สธ. ห่วงคนไทยตรวจหาเชื้อเอชไอวีน้อย วอนคนมีพฤติกรรมเสี่ยงเร่งตรวจหาเชื้อ ก่อนป่วยรุนแรงและแพร่เชื้อสู่คนอื่น เดินหน้ารณรงค์ตรวจฟรีตลอดเดือน ก.ค. พร้อมดันสิทธิประโยชน์การให้ยาต้านไวรัสทุกระดับค่าภูมิต้านทาน หวังลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต และการตีตรา จ่อเริ่ม 1 ต.ค. เชื่อ 10 ปีจะไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
วันนี้ (19 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าว VCT Day 1 กรกฎาคม วันรณรงค์ตรวจเอชไอวี “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” ว่า สธ. และภาคีเครือข่ายด้านเอดส์กำหนดให้วันที่ 1 ก.ค. ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (Voluntary Counselling and Testing Day : VCT Day) เพื่อให้ประชาชนตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ซึ่งขณะนี้ยังคงตระหนักถึงเรื่องนี้น้อยอยู่ เห็นได้จากไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 500,000 คน แต่มีเพียง 250,000 รายที่ทราบผลเลือดและเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว ทั้งที่ สธ. ได้จัดระบบบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระบบบริการปรึกษา การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ครอบคลุมในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้ จึงได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งอดีตและปัจจุบัน เช่น ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น โดยประชาชนสามารถรับการตรวจเลือดเอชไอวี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทุกแห่ง ฟรี ปีละ 2 ครั้ง
“การทราบผลตรวจเลือดจะช่วยให้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะป้องกันไม่ถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่น และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว ช่วยลดการป่วยจากโรคฉวยโอกาส เช่น วัณโรค และลดการเสียชีวิตลง ตามยุทธศาสตร์ของ สธ. ที่มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ ทั้งผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต และการรังเกียจตีตรา” ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ประเด็นการรณรงค์ในปีนี้คือ “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” ได้แก่ การตรวจเอชไอวีจะทำให้ 1. สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ไม่ต้องรอให้แสดงอาการ 2. ได้รับการรักษา จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ 3. สามารถวางแผนป้องกันคู่ของตนเองติดเชื้อ และชวนคู่ไปตรวจเลือดได้ 4. สามารถวางแผนป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูกได้ 5. สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ และ 6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า มาตรการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีของ คร. คือ ส่งเสริมหน่วยบริการสุขภาพให้จัดบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี แบบทราบผลในวันเดียว (same day result) ในโรงพยาบาลทุกแห่ง รวมถึงการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน โดยปีนี้มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ติดเชื้อในทุกระดับเม็ดเลือดขาว หรือซีดีโฟร์ (CD4) ตามความพร้อมของผู้ติดเชื้อและดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมปรับสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวต่อไป ขณะเดียวกัน ได้วางแผนพัฒนาระบบบริการและศักยภาพผู้ให้บริการ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์อย่างมีคุณภาพไปพร้อมกัน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ถึงแม้ระบบสาธารณสุขของประเทศมีความพร้อมในการให้บริการตรวจรักษาเอชไอวี/เอดส์ แต่ยังมีผู้มาใช้บริการเพียงครึ่งหนึ่งของตัวเลขประมาณการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งประเทศ จึงอยากให้ทุกคนรู้สึกว่าการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับการตรวจสุขภาพทั่วๆ ไป อย่ากลัวหรืออย่าอายที่จะมารับบริการ ทั้งนี้ ในโอกาสที่วันรณรงค์ตรวจเอชไอวีแห่งชาติ 1 ก.ค. ที่กำลังจะมาถึง เครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์จึงร่วมกันออกหน่วยบริการปรึกษาและตรวจเอชไอวีให้กับประชาชนทั่วไปฟรีในวันที่ 1 ก.ค. และตลอดเดือน หากมีข้อสงสัยหรือมีความกังวลเรื่องเอชไอวี/เอดส์ สามารถโทรศัพท์เข้ามาขอรับบริการปรึกษาได้ที่ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์ ทุกวัน 09.00 - 21.00 น.
ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า การให้ยาต้านไวรัสฯเร็ว โดยไม่กำหนดค่าซีดีโฟร์ มีการศึกษาในต่างประเทศว่าสามารถลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่รักของได้ คือโครงการ HPTN 052 ที่ทำการวิจัยกลุ่มคู่ต่างกว่า 1,700 คู่ใน 9 ประเทศ รวมถึงไทย เปรียบเทียบระหว่างผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัสฯอย่างรวดเร็ว และให้ยาต้านหลังค่า CD4 ต่ำกว่า 250 ซึ่งถือว่าป่วยแล้ว ติดตามนาน 1 ปี พบว่า กลุ่มแรกมีการติดเชื้อเพิ่มเพียง 1 คู่ ส่วนกลุ่มสองมีการติดเชื้อถึง 27 คู่ เท่ากับว่าการกินยาต้านไวรัสเร็วจะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อได้มากกว่าการกินยาช้าถึงร้อยละ 96 ซึ่งเดิมกำหนดการให้ยาต้านไวรัสฯกับผู้ป่วยที่มีค่าซีดีโฟร์ 350 แต่องค์การอนามัยโลกประมาณว่าควรให้ยาต้านไวรัสฯที่ค่าซีดีโฟร์ต่ำกว่า 500 แต่ที่ผ่านมาพบว่าผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ที่ได้รับยาต้านไวรัสฯ จะรับยาที่ค่าซีดีโฟร์ 100 ซึ่งถือว่าช้า
“ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอ บอร์ด สปสช. ในการปรับสิทธิประโยชน์การให้ยาต้านไวรัสฯแก่ผู้ติดเชื้อโดยไม่กำหนดค่าซีดีโฟร์ คาดว่าไม่มีน่ามีปัญหา และหวังว่าจะเดินหน้าได้ในวันที่ 1 ต.ค. จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้จากเดิม 8,000 คนต่อปี เหลือเพียง 2,000 คนต่อปี และคาดว่าจะลดอัตราการเสียชีวิตจากปีละ 20,000 คน เหลือไม่ถึง 100 คน ซึ่งโดยทฤษฎี หากดำเนินการตามเป้าหมายอีก 10 ปีจะไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ และที่หลายคนกังวลว่าการให้ยาเร็วจะทำให้คนไม่กลัวการติดเชื้อ เชื่อว่าไม่มีใครอยากติดเชื้อ” ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (19 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าว VCT Day 1 กรกฎาคม วันรณรงค์ตรวจเอชไอวี “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” ว่า สธ. และภาคีเครือข่ายด้านเอดส์กำหนดให้วันที่ 1 ก.ค. ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (Voluntary Counselling and Testing Day : VCT Day) เพื่อให้ประชาชนตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ซึ่งขณะนี้ยังคงตระหนักถึงเรื่องนี้น้อยอยู่ เห็นได้จากไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 500,000 คน แต่มีเพียง 250,000 รายที่ทราบผลเลือดและเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว ทั้งที่ สธ. ได้จัดระบบบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระบบบริการปรึกษา การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ครอบคลุมในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้ จึงได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งอดีตและปัจจุบัน เช่น ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น โดยประชาชนสามารถรับการตรวจเลือดเอชไอวี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทุกแห่ง ฟรี ปีละ 2 ครั้ง
“การทราบผลตรวจเลือดจะช่วยให้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะป้องกันไม่ถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่น และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว ช่วยลดการป่วยจากโรคฉวยโอกาส เช่น วัณโรค และลดการเสียชีวิตลง ตามยุทธศาสตร์ของ สธ. ที่มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ ทั้งผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต และการรังเกียจตีตรา” ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ประเด็นการรณรงค์ในปีนี้คือ “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” ได้แก่ การตรวจเอชไอวีจะทำให้ 1. สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ไม่ต้องรอให้แสดงอาการ 2. ได้รับการรักษา จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ 3. สามารถวางแผนป้องกันคู่ของตนเองติดเชื้อ และชวนคู่ไปตรวจเลือดได้ 4. สามารถวางแผนป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูกได้ 5. สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ และ 6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า มาตรการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีของ คร. คือ ส่งเสริมหน่วยบริการสุขภาพให้จัดบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี แบบทราบผลในวันเดียว (same day result) ในโรงพยาบาลทุกแห่ง รวมถึงการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน โดยปีนี้มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ติดเชื้อในทุกระดับเม็ดเลือดขาว หรือซีดีโฟร์ (CD4) ตามความพร้อมของผู้ติดเชื้อและดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมปรับสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวต่อไป ขณะเดียวกัน ได้วางแผนพัฒนาระบบบริการและศักยภาพผู้ให้บริการ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์อย่างมีคุณภาพไปพร้อมกัน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ถึงแม้ระบบสาธารณสุขของประเทศมีความพร้อมในการให้บริการตรวจรักษาเอชไอวี/เอดส์ แต่ยังมีผู้มาใช้บริการเพียงครึ่งหนึ่งของตัวเลขประมาณการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งประเทศ จึงอยากให้ทุกคนรู้สึกว่าการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับการตรวจสุขภาพทั่วๆ ไป อย่ากลัวหรืออย่าอายที่จะมารับบริการ ทั้งนี้ ในโอกาสที่วันรณรงค์ตรวจเอชไอวีแห่งชาติ 1 ก.ค. ที่กำลังจะมาถึง เครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์จึงร่วมกันออกหน่วยบริการปรึกษาและตรวจเอชไอวีให้กับประชาชนทั่วไปฟรีในวันที่ 1 ก.ค. และตลอดเดือน หากมีข้อสงสัยหรือมีความกังวลเรื่องเอชไอวี/เอดส์ สามารถโทรศัพท์เข้ามาขอรับบริการปรึกษาได้ที่ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์ ทุกวัน 09.00 - 21.00 น.
ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า การให้ยาต้านไวรัสฯเร็ว โดยไม่กำหนดค่าซีดีโฟร์ มีการศึกษาในต่างประเทศว่าสามารถลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่รักของได้ คือโครงการ HPTN 052 ที่ทำการวิจัยกลุ่มคู่ต่างกว่า 1,700 คู่ใน 9 ประเทศ รวมถึงไทย เปรียบเทียบระหว่างผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัสฯอย่างรวดเร็ว และให้ยาต้านหลังค่า CD4 ต่ำกว่า 250 ซึ่งถือว่าป่วยแล้ว ติดตามนาน 1 ปี พบว่า กลุ่มแรกมีการติดเชื้อเพิ่มเพียง 1 คู่ ส่วนกลุ่มสองมีการติดเชื้อถึง 27 คู่ เท่ากับว่าการกินยาต้านไวรัสเร็วจะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อได้มากกว่าการกินยาช้าถึงร้อยละ 96 ซึ่งเดิมกำหนดการให้ยาต้านไวรัสฯกับผู้ป่วยที่มีค่าซีดีโฟร์ 350 แต่องค์การอนามัยโลกประมาณว่าควรให้ยาต้านไวรัสฯที่ค่าซีดีโฟร์ต่ำกว่า 500 แต่ที่ผ่านมาพบว่าผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ที่ได้รับยาต้านไวรัสฯ จะรับยาที่ค่าซีดีโฟร์ 100 ซึ่งถือว่าช้า
“ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอ บอร์ด สปสช. ในการปรับสิทธิประโยชน์การให้ยาต้านไวรัสฯแก่ผู้ติดเชื้อโดยไม่กำหนดค่าซีดีโฟร์ คาดว่าไม่มีน่ามีปัญหา และหวังว่าจะเดินหน้าได้ในวันที่ 1 ต.ค. จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้จากเดิม 8,000 คนต่อปี เหลือเพียง 2,000 คนต่อปี และคาดว่าจะลดอัตราการเสียชีวิตจากปีละ 20,000 คน เหลือไม่ถึง 100 คน ซึ่งโดยทฤษฎี หากดำเนินการตามเป้าหมายอีก 10 ปีจะไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ และที่หลายคนกังวลว่าการให้ยาเร็วจะทำให้คนไม่กลัวการติดเชื้อ เชื่อว่าไม่มีใครอยากติดเชื้อ” ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่