กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์ระบาดโรคเอดส์ในไทยแนวโน้มลดลง ชี้รับการรักษาเร็ว ต่อเนื่องช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกาย ฟุ้งหากร่วมมาตรการป้องกันช่วยป้องกันผู้ติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 96 เหลือแค่ปีละน้อยกว่า 1 พันราย ภายในปี 2573
กรมควบคุมโรค แถลงนโยบายยุติปัญหาเอดส์ในการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่ 20 (20th International AIDS Conference) ณ กรุงเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย ในเวทีเสวนาหัวข้อ “Together with Thailand: We can end AIDS epidemic in Asia” พร้อมเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น องค์ความรู้กับเครือข่าย นำเสนอผลการดำเนินงานด้านเอดส์ที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย “Ending AIDS” ของประเทศไทย เผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยที่ดำเนินงานด้านเอดส์ ให้ประสบผลสำเร็จไปสู่เวทีนานาชาติ ทั้งนี้ การดำเนินงานต้องมุ่งเน้นพื้นที่เป้าหมายกลุ่มประชากรหลัก และใช้มาตรการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลอย่างรอบด้าน
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของการติดเชื้อเอชไอวีของประเทศไทย มีแนวโน้มลดลง จากเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เคยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มากถึง 143,000 คน ขณะที่ในปี 2555 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลดลงเหลือเพียงปีละประมาณ 9,000 คน และคาดประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดประมาณ 464,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 20,000 คน โดยในปีงบประมาณ 2556 นี้ มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประมาณ 250,000 คน ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งจากข้อมูลการวิจัยล่าสุดที่ระบุว่าถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ และต่อเนื่อง จะทำให้ปริมาณไวรัสในร่างกายมีน้อยมาก จนไม่สามารถแพร่โรคต่อไปได้ หากผสมผสานกับมาตรการการป้องกันอื่นๆ ที่ใช้อยู่เดิม จะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้สูงถึงร้อยละ 96 และการติดเชื้อใหม่จะลดลงเหลือปีละน้อยกว่า 1,000 ราย ภายในปี 2573 ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในทวีปเอเชียที่สามารถยุติปัญหาเอดส์ได้
สำหรับการลงทุนของประเทศไทยในการที่จะยุติปัญหาเอดส์ จากผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนตามกลวิธีข้างต้นเพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท ใน 10 ปีข้างหน้า จะทำให้ได้ผลตอบแทนมากกว่า 9,000 ล้านบาท โดยผลตอบแทนจากการประหยัดค่าใช้จ่ายของการรักษาในโรงพยาบาล ค่ารักษาและผลผลิตจากการทำงาน และช่วยป้องกันการติดเชื้อฯรายใหม่ได้ประมาณ 20,000 คน และลดการเสียชีวิตจากเอดส์ได้ประมาณ 22,000 คน คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ จึงมีมติเห็นชอบข้อเสนอต่อมาตรการยุติปัญหาเอดส์และสนับสนุนการขยายขอบเขตของกองทุนด้านการดูแลรักษาเอดส์ให้ครอบคลุมถึงงานด้านการป้องกันเพื่อดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 1. การส่งเสริมให้ประชาชนทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวี โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มประชากรหลักสำคัญ คือ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานบริการทางเพศ ผู้ใช้สารเสพติดแบบฉีดได้เข้าถึงบริการการป้องกันผสมผสานและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีครอบคลุมร้อยละ 90 และ 2. การให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯ แต่เนิ่นๆ กับผู้ที่พบผลเอชไอวีเป็นบวกทุกรายโดยไม่คำนึงถึงระดับภูมิคุ้มกัน และต้องมีระบบสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อฯ กินยาสม่ำเสมอ
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า โรคเอดส์สามารถติดต่อได้โดย 1. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโรคเอดส์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับหญิง ชายกับชาย หญิงกับหญิง ล้วนมีโอกาสติดเชื้อได้ และปัจจัยที่ทำให้มีการติดเชื้อได้มากขึ้น คือ การมีบาดแผลฉีกขาดระหว่างร่วมเพศ หรือการมีแผลจากกามโรคอยู่เดิม 2. การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงสามารถติดเชื้อเอดส์ได้จากสามี คู่รัก คู่นอน หรือพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง พบว่าการติดเชื้อเอดส์ในหญิงมีครรภ์ สามารถถ่ายทอดให้ทารกได้ ในขณะนี้มีวิธีป้องกันการแพร่ เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้โดยการกินยาต้านไวรัส ในระหว่างตั้งครรภ์ไปจนคลอด สามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ได้ 3. การรับเชื้อทางเลือด พบได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น และกรณีที่ 2 รับเลือดในขณะผ่าตัดหรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด แต่ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคมีการตรวจคัดกรองและมีความปลอดภัย
“กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้จัดการบริการให้ประชาชนหรือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง สามารถตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี ได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ที่สถานบริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หรือกลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พร้อมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาหากสงสัยว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงในการเกิดโรค และสามารถติดต่อรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในกรณีที่พบเชื้อเอชไอวี ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aidsstithai.org หรือ www.lovecarestation.com, www.teenpath.com, www.thaiyouths.org หรือทาง Call center 1330 กด 4, 0-2941-2320 ต่อ 181, 182 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 ” นพ.โสภณ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กรมควบคุมโรค แถลงนโยบายยุติปัญหาเอดส์ในการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่ 20 (20th International AIDS Conference) ณ กรุงเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย ในเวทีเสวนาหัวข้อ “Together with Thailand: We can end AIDS epidemic in Asia” พร้อมเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น องค์ความรู้กับเครือข่าย นำเสนอผลการดำเนินงานด้านเอดส์ที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย “Ending AIDS” ของประเทศไทย เผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยที่ดำเนินงานด้านเอดส์ ให้ประสบผลสำเร็จไปสู่เวทีนานาชาติ ทั้งนี้ การดำเนินงานต้องมุ่งเน้นพื้นที่เป้าหมายกลุ่มประชากรหลัก และใช้มาตรการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลอย่างรอบด้าน
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของการติดเชื้อเอชไอวีของประเทศไทย มีแนวโน้มลดลง จากเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เคยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มากถึง 143,000 คน ขณะที่ในปี 2555 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลดลงเหลือเพียงปีละประมาณ 9,000 คน และคาดประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดประมาณ 464,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 20,000 คน โดยในปีงบประมาณ 2556 นี้ มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประมาณ 250,000 คน ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งจากข้อมูลการวิจัยล่าสุดที่ระบุว่าถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ และต่อเนื่อง จะทำให้ปริมาณไวรัสในร่างกายมีน้อยมาก จนไม่สามารถแพร่โรคต่อไปได้ หากผสมผสานกับมาตรการการป้องกันอื่นๆ ที่ใช้อยู่เดิม จะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้สูงถึงร้อยละ 96 และการติดเชื้อใหม่จะลดลงเหลือปีละน้อยกว่า 1,000 ราย ภายในปี 2573 ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในทวีปเอเชียที่สามารถยุติปัญหาเอดส์ได้
สำหรับการลงทุนของประเทศไทยในการที่จะยุติปัญหาเอดส์ จากผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนตามกลวิธีข้างต้นเพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท ใน 10 ปีข้างหน้า จะทำให้ได้ผลตอบแทนมากกว่า 9,000 ล้านบาท โดยผลตอบแทนจากการประหยัดค่าใช้จ่ายของการรักษาในโรงพยาบาล ค่ารักษาและผลผลิตจากการทำงาน และช่วยป้องกันการติดเชื้อฯรายใหม่ได้ประมาณ 20,000 คน และลดการเสียชีวิตจากเอดส์ได้ประมาณ 22,000 คน คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ จึงมีมติเห็นชอบข้อเสนอต่อมาตรการยุติปัญหาเอดส์และสนับสนุนการขยายขอบเขตของกองทุนด้านการดูแลรักษาเอดส์ให้ครอบคลุมถึงงานด้านการป้องกันเพื่อดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 1. การส่งเสริมให้ประชาชนทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวี โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มประชากรหลักสำคัญ คือ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานบริการทางเพศ ผู้ใช้สารเสพติดแบบฉีดได้เข้าถึงบริการการป้องกันผสมผสานและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีครอบคลุมร้อยละ 90 และ 2. การให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯ แต่เนิ่นๆ กับผู้ที่พบผลเอชไอวีเป็นบวกทุกรายโดยไม่คำนึงถึงระดับภูมิคุ้มกัน และต้องมีระบบสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อฯ กินยาสม่ำเสมอ
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า โรคเอดส์สามารถติดต่อได้โดย 1. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโรคเอดส์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับหญิง ชายกับชาย หญิงกับหญิง ล้วนมีโอกาสติดเชื้อได้ และปัจจัยที่ทำให้มีการติดเชื้อได้มากขึ้น คือ การมีบาดแผลฉีกขาดระหว่างร่วมเพศ หรือการมีแผลจากกามโรคอยู่เดิม 2. การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงสามารถติดเชื้อเอดส์ได้จากสามี คู่รัก คู่นอน หรือพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง พบว่าการติดเชื้อเอดส์ในหญิงมีครรภ์ สามารถถ่ายทอดให้ทารกได้ ในขณะนี้มีวิธีป้องกันการแพร่ เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้โดยการกินยาต้านไวรัส ในระหว่างตั้งครรภ์ไปจนคลอด สามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ได้ 3. การรับเชื้อทางเลือด พบได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น และกรณีที่ 2 รับเลือดในขณะผ่าตัดหรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด แต่ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคมีการตรวจคัดกรองและมีความปลอดภัย
“กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้จัดการบริการให้ประชาชนหรือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง สามารถตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี ได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ที่สถานบริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หรือกลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พร้อมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาหากสงสัยว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงในการเกิดโรค และสามารถติดต่อรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในกรณีที่พบเชื้อเอชไอวี ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aidsstithai.org หรือ www.lovecarestation.com, www.teenpath.com, www.thaiyouths.org หรือทาง Call center 1330 กด 4, 0-2941-2320 ต่อ 181, 182 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 ” นพ.โสภณ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่