xs
xsm
sm
md
lg

เปิด 23 กลุ่มที่ไม่ต้องร่วมจ่าย 30 บาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ขณะนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวางในเรื่องของการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือสิทธิบัตรทอง ว่าแท้จริงแล้วประชาชนอย่างเราๆ จะต้องร่วมจ่ายค่ารักษาหรือไม่ ทำไมบรรดาหมอๆ จึงเรียกร้องให้คนมีความสามารถจ่ายได้ต้องร่วมจ่าย เป็นการแบ่งชนชั้น หรือเลือกปฏิบัติหรือไม่ ทั้งที่ไม่ว่าคนจนหรือคนรวย ต่างก็ได้รับสิทธิเท่ากัน

สำหรับเรื่องนี้ ต้องย้อนรอยกลับไปเมื่อสมัยเริ่มเริ่มแรกที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือ ต้องมีการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล 30 บาทต่อการมารับบริการ นั่นคือยุค 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกไปในสมัยยุครัฐบาลขิงแก่ปี 2550 จนเมื่อปี 2555 รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในยุค นายวิทยา บุรณศิริ เป็น รมว.สาธารณสุข ได้พยายามนำการร่วมจ่าย 30 บาทกลับมา

ท้ายสุด มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 ก.ค. ให้ร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท ในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิใช้บริการตั้งแต่โรงพยาบาลระดับอำเภอ หรือโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ขึ้นไป โดยยกเว้นสำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ฉบับที่ 1 และ 2 จำนวน 23 กลุ่ม ส่วนบุคคลที่อยู่นอกเหนือข้อยกเว้นขึ้นกับความสมัครใจในการร่วมจ่าย

จึงชัดเจนว่า จริงๆ แล้วคนทั่วไปยกเว้น 23 กลุ่มตามประกาศจะต้องร่วมจ่าย แต่จะจ่ายหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ความสมัครใจ จึงไม่แปลกที่แพทย์บางส่วนออกมาเรียกร้องขอให้ผู้ที่มีความสามารถจ่ายได้ ร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพื่อไม่ให้รัฐบาลและโรงพยาบาลแบกรับค่ารักษาพยาบาลที่มาจนเกินไปนัก

คราวนี้มาดูกันว่า 23 กลุ่ม ตามประกาศที่ว่าได้รับการยกเว้นเป็นใครกันบ้าง ทีมข่าวคุณภาพชีวิตฯ มีข้อมูลมาบอก ดังนี้

1. ผู้มีรายได้น้อยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2537 เช่น คนโสด ที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท หรือครอบครัวที่มีรายได้รวมกันไม่เกินเดือนละ 2,800 บาท

2. ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ

3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลในครอบครัว

4. ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์

5. เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี บริบูรณ์

6. ผู้พิการตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

7. พระภิกษุ สามเณร ในพระพุทธศาสนา ผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง เป็นต้น

8. ทหารผ่านศึกทุกระดับชั้น (1 - 4)

9. นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

10. ทหารเกณฑ์ นักเรียนทหาร

11. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป และบุคคลในครอบครัว

12. อาสาสมัครมาลาเรีย ตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุขและบุคคลในครอบครัว

13. ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว

14. ผู้บริหารโรงเรียน และครูของโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลามควบคู่กับวิชาชีพสามัญ

15. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดน

16. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน

17. สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ซึ่งมีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตครบ 18 ครั้งขึ้นไป และ 24 ครั้งขึ้นไป

18. หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการของกระทรวงกลาโหม

19. อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม

20. ทหารพรานในสังกัดกองทัพบกกลุ่มเพิ่มเติม ตามประกาศฉบับที่ 5 ทหารและเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งไปร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี หรือไปทำการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม และครอบครัว

21. ผู้บริจาคเงิน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นใดให้กับกระทรวงสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า 1-2 ล้านบาทและครอบครัว

22. บุคคลที่พำนักภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ สถานพินิจและสถานสงเคราะห์

และ 23. อื่นๆ

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่





กำลังโหลดความคิดเห็น