สถาบันสอนหลักสูตรนวดไทย ร้องนายกสภาแพทย์แผนไทย - ประธานจัดสอบความรู้แพทย์ไทย ทำตำรานวดไทยสำคัญ 3 เล่มตกหล่น ไม่รวมในตำราสอบความรู้แพทย์แผนไทย หวั่นไม่เป็นธรรมผู้เข้าสอบ พบขาดตำราสำหรับคนตาบอดด้วย
นางกรกมล เอี่ยมธนะมาศ ครูผู้รับมอบตัวศิษย์มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ตนพร้อมผู้แทนสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ร่วมกันลงนามและยื่นหนังสือร้องเรียนถึง นพ.ทรงยศ ชัยชนะ นายกสภาการแพทย์แผนไทย และ นพ.ปภัสสร เจียมบุญศรี ประธานคณะอนุกรรมการการจัดสอบความรู้การแพทย์แผนไทย เนื่องจากตำราในการสอบความรู้วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามประกาศคณะอนุกรรมการการจัดสอบความรู้การแพทย์แผนไทย ฉบับที่ 05 /2557 เรื่อง ตำราที่ใช้เป็นแนวทางในการสอบความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบัน หรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง ตาม ม.12 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ประจำปี พ.ศ. 2557 มีตำราสำคัญขาดหายไป
นางกรกมล กล่าวอีกว่า ตำราสำคัญดังกล่าวประกอบด้วย 1. ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 2. ตำราหมอนวดวัดโพธิ์ จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และ 3. ตำราการนวดไทย เล่ม 1 (2541) .มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3 (2550) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งทำให้ผู้สมัครสอบความรู้ด้านการนวดไทยจำนวนมากเกิดความสับสนและวิตกกังวลว่า การประเมินความรู้ของคณะอนุกรรมการการจัดสอบฯ อาจไม่ครอบคลุมองค์ความรู้ของการนวดไทยดั้งเดิม และไม่เป็นธรรมต่อศิษย์ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย
“นายกสภาการแพทย์แผนไทยและประธานอนุฯจัดสอบต้องประกาศตำราด้านการนวดไทยดั้งเดิม ให้คงอยู่ไม่ให้สูญหาย เพื่อให้การถ่ายทอดความรู้การนวดไทยสมบูรณ์ครบถ้วน และเกิดความเป็นธรรมต่อผู้เข้าสอบความรู้ด้านการนวดไทย ที่ใช้ตำราการนวดไทย เป็นหลักในการเรียน” นางกรกมล กล่าว
ด้าน นายนพดล เขมะรัตนา สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ด้านการนวดไทยสายตาพิการ กล่าวว่า หมอนวดไทยสายตาพิการส่วนใหญ่ ใช้ตำราการนวดไทย เป็นคู่มือหลักในการเรียน และรักษาอาการผู้ป่วย ได้ผลจริง จึงได้ร่วมกันลงนาม 69 รายชื่อ โดยมีหมอนวดผู้พิการทางสายตาร่วมลงนาม 15 คน
นายปภัสสร กล่าวว่า ได้ทราบถึงปัญหาการประกาศตำราแล้ว และมีความเห็นว่าถ้าเป็นตำราที่ใช้ในการเรียนการสอนดั้งเดิมในหลักสูตร และต้องใช้ในการสอบ จะต้องนำเสนอให้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการการจัดสอบความรู้ฯ พิจารณาประกาศเพิ่มเติม ส่วนตำราที่เสนอเข้ามาใหม่ต้องขอให้คณะอนุกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาในโอกาสต่อไป
ทั้งนี้ สถาบันการอบรมของผู้พิการทางสายตา ได้ใช้ตำราการนวดไทย เล่ม 1 เป็นตำราหลักในการสอน และเป็นตัวแบบจัดทำ “หนังสือเสียงระบบเดซี แบบเต็มรูป” อย่างสมบูรณ์แล้ว (มีทั้ง ตัวหนังสือ ภาพประกอบ ที่สามารถพิมพ์เป็นอักษรเบรล ภาพนูนสำหรับคนตาบอด พร้อมทั้งเสียงอ่าน) และขณะนี้มีหมอนวดสายตาพิการสำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย และได้เป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ด้านการนวดไทยจำนวน 34 คน และมีผู้ที่สมัครสอบ (สายตาพิการ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 พร้อมเข้าสอบในปี พ.ศ. 2557 นี้ จำนวน 69 คน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นางกรกมล เอี่ยมธนะมาศ ครูผู้รับมอบตัวศิษย์มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ตนพร้อมผู้แทนสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ร่วมกันลงนามและยื่นหนังสือร้องเรียนถึง นพ.ทรงยศ ชัยชนะ นายกสภาการแพทย์แผนไทย และ นพ.ปภัสสร เจียมบุญศรี ประธานคณะอนุกรรมการการจัดสอบความรู้การแพทย์แผนไทย เนื่องจากตำราในการสอบความรู้วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามประกาศคณะอนุกรรมการการจัดสอบความรู้การแพทย์แผนไทย ฉบับที่ 05 /2557 เรื่อง ตำราที่ใช้เป็นแนวทางในการสอบความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบัน หรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง ตาม ม.12 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ประจำปี พ.ศ. 2557 มีตำราสำคัญขาดหายไป
นางกรกมล กล่าวอีกว่า ตำราสำคัญดังกล่าวประกอบด้วย 1. ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 2. ตำราหมอนวดวัดโพธิ์ จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และ 3. ตำราการนวดไทย เล่ม 1 (2541) .มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3 (2550) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งทำให้ผู้สมัครสอบความรู้ด้านการนวดไทยจำนวนมากเกิดความสับสนและวิตกกังวลว่า การประเมินความรู้ของคณะอนุกรรมการการจัดสอบฯ อาจไม่ครอบคลุมองค์ความรู้ของการนวดไทยดั้งเดิม และไม่เป็นธรรมต่อศิษย์ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย
“นายกสภาการแพทย์แผนไทยและประธานอนุฯจัดสอบต้องประกาศตำราด้านการนวดไทยดั้งเดิม ให้คงอยู่ไม่ให้สูญหาย เพื่อให้การถ่ายทอดความรู้การนวดไทยสมบูรณ์ครบถ้วน และเกิดความเป็นธรรมต่อผู้เข้าสอบความรู้ด้านการนวดไทย ที่ใช้ตำราการนวดไทย เป็นหลักในการเรียน” นางกรกมล กล่าว
ด้าน นายนพดล เขมะรัตนา สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ด้านการนวดไทยสายตาพิการ กล่าวว่า หมอนวดไทยสายตาพิการส่วนใหญ่ ใช้ตำราการนวดไทย เป็นคู่มือหลักในการเรียน และรักษาอาการผู้ป่วย ได้ผลจริง จึงได้ร่วมกันลงนาม 69 รายชื่อ โดยมีหมอนวดผู้พิการทางสายตาร่วมลงนาม 15 คน
นายปภัสสร กล่าวว่า ได้ทราบถึงปัญหาการประกาศตำราแล้ว และมีความเห็นว่าถ้าเป็นตำราที่ใช้ในการเรียนการสอนดั้งเดิมในหลักสูตร และต้องใช้ในการสอบ จะต้องนำเสนอให้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการการจัดสอบความรู้ฯ พิจารณาประกาศเพิ่มเติม ส่วนตำราที่เสนอเข้ามาใหม่ต้องขอให้คณะอนุกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาในโอกาสต่อไป
ทั้งนี้ สถาบันการอบรมของผู้พิการทางสายตา ได้ใช้ตำราการนวดไทย เล่ม 1 เป็นตำราหลักในการสอน และเป็นตัวแบบจัดทำ “หนังสือเสียงระบบเดซี แบบเต็มรูป” อย่างสมบูรณ์แล้ว (มีทั้ง ตัวหนังสือ ภาพประกอบ ที่สามารถพิมพ์เป็นอักษรเบรล ภาพนูนสำหรับคนตาบอด พร้อมทั้งเสียงอ่าน) และขณะนี้มีหมอนวดสายตาพิการสำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย และได้เป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ด้านการนวดไทยจำนวน 34 คน และมีผู้ที่สมัครสอบ (สายตาพิการ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 พร้อมเข้าสอบในปี พ.ศ. 2557 นี้ จำนวน 69 คน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่