กรมควบคุมโรค จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมภาพลักษณ์ถุงยางอนามัยในกลุ่มชายรักชาย เผยยอดผู้ติดเชื้อเอดส์ปี 56 สูงกว่า 1 ล้านราย คาดป่วยรายใหม่พุ่งเกือบ 9 พันราย เป็นกลุ่มสีม่วงร้อยละ 39 สาเหตุหลักไม่ป้องกันก่อนมีเพศสัมพันธ์
นพ.สุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556 มี ยอดสะสมประมาณ 1,166,549 คน ยังมีชีวิต 447,414 คน และคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ 8,959 คน ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายถึงร้อยละ 39 สาเหตุของการติดเชื้อ ที่สำคัญคือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน สูงถึงร้อยละ 84 สอดคล้องกับอัตราการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ในคนกลุ่มนี้ยังต่ำกว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ จากการที่ผู้รับบริการบางส่วนยังเข้าไม่ถึงระบบบริการถุงยางอนามัยที่จัดโดยภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนอย่างทั่วถึง และครอบคลุมแล้ว ความเขินอายในการไปซื้อหรือขอรับฟรีจากแหล่งบริการ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการใช้ถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นของผู้ใช้
ส่วนในประเทศไทยมีประสบการณ์การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์มาอย่างเข้มแข็งที่รู้จักกันดีที่สุดในช่วงแรกคือ โครงการถุงยางอนามัย 100 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีการใช้ถุงยางอนามัยในสถานบริการทางเพศ จากร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 95 และจากการขับเคลื่อนนโยบายและดำเนินมาตรการต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559 ที่มุ่งสู่ “เป้าหมายที่เป็นศูนย์” (Getting to Zero) ประกอบด้วย การไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่มีการเสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ และไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลดลง การป้องกันการติดเชื้อฯ เมื่อแรกเกิดครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และการให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อฯ ด้วยยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 70
นพ.สุเมธ กล่าวอีกว่า กรมควบคุมโรคให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้เครือข่ายคนทำงานมีความเข้าใจ และกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการป้องกัน ดูแล และรักษา การติดเชื้อเอชไอวี และบริการสุขภาพอื่นๆ ได้แก่ 1. บริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สะดวก รวดเร็ว ตลอดจนส่งเสริมการดูแลรักษาการติดเชื้อฯ โดยใช้กลยุทธ์ “ตรวจเลือดและรักษาทันที เพื่อให้ผู้ติดเชื้อฯ ได้ทราบสถานการณ์การติดเชื้อฯ ของตนเอง และรับการรักษาได้ทันที ทำให้สุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ และวางแผนป้องกันตนเองและคู่ได้อย่างถูกต้อง 2. บูรณาการงานป้องกันและดูแลรักษาเอชไอวี/เอดส์ โดยมีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการที่จำเป็นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
3. บริการเชิงรุกนอกสถานบริการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถไปรับบริการในสถานบริการสาธารณสุข ได้รับบริการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงความช่วยเหลืออื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว และเหมาะสม ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินการสื่อสารสาธารณะอย่างต่อเนื่อง โดยจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันเอดส์โลก (1 ธันวาคม) วันวาเลนไทน์ (14 กุมภาพันธ์) และวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันรณรงค์ตรวจหา การติดเชื้อเอชไอวี (VCT Day) ตลอดจนการสร้างความตระหนักและเกิดการยอมรับถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะของวิถีชีวิตทางเพศ สู่การเอื้อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและดูแลตนเองการรับรู้เรื่องเอดส์ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อฯ และผู้ป่วยเอดส์อย่างเข้าใจ จนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต
“สำหรับ Sex รอบคอบ ตอบ OK คือคำขวัญการสื่อสารเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของถุงยางอนามัยในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากทัศนคติเชิงบวกที่ว่า “คนพกถุงยางอนามัยเป็นคนรอบคอบ” โดยจากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการสื่อสารสาธารณะภาพลักษณ์ใหม่ของถุงยางอนามัยในกลุ่มชาย มีเพศสัมพันธ์กับชาย พบว่า “คนพกถุงยางอนามัยเป็นคนรอบคอบ” เป็นทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ถุงยางอนามัย ที่ว่า “การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยถือว่าประมาท” และ “การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยช่วยลดความกังวลได้” อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ที่ว่า “การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งช่วยป้องกันโรคได้ และคิดว่าใครๆ ก็เสี่ยงติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หากไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน” ในระดับมากที่สุด ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 5 ภูมิภาค คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ และ สงขลา ต่อไป” นพ.สุเมธ กล่าว
ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โทร. 02 590 3289 www.aidsstithai.org หรือที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556 มี ยอดสะสมประมาณ 1,166,549 คน ยังมีชีวิต 447,414 คน และคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ 8,959 คน ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายถึงร้อยละ 39 สาเหตุของการติดเชื้อ ที่สำคัญคือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน สูงถึงร้อยละ 84 สอดคล้องกับอัตราการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ในคนกลุ่มนี้ยังต่ำกว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ จากการที่ผู้รับบริการบางส่วนยังเข้าไม่ถึงระบบบริการถุงยางอนามัยที่จัดโดยภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนอย่างทั่วถึง และครอบคลุมแล้ว ความเขินอายในการไปซื้อหรือขอรับฟรีจากแหล่งบริการ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการใช้ถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นของผู้ใช้
ส่วนในประเทศไทยมีประสบการณ์การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์มาอย่างเข้มแข็งที่รู้จักกันดีที่สุดในช่วงแรกคือ โครงการถุงยางอนามัย 100 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีการใช้ถุงยางอนามัยในสถานบริการทางเพศ จากร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 95 และจากการขับเคลื่อนนโยบายและดำเนินมาตรการต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559 ที่มุ่งสู่ “เป้าหมายที่เป็นศูนย์” (Getting to Zero) ประกอบด้วย การไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่มีการเสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ และไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลดลง การป้องกันการติดเชื้อฯ เมื่อแรกเกิดครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และการให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อฯ ด้วยยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 70
นพ.สุเมธ กล่าวอีกว่า กรมควบคุมโรคให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้เครือข่ายคนทำงานมีความเข้าใจ และกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการป้องกัน ดูแล และรักษา การติดเชื้อเอชไอวี และบริการสุขภาพอื่นๆ ได้แก่ 1. บริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สะดวก รวดเร็ว ตลอดจนส่งเสริมการดูแลรักษาการติดเชื้อฯ โดยใช้กลยุทธ์ “ตรวจเลือดและรักษาทันที เพื่อให้ผู้ติดเชื้อฯ ได้ทราบสถานการณ์การติดเชื้อฯ ของตนเอง และรับการรักษาได้ทันที ทำให้สุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ และวางแผนป้องกันตนเองและคู่ได้อย่างถูกต้อง 2. บูรณาการงานป้องกันและดูแลรักษาเอชไอวี/เอดส์ โดยมีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการที่จำเป็นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
3. บริการเชิงรุกนอกสถานบริการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถไปรับบริการในสถานบริการสาธารณสุข ได้รับบริการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงความช่วยเหลืออื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว และเหมาะสม ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินการสื่อสารสาธารณะอย่างต่อเนื่อง โดยจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันเอดส์โลก (1 ธันวาคม) วันวาเลนไทน์ (14 กุมภาพันธ์) และวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันรณรงค์ตรวจหา การติดเชื้อเอชไอวี (VCT Day) ตลอดจนการสร้างความตระหนักและเกิดการยอมรับถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะของวิถีชีวิตทางเพศ สู่การเอื้อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและดูแลตนเองการรับรู้เรื่องเอดส์ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อฯ และผู้ป่วยเอดส์อย่างเข้าใจ จนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต
“สำหรับ Sex รอบคอบ ตอบ OK คือคำขวัญการสื่อสารเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของถุงยางอนามัยในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากทัศนคติเชิงบวกที่ว่า “คนพกถุงยางอนามัยเป็นคนรอบคอบ” โดยจากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการสื่อสารสาธารณะภาพลักษณ์ใหม่ของถุงยางอนามัยในกลุ่มชาย มีเพศสัมพันธ์กับชาย พบว่า “คนพกถุงยางอนามัยเป็นคนรอบคอบ” เป็นทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ถุงยางอนามัย ที่ว่า “การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยถือว่าประมาท” และ “การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยช่วยลดความกังวลได้” อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ที่ว่า “การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งช่วยป้องกันโรคได้ และคิดว่าใครๆ ก็เสี่ยงติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หากไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน” ในระดับมากที่สุด ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 5 ภูมิภาค คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ และ สงขลา ต่อไป” นพ.สุเมธ กล่าว
ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โทร. 02 590 3289 www.aidsstithai.org หรือที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่