตาม ส่วนแม่ค้าขายปลาขอให้ใส่ถุงมือระหว่างจับปลา หากถูกเงี่ยงปลาตำต้องพยายามบีบเลือดออกให้มากที่สุด เพื่อลดจำนวนเชื้อ ยิ่งถ้ามีไข้สูง ปวดบริเวณอื่นร่วมด้วย ขอให้รีบไปพบแพทย์ แต่ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีแม่ค้าขายปลาป่วยเป็นโรคนี้
“ที่น่าห่วงคือ เมื่อเกิดแผลและเชื้อเข้าไปแล้ว บางครั้งยังไม่มีความผิดปกติ จึงอาจยังไม่รู้ตัว เพราะตำแหน่งที่เชื้อแบคทีเรียชอบที่สุด คือ กล้ามเนื้อใหญ่ๆ ของร่างกาย เช่น ขา แขน ปัญหาคือกล้ามเนื้อบริเวณนี้มีความลึกมาก เชื้ออาจเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อข้างในแล้ว แต่ผิวด้านนอกจะเป็นปกติ อาการสำคัญที่สามารถสังเกตได้ คือ มีไข้สูง และปวดมากจนทนไม่ไหว แต่บางรายที่มีความรุนแรงมากอาจจะสังเกตพบผิวเป็นปื้นแดง ตุ่มน้ำ เลือดออก จึงอย่าไปดูถูกแผลขนาดเล็ก” นพ.โอภาส กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ก.ค.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีข่าวชายคนหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกเงี่ยงปลาตำ ขณะเลือกซื้อปลาทับทิมในตลาด และมีการติดเชื้อแบคทีเรียแอโรโมแนส ว่า เชื้อดังกล่าวมีอยู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งน้ำจืด น้ำทะเล และดิน พบได้ในสัตว์น้ำทุกชนิด รวมถึงหมู และวัว ซึ่งเชื้อแบคทีเรียตัวนี้สามารถก่อโรคได้ 2 ทาง คือ 1. การรับประทานเข้าไปโดยตรง จะส่งผลให้เกิดอาการท้องเสีย มีไข้ แต่จะหายได้เอง ยกเว้นผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น เบาหวาน และมะเร็ง จะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ อย่าง 3 ปีก่อนที่โรคท้องร่วงระบาด จ.นครพนม ก็มาจากการกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียตัวนี้
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า และ 2. รับเชื้อทางบาดแผล โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ และแพร่กระจายสู่กระแสเลือด หากร่างกายแข็งแรงการกินยาปฏิชีวนะสามารถหายได้ แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอเชื้อจะแพร่กระจายและสร้างสารท็อกซิน ซึ่งเป็นสารพิษทำให้เชื้อโรคเกิดการย่อยเนื้อเยื่อและเอ็น จนเนื้อตาย เละ เหลว กลายเป็นน้ำ ขั้นตอนนี้จะทำให้สารพิษเข้าสู่กระแสเลือด และเสียชีวิตจากภาวะระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือช็อก โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับกระเทือนซ้ำจนเป็นรอยฟกช้ำ หรือเกิดบาดแผลใหม่
“การรักษาต้องเอาเนื้อตายออกให้หมด หรืออาจจะต้องตัดขาหรือแขนทิ้ง จึงเป็นที่มาของเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคน โดยเฉพาะกรณีเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อขนาดใหญ่ของร่างกาย เช่น ขา แขน จะมีโอกาสเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ การได้รับเชื้อเข้าไปเกิน 50% จะเสียชีวิต แต่พบได้น้อย ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีผู้เสียชีวิตในไทยประมาณ 10 - 20 ราย จึงไม่เป็นปัญหาสำคัญ ไม่ใช่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” รองอธิบดี คร. กล่าว
นพ.โอภาส กล่าวด้วยว่า สำหรับประชาชนที่ห่วงเรื่องการบริโภคปลาแล้วจะได้รับเชื้อ ยืนยันว่ายังกินปลาได้ตามปกติ แต่ควรระวังคือ 1. ไม่กินปลาที่ตายผิดธรรมชาติ เพราะเชื้อดังกล่าวสามารถก่อโรคได้ในตัวปลา โดยเฉพาะปลาที่มีแผลตรงลำตัว ห้ามกินเด็ดขาด 2. ต้องกินปลาที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น เพราะเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ทำลายได้ด้วยความร้อน อย่างไรก็ตาม ส่วนแม่ค้าขายปลาขอให้ใส่ถุงมือระหว่างจับปลา หากถูกเงี่ยงปลาตำต้องพยายามบีบเลือดออกให้มากที่สุด เพื่อลดจำนวนเชื้อ ยิ่งถ้ามีไข้สูง ปวดบริเวณอื่นร่วมด้วย ขอให้รีบไปพบแพทย์ แต่ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีแม่ค้าขายปลาป่วยเป็นโรคนี้
“ที่น่าห่วงคือ เมื่อเกิดแผลและเชื้อเข้าไปแล้ว บางครั้งยังไม่มีความผิดปกติ จึงอาจยังไม่รู้ตัว เพราะตำแหน่งที่เชื้อแบคทีเรียชอบที่สุด คือ กล้ามเนื้อใหญ่ๆ ของร่างกาย เช่น ขา แขน ปัญหาคือกล้ามเนื้อบริเวณนี้มีความลึกมาก เชื้ออาจเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อข้างในแล้ว แต่ผิวด้านนอกจะเป็นปกติ อาการสำคัญที่สามารถสังเกตได้ คือ มีไข้สูง และปวดมากจนทนไม่ไหว แต่บางรายที่มีความรุนแรงมากอาจจะสังเกตพบผิวเป็นปื้นแดง ตุ่มน้ำ เลือดออก จึงอย่าไปดูถูกแผลขนาดเล็ก” นพ.โอภาส กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่